4567
ผู้ตอบ : นศภ. จิราวรรณ สมคง รหัส 4450015
คำถาม: 1. การใช้ยา Esperson อยากทราบว่าใช้ได้นานที่สุดกี่วันคะ
2. ใช้ระยะยาวมีผลข้างเคียงอะไรบ้าง
3. ถ้าอีกหน่อยจะมีลูกต้องระวังยังไงบ้าง
4. มีตัวยาอื่นที่ใช้แทนกันได้มั๊ยที่ไม่ใช่สเตอรอยด์
คำตอบ : 1. ยา Esperson เป็นยาทาเฉพาะที่ที่มีตัวยาสำคัญ คือ
Desoximetasone ความแรง 0.25% และ 0.05% ในรูปแบบยาครีม, 0.25%
ในรูปแบบยาขี้ผึ้ง และ 0.05% ในรูปแบบยาเจล
desoximetasoneจัดเป็นยากลุ่มสเตอรอยด์ที่มีความแรงในระดับสูง
ซึ่งเหมาะสำหรับใช้ทาบริเวณผิวหนังที่หนา เช่น บริเวณฝ่ามือ ฝ่าเท้า
วิธีใช้คือ ทายาบางๆบริเวณที่เป็น วันละ 2 ครั้ง (Micromedex, 1998)
เมื่ออาการหายแล้วควรหยุดใช้ยาทันที หรือหากจำเป็นต้องใช้ยาทาเป็นเวลานานควร
7- 10 วัน หลังจากนั้นควรเปลี่ยนไปใช้ยาทาสเตอรอยด์ที่มีระดับความแรงต่ำลง
เช่น triamcinolone 0.025%, hydrocortisone 1%, desonide 0.05% เป็นต้น (
Amerson, 1996)
2. ผลข้างเคียงเฉพาะที่จากการใช้ยาทาสเตอรอยด์ติดต่อกันเป็นเวลานาน คือผิวหนังบริเวณที่ทาจะบางลง, ผิวแตก, ผิวหนังมีสีจางลง, คัน, แสบร้อน,
เกิดจ้ำเลือด, ติดเชื้อแบคทีเรียและเชื้อราได้ง่ายขึ้น,
เกิดผื่นแพ้สัมผัสจากส่วนผสมของยา(Amerson,1996)แต่หากบริเวณที่ทามีบาดแผล
อาจเกิดการดูดซึมยาเข้าสู่ร่างกายซึ่งอาจส่งผลให้เกิดผลข้างเคียงต่อระบบต่างๆ ของร่างกายได้ อาทิเช่น
เกิดการยับยั้งการสร้างและหลั่งฮอร์โมนจากต่อมไฮโปทาลามัสทำให้ไม่มีการกระตุ้นให้ต่อมพิทูอิทารี่หลั่งฮอร์โมนที่จะไปกระตุ้นให้ต่อมหมวกไตสร้างและหลั่งฮอร์โมนเพื่อคอยควบคุมสมดุลของร่างกายเช่น
ฮอร์โมนอัลโดสเตอโรน ซึ่งทำหน้าที่ควบคุมสมดุลของโซเดียมและน้ำในร่างกาย อาจส่งผลให้ต่อมหมวกไตฝ่อ ผลต่อฮอร์โมนเพศทำให้รอบเดือนผิดปกติ
หรืออาจไม่มีประจำเดือน ซึ่งอาจทำให้เป็นหมันได้, กระดูกพรุนและหักได้ง่าย,ตับอ่อนอักเสบ, ระดับน้ำตาลในเลือดสูง, ภูมิคุ้มกันร่างกายต่ำลงติดเชื้อได้ง่าย, แผลหายช้า นอกจากนี้อาจก่อให้เกิดโรคคุชชิ่ง ซินโดรม
ซึ่งจะมีอาการหน้ากลม, ร่างกายบวมน้ำ, ผิวแตก, ขนดก, อ้วน และมีโหนกที่คอ(Sweetman, 2002)
3.องค์การอาหารและยาของประเทศสหรัฐอเมริกาได้จัดระดับความเสี่ยงต่อการเกิดความผิดปกติของทารกในครรภ์จากการใช้ยาของหญิงมีครรภ์โดยยา
desoximetasone ถูกจัดไว้ที่ระดับ C ซึ่งหมายความว่ายังไม่มีรายงานข้อมูลความเสี่ยงในคนต่อการเกิดความผิดปกติของทารกในครรภ์แต่จากการทดลองในสัตว์ทดลองพบความผิดปกติของตัวอ่อนในครรภ์เมื่อให้ยา desoximetasone โดยการฉีดเข้าใต้ผิวหนังของสัตว์ทดลอง (Micromedex, 1998)
