ให้บริการโดยคณาจารย์ เภสัชกรผู้เชี่ยวชาญด้านยาและสุขภาพ


คำชี้แจง "เว็บไซต์นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อการ ศึกษา การแลกเปลี่ยนความรู้ และให้ข้อมูลเรื่องยาในกรณีทั่วไป ไม่ใช่คำแนะนำทางการแพทย์หรือเพื่อการรักษาในกรณีที่จำเพาะเจาะจง และความเห็นสำหรับกรณีเฉพาะหนึ่ง จะไม่สามารถประยุกต์ใช้กับผู้อื่นได้โดยตรง หากมีปัญหาเรื่องโรคโปรดปรึกษาแพทย์ หากมีปัญหาเรื่องยา โปรดปรึกษาเภสัชกร หรือปรึกษาผู้เกี่ยวข้องโดยตรงกับกรณีนั้นด้วยตนเองเท่านั้น"

Search :
ผู้ป่วยสมาธิสั้นที่ได้รับยา Methylphenidate หากตรวจ urine amphetamine จะให้ผลบวก

ผู้ป่วยสมาธิสั้นที่ได้รับยา Methylphenidate หากตรวจ urine amphetamine จะให้ผลบวกหรือไม่ ?

[รหัสคำถาม : 108] วันที่รับคำถาม : 22 มิ.ย. 63 - 14:18:00 ถามโดย : บุคลากร วิทยาศาสตร์สุขภาพ

เข้าระบบเพื่อตอบคำถาม

No : 1

โครงสร้างเคมีของยา methylphenidate มีความคล้ายคลึงกันกับสาร amphetamine กล่าวคือ methylphenidate มีหมู่โครงสร้าง phenylethylamine (ที่มีcyclic amine เป็นส่วนประกอบ) ซึ่งคล้ายกับ หมู่ alphatic amine ในโครงสร้างของ amphetamine [1]

การตรวจสารเสพติดกลุ่ม amphetamines ในปัสสาวะ ซึ่งมักทำใน 2 ขั้นตอน คือ การตรวจคัดกรอง (screening test) ซึ่งมักตรวจสอบโดยการใช้ปฏิกิริยาการเกิดสี (Chemical color reaction : CCR) และหลักภูมิคุ้มกันวิทยา (Color Immuno chromatographic Assay: CICA) ซึ่งสามารถให้ผลบวกลวง
( false positive) ในผู้ที่รับประทานยา methylphenidate ได้ เนื่องจากการตรวจสอบโดยวิธีดังกล่าวจะอาศัยหลักการที่เกี่ยวข้องกับโครงสร้างของ amphetamine[2-4] ทำให้ผู้ที่รับประทานยา methylphenidate ซึ่งมีโครงสร้างเคมีของยาคล้ายกับ amphetamine ให้ผลบวกต่อการตรวจสารเสพติดกลุ่ม amphetamines ในปัสสาวะได้[1,5] ทั้งนี้มีการศึกษาของ Shannon และ คณะ[1] ได้ทำการทดลองโดยการนำตัวอย่างปัสสาวะจำนวน 6 ตัวอย่าง ที่มี methylphenidate ความเข้มข้น 100 µm/mL และ 200 µm/mL ไปทดสอบ amphetamine urine test หรือการตรวจสอบสารเสพติดกลุ่ม amphetamines ในปัสสาวะ ด้วยหลักภูมิคุ้มกันวิทยา ( immunoassay ) ผลการทดสอบพบว่าน้ำปัสสาวะที่มี methylphenidate 200 µm/mL ให้ผลทดสอบเป็นบวก และนอกจากนี้สามารถทำการยืนยันว่าผลบวกดังกล่าวเกิดจากการเสพสารเสพติดหรือการรับประทานยา ได้จากขั้นตอน การตรวจยืนยัน (Confirmatory test) ซึ่งเป็นการตรวจอย่างละเอียดใน
ห้องปฏิบัติการด้วยวิธี Gas chromatography-Mass Spectrometry (GC-MS) เป็นวิธีมาตรฐานโดยอาศัยหลักการของมวลและประจุของสารทำให้มีความจำเพาะเจาะจงต่อสารชนิดนั้นมากขึ้น[2-4] ซึ่งวิธีการตรวจยืนยันนี้จะสามารถยืนยันความแตกต่างของยา methylphenidate และ amphetamines ได้

ดังนั้น บุคลากรทางการแพทย์ควรแจ้งแก่ผู้ป่วยที่รับประทานยา methylphenidate ทราบว่า การรับประทานยานี้อาจให้ผลบวกในการตรวจสารเสพติดกลุ่ม amphetamines ในปัสสาวะได้ ทั้งนี้ในผู้ป่วยซี่งใช้ methylphenidate เพื่อการรักษา และไม่ได้ใช้สารเสพติดอื่นๆ สามารถนำยาที่รับประทานและชี้แจงประวัติการใช้ยาต่อทางเจ้าหน้าที่ หรือส่งตรวจยืนยันด้วยเทคนิค chromatography ได้ที่สถาบันธัญญารักษ์สังกัดกรมการแพทย์ได้

อ้างอิง
1. Manzi S, Law T, et al. Methylphenidate produces a false-positive urine amphetamine screen. Pediatr Emerg Care. 2002 Oct;18(5):401.
2. ดํารัสศิริ ไพอุปรี, วรางคณา โฉมจังหรีด, สหภูมิ ศรีสุมะ. Amphetamines. จุลสารพิษวิทยา[อินเทอร์เน็ต]. 2556[เข้าถึงเมื่อ 13 กรกฎาคม 2563]; 21(1):5 - 10. เข้าถึงได้จาก: https://med.mahidol.ac.th
/poisoncenter/sites/default/files/public/pdf/bulletin/bul2013/bul2013No1.pdf?
3. สำนักยาและวัตถุเสพติดกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์กระทรวงสาธารณสุข. คู่มือการตรวจพิสูจน์ยาเสพติดในของกลางเบื้องต้น[อินเทอร์เน็ต]. พิมพ์ครั้งที่ 1. นนทบุรี: โอ-วิทย์; 2560 [เข้าถึงเมื่อ 13 กรกฎาคม 2563]. เข้าถึงได้จาก:https://bdn.go.th/attachment/download/download.php?WP=GT9gMTqCqWO
chKwtpTggWaplGQIgG2rDqYyc4Uux
4. กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์. คู่มือการทดสอบสารเสพติดในปัสสาวะ[อินเทอร์เน็ต]. นนทบุรี: คงเกียรติการพิมพ์; 2559 [เข้าถึงเมื่อ 13 กรกฎาคม 2563]. เข้าถึงได้จาก: http://dmsc2.dmsc.moph.go.th/webroot
/drug/narcotic/doc/NarcoticUrineTestingManual_2559.pdf
5. ปริญญา ปั้นพล. Amphetamine (or Amphetamine-like) - Related Disorders[อินเทอร์เน็ต]. 2560 [เข้าถึงเมื่อ 13 กรกฎาคม 2563]. เข้าถึงได้จาก: ccpe.pharmