ผู้ตอบคำถาม   นศภ.กชกร แสนพันตรี

อาจารย์ผู้ดูแลการตอบคำถาม   รศ.ดร.วันทนา เหรียญมงคล

Question

แนวทางการใช้ยา Domperidone เพื่อกระตุ้นการหลั่งของน้ำนม

A nswer

Domperidone เป็นยาในกลุ่ม Dopamine antagonist มีข้อบ่งใช้หลักคือ รักษาอาการคลื่นไส้ อาเจียน กลไกการยับยั้งการทำงานของ Dopamine ของยาสามารถกระตุ้นการหลั่ง Prolactin จากต่อมใต้สมอง ซึ่ง Prolactin มีหน้าที่ในกระตุ้นการหลั่งน้ำนม ยา Domperidone จึงเป็นยาทางเลือกในการเพิ่มการหลั่งน้ำนม
ในปัจจุบัน อาการข้างเคียงที่อาจเกิดได้ คือ ปวดศีรษะ (Headache) และภาวะปากแห้ง (Xerostomia)  การการใช้ยาขนาดสูง อาจจะทำให้เกิด ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ (Arrhythmias) และการเกิด QT prolongation ทำให้ US FDA ไม่ได้รับรองข้อบ่งใช้นี้ แต่มีการใช้เป็น Off-label use ในประเทศแคนนาดา[1,2]

การใช้ Domperidone เพื่อกระตุ้นการสร้างน้ำนม ขนาดยาที่แนะนำในปัจจุบันคือ 10 mg 3 ครั้งต่อวัน รับประทานก่อนอาหาร 30 นาที ในผู้ใช้บางราย อาจเริ่มเห็นผลภายใน 24 ชั่วโมง แต่โดยทั่วไปจะเริ่มเห็นผลประมาณ 3-4 วัน หลังรับประทานยา และใช้เวลาประมาณ 2-3 สัปดาห์ ถึงจะเห็นผลสูงสุด[8] สำหรับความปลอดภัยของการใช้ยา Domperidone กระตุ้นน้ำนม เป็นเวลานาน จากการสืบค้นข้อมูล มีการศึกษาของ Asztalos และคณะ[9]  พบว่ามารดาที่ใช้ยา Domperidone ขนาดยา 30 mg/day เป็นเวลา 2-4 สัปดาห์ ไม่พบผลข้างเคียงที่เป็นอันตรายจากการใช้ยาต่อทั้งมารดาและทารก แต่มีรายงานกรณีผู้ป่วยที่รับประทานยา ขนาด 30 mg/day เพื่อกระตุ้นน้ำนม เป็นเวลา 10 เดือน เมื่อหยุดยาแล้ว เกิดภาวะนอนไม่หลับ วิตกกังวล ร่วมกับมีภาวะซึมเศร้าอย่างรุนแรง[5] และปัจจุบันยังไม่พบการศึกษาด้านความปลอดภัยของมารดาที่ใช้ยา Domperidone มากกว่า 4 สัปดาห์  ดังนั้นเพื่อความปลอดภัยของมารดา จึงแนะนำให้ใช้ยาไม่เกิน 1 เดือนและจากผลข้างเคียงของการใช้ยาที่อาจเกิดขึ้นได้ จึงแนะนำให้ผู้ป่วยลองกระตุ้นน้ำนมด้วยวิธีการที่ไม่ใช้ยาก่อน[10] นั่นคือ การใช้เครื่องปั๊มนม หรือการบีบนวดเต้านม เพื่อให้น้ำนมออกมาให้เกลี้ยงเต้า โดยเฉพาะหลังการให้นมบุตร หากใช้วิธีธรรมชาติแล้วไม่ได้ผล อาจจะพิจารณาใช้ยาเพื่อช่วยกระตุ้นน้ำนม

 

เอกสารอ้างอิง

  1. Lexicomp. Domperidone: Drug information. Available:https://www.uptodate.com/contents/domperidone-united-states-available-via-fda-investigational-drug-ind-protocol-only-drug-information?search=domperidone&source=panel_search_result&selectedTitle=1
    ~47&usage_type=panel&kp_tab=drug_general&display_rank=1. Access 9 May 2020.
  2. da Silva OP, Knoppert DC. Domperidone for lactating women. CMAJ. 2004;171(7):725‐726.
  3. Jantarasaengaram S, Sreewapa P. Effects of domperidone on augmentation of lactation  following cesarean delivery at full term. Int J Gynaecol Obstet. 2012 Mar;116(3):240-3
  4. da Silva OP, Knoppert DC, Angelini MM, Forret PA. Effect of domperidone on milk production in mothers of premature newborns: a randomized, double-blind,placebo-controlled trial. CMAJ. 2001 Jan 9;164(1):17-21.
  5. LactMed. Drugs and Lactation Database [Internet]. Available:https://www.ncbi.nlm.nih.gov/books/NBK501371/ Access 8 May 2020.
  6. Paassen NV, Hanff LM, Yap SC, Wierenga RT, Vermeulen MJ. [Domperidone to promote lactation]. Ned Tijdschr Geneeskd.2016;160:D305.
  7. Briggs GG, Freeman RK, Tower CV, Forinash AB. Drug in Pregnancy and Lactation. ed 9th. United States: lippincott williams & wilkins; 2017: Page 441-442.
  8. Henderson A. Domperidone. Discovering new choices for lactating mothers. AWHONN Lifelines. 2003 Feb-Mar;7(1):54-60.
  9. Asztalos EV, Campbell-Yeo M, da Silva OP, et al. Enhancing human milk production with domperidone in mothers of preterm infants. J Hum Lact. 2017;33:181–7. PubMed PMID: 28107101
  10. Spencer J, Abrams SA, Drutz JE, Hoppin AG. Common problems of breastfeeding and weaning. Available: https://www.uptodate.com/contents/common-problems of breastfeedingweaning?search=Domperidone%20lactation&source=search_result&selectedTitle=1~150&usage_type=default&display_rank=1. Access 8 May 2020.