ให้บริการโดยคณาจารย์ เภสัชกรผู้เชี่ยวชาญด้านยาและสุขภาพ


คำชี้แจง "เว็บไซต์นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อการ ศึกษา การแลกเปลี่ยนความรู้ และให้ข้อมูลเรื่องยาในกรณีทั่วไป ไม่ใช่คำแนะนำทางการแพทย์หรือเพื่อการรักษาในกรณีที่จำเพาะเจาะจง และความเห็นสำหรับกรณีเฉพาะหนึ่ง จะไม่สามารถประยุกต์ใช้กับผู้อื่นได้โดยตรง หากมีปัญหาเรื่องโรคโปรดปรึกษาแพทย์ หากมีปัญหาเรื่องยา โปรดปรึกษาเภสัชกร หรือปรึกษาผู้เกี่ยวข้องโดยตรงกับกรณีนั้นด้วยตนเองเท่านั้น"

Search :
กรณีที่ผู้ป่วยมีภาวะติดยาพ่นคัดจมูก และเกิดภาวะ Rhinitis medicamentosa อยากทราบว

กรณีที่ผู้ป่วยมีภาวะติดยาพ่นคัดจมูก และเกิดภาวะ Rhinitis medicamentosa อยากทราบว่ามีแนวทางการแก้ไขอย่างไรบ้าง และการให้สเตียรอยด์พ่นจมูกร่วมกับยาพ่นคัดคัดจมูกเพื่อรักษาภาวะนี้ จะมีการปรับขนาดยาทั้งคู่อย่างไร

[รหัสคำถาม : 100] วันที่รับคำถาม : 22 พ.ค. 63 - 12:11:22 ถามโดย : บุคลากร วิทยาศาสตร์สุขภาพ

เข้าระบบเพื่อตอบคำถาม

No : 1

แนวทางการรักษา rhinitis medicamentosa ทำโดยการหยุดใช้ยาพ่นแก้คัดจมูกที่เป็นสาเหตุโดยหากหยุดยาทันทีไม่ได้เพราะเกิดอาการคัดจมูกเพิ่มขึ้นก็สามารถค่อยๆลดขนาดยาลงโดยการพ่นจมูกวันละ 1 ครั้ง ก่อนนอนในรูจมูก 1 ข้าง สลับซ้าย-ขวา ในแต่ละคืน จนสามารถหยุดยาได้ [1-5] การบรรเทาอาการขณะหยุดยาอาจเลือกใช้น้ำเกลือล้างจมูก[2, 3] หากไม่ได้ผลก็สามารถใช้ยา
สเตียรอยด์พ่นจมูก หรือยารับประทาน[1-5] เพื่อบรรเทาอาการได้ โดยสเตียรอยด์จะลดอาการบวมแดงและอักเสบของ mucosa ในจมูก ยาสเตียรอยด์พ่นจมูกที่ใช้ได้ ได้แก่ budesonide nasal spray ขนาด 128 ไมโครกรัม ฉีด 2 ครั้ง ในจมูกแต่ละข้าง วันละ 1 ครั้ง หรือฉีด 1 ครั้งต่อข้าง วันละ 2 ครั้ง beclomethasone nasal spray ขนาด 42 หรือ 84 ไมโครกรัม ฉีด 1-2 ครั้ง ในจมูกแต่ละข้าง วันละ 2 ครั้ง fluticasone nasal spray ขนาด 50 ไมโครกรัม ฉีด 2 ครั้ง ในจมูกแต่ละข้าง วันละ 1 ครั้ง มีการศึกษาพบว่า budesonide ขนาด 400 ไมโครกรัมต่อวัน รวมถึง fluticasone 400 ไมโครกรัมต่อวัน มีประสิทธิภาพในการรักษา rhinitis medicamentosa และจะเริ่มเห็นผลการรักษาหลังจากใช้ประมาณ 2-7 วัน[6-8] ในผู้ที่มีอาการรุนแรงอาจใช้ยาสเตียรอยด์แบบรับประทานเสริมการรักษาในช่วง 5-10 วันแรก ขนาดยาที่ใช้ เช่น prednisolone ขนาด 0.5 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัมต่อวัน[2, 5] การรักษารูปแบบอื่น ได้แก่ รับประทานยา antihistamine ฉีดยาสเตียรอยด์ที่ตำแหน่ง Inferior turbinate ของโพรงจมูก และการใช้ยานอนหลับก่อนเข้านอน[4] ระยะเวลาของการรักษาขึ้นกับความรุนแรงของผู้ป่วยส่วนมากใช้เวลา 4-7 สัปดาห์ หรืออาจนานกว่านั้น[3, 7]

เอกสารอ้างอิง
[1] May RJ and Smith PH. Allergic rhinitis: Therapeutic Considerations. In, Dipiro JT, et al. Pharmacotherapy: a pathophysiologic Approach. 9th ed. Newyork: McGRAW-Hill companies; 2014. P.813-20
[2] Dykewicz MS, Kaliner MA. Rhinitis medicamentosa treatment and management [Internet]. New York: WebMD; c1994-2009 [updated 2018 Jan 2; cited 2020 May 23] Available from: https://emedicine.medscape.com/article/995056-treatment
[3] Shah SB, Emanuel IA. Nonallergic and Allergic Rhinitis. In: Lalwani AK. eds. Current Diagnosis & Treatment Otolaryngology—Head and Neck Surgery, 14th ed New York, NY: McGraw-Hill; 2014. [Accessed 2020 May 23] Available from: http://accessmedicine.mhmedical.com/content.aspx?bookid=2744§ionid=229671736.
[4] O’Handley JG, Tobin EJ Shah AR. Otorhinolaryngology. In: Rakel RE. eds. Textbook of family medicine, 9th ed Amsterdam: ELSEVIER; 2015. [Accessed 2020 May 23] Available from: https://www.clinicalkey.com/#!/content/book/3-s2.0-B9780323239905000186?scrollTo=%23hl0002354
[5] Liberman PL, Corren J. Chronic nonallergic rhinitis [Internet]. Waltham (MA): UpToDate; 2014 [updated 2020 Jan 6; cited 2020 May 23] Available from: https://www.uptodate.com
[6] Jonathan MZ. Budesonide, Beclomethasone, Fluticasone. In: UpToDate, Post TW(Ed), UpToDate, Waltham, MA. (Accessed on 2020 May 24)
[7] Graf P. Rhinitis medicamentosa: a review of causes and treatment. Treat Respir Med. 2005;4(1):21‐29. doi:10.2165/00151829-200504010-00003
[8] Vaidyanathan S, Williamson P, Clearie K, Khan F, Lipworth B. Fluticasone reverses oxymetazoline-induced tachyphylaxis of response and rebound congestion. American journal of respiratory and critical care medicine. 2010;182(1):19‐24. doi:10.1164/rccm.200911-1701OC

วันที่ตอบ : 11 มิ.ย. 63 - 18:08:33




พัฒนาระบบโดย ภานุชญา มณีวรรณ ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา 90110