ทั้งนี้หากมีความจำเป็นต้องใช้ยาควรอยู่ในพิจารณาและความดูแลของแพทย์
4. หากมีอาการคันมากอาจรับประทานยาแก้แพ้แก้คัน ได้แก่ hydroxyzine 10 mg รับประทานครั้งละ 1 เม็ด วันละ 3 ครั้ง หรือ diphenhydramine 25 mg รับประทานครั้งละ 1 เม็ด วันละ 3 ครั้ง (Wyatt et al, 2001) และทาสารให้ความชุ่มชื้นแก่ผิวหนังโดยอาจใช้ขี้ผึ้งที่ไม่มีตัวยาสำคัญ เช่นวาสลีน หรือขี้ผึ้งที่มีส่วนผสมของสเตียริลแอลกอฮอล์, ซิทิลแอลกอฮอล์,
ลาโนลิน เป็นต้น (Leung et al, 2003; Strober et al, 2003) นอกจากยาทาสเตอรอยด์แล้วองค์การอาหารและยาของประเทศสหรัฐอเมริกาได้รับรองให้ใช้ทายารูปแบบยาขี้ผึ้งที่มีตัวยาสำคัญคือ Tacrolimus
เป็นจัดอยู่ในกลุ่มยากดภูมิคุ้มกันเพื่อรักษาโรคผิวหนังอักเสบที่เกิดเนื่องจากภาวะภูมิแพ้ ที่มีความรุนแรงของโรคในระดับปานกลางถึงระดับรุนแรง ความแรงที่รับรองให้ใช้ในผู้ใหญ่คือ 0.03% และ 1% ทาบาง ๆ วันละ 2 ครั้ง หลังจากอาการหายไปแล้วให้ทาต่อไปอีก 1 อาทิตย์ ยานี้จะไม่ทำให้เกิดผิวหนังบางลง แต่อาจมีผลข้างเคียง คือ เกิดผื่นแพ้ คัน,แสบร้อนบริเวณที่ทา, ปวดศีรษะ, มีไข้ ในประเทศไทยยังไม่มียาtacrolimus
ในรูปแบบยาขี้ผึ้งวางขายในท้องตลาด มีเฉพาะรูปแบบยาแคปซูล และยาฉีดซึ่งเป็นยาควบคุมพิเศษที่จะต้องใช้ในความดูแลของแพทย์ แต่จะมียารูปแบบยาครีมที่มีตัวยาสำคัญคือ Pimecrolimus ความแรง 1%
ซึ่งจัดอยู่ในกลุ่มยากดภูมิคุ้มกันเช่นกัน
มีข้อบ่งใช้สำหรับรักษาโรคผิวหนังอักเสบที่เกิดเนื่องจากภาวะภูมิแพ้ ทายาบางๆ บริเวณที่เป็น วันละ 2 ครั้ง เมื่ออาการหายแล้วควรหยุดใช้ยาทันที
ผลข้างเคียงจากการใช้ยาคือ ปวดศีรษะ, มีไข้, ไอ, หลอดลมอักเสบ,ติดเชื้อเริมที่ผิวหนังได้ง่าย นอกจากยา tacrolimus และ pimecrolimus แล้วยังมียากดภูมิคุ้มกันชื่อ Cyclosporine
ซึ่งมีรูปแบบยาแคปซุลและรูปแบบสารละลายสำหรับรับประทานและสำหรับฉีดแต่เนื่องจากยา Cyclosporineมีพิษต่อตับและไตสูงมากจึงจำเป็นต้องมีการติดตามผลการรักษาและความเป็นพิษที่เกิดจากยาอย่างใกล้ชิดโดยบุคลากรทางการแพทย์(Fun, 2005; Lacy, 2004; Leung et al., 2003)
เอกสารอ้างอิง
1. Amerson, L.B., 1996, Allergic and drug-induced skin disease, In Skin
disease In Textbook of Therapeutics Drug and Disease management,
6th edn, eds.E.T. Herfindal, D.R. Gourley, Williams&Wilkins a waverty
company, Pennsylvania, pp 877-880.
2. Fun, L.w., 2005, MIMS 98th Edition Thailand, vol.32, no.1, pp 392, 416.
3. Lacy, C.F., Armstrong, L.L., Goldman, M.P.&Lance, L.L., 2004, Drug
Information Handbook International, 12th edn, Lexi-Comp Inc., USA, pp
1219-1220, 1434-1437.
4. Leung, D.Y., Eichenfield, L.F.&Boguniewicz, M., 2003, Atopic
DermatitisIn Fitzpatricks Dermatology in General Medicine volume I, 6th
edn, ed. I.M. Freedberg, McGraw-Hill companies, Inc., USA, pp 1189-1191.
5. Siskin, S.B., 1998, Desoximetasone, Micromedex (CCIS), [Online]
Available at:
http://cdserv.pharmacy.psu.ac.th/mdxcgi/display.exe?CTL=c:\mdx\mdxcgi\prod.sys&SET=1C4BEA9D733EA500&SYS=1&T=571&D=1
6. Strober, B.E., Washenik, K.&Shupack, J.L., 2003, Principles of
Topical Therapy In Fitzpatricks Dermatology in General Medicine volume
I, 6th edn, ed. I.M. Freedberg, McGraw-Hill companies, Inc., USA, pp
2321-2322.
7. Sweetman, S.C., 2002, Martinedale The Complete Drug Reference, 33rd
edn, Pharmaceutical Press, USA, pp 1039-1045, 1066, 1271-1272.
8. Wyatt, E.L., Sutter, S.H.& Drake, L.A., 2001, Dermatological
Pharmacology, In Dermatology In Goodman&Gilmans The Pharmacological
basis of therapeutics, 10th edn, eds. J.G. Hardman, L.E. Limbird, The
McGrow-Hill companies, Inc., USA, pp 1802-1804.
เอกสารอ้างอิง
เอกสารอ้างอิง
1. Amerson, L.B., 1996, Allergic and drug-induced skin disease, In Skin
disease In Textbook of Therapeutics Drug and Disease management,
6th edn, eds.E.T. Herfindal, D.R. Gourley, Williams&Wilkins a waverty
company, Pennsylvania, pp 877-880.
2. Fun, L.w., 2005, MIMS 98th Edition Thailand, vol.32, no.1, pp 392, 416.
3. Lacy, C.F., Armstrong, L.L., Goldman, M.P.&Lance, L.L., 2004, Drug
Information Handbook International, 12th edn, Lexi-Comp Inc., USA, pp
1219-1220, 1434-1437.
4. Leung, D.Y., Eichenfield, L.F.&Boguniewicz, M., 2003, Atopic
DermatitisIn Fitzpatricks Dermatology in General Medicine volume I, 6th
edn, ed. I.M. Freedberg, McGraw-Hill companies, Inc., USA, pp 1189-1191.
5. Siskin, S.B., 1998, Desoximetasone, Micromedex (CCIS), [Online]
Available at:
http://cdserv.pharmacy.psu.ac.th/mdxcgi/display.exe?CTL=c:\mdx\mdxcgi\prod.sys&SET=1C4BEA9D733EA500&SYS=1&T=571&D=1
6. Strober, B.E., Washenik, K.&Shupack, J.L., 2003, Principles of
Topical Therapy In Fitzpatricks Dermatology in General Medicine volume
I, 6th edn, ed. I.M. Freedberg, McGraw-Hill companies, Inc., USA, pp
2321-2322.
7. Sweetman, S.C., 2002, Martinedale The Complete Drug Reference, 33rd
edn, Pharmaceutical Press, USA, pp 1039-1045, 1066, 1271-1272.
8. Wyatt, E.L., Sutter, S.H.& Drake, L.A., 2001, Dermatological
Pharmacology, In Dermatology In Goodman&Gilmans The Pharmacological
basis of therapeutics, 10th edn, eds. J.G. Hardman, L.E. Limbird, The
McGrow-Hill companies, Inc., USA, pp 1802-1804. เอกสารที่ทำการสืบค้น : Tertiary Reference ระยะเวลาในการสืบค้น : 2วันชั่วโมง Keywords : Desoximetasone, adverse effect, atopic derm
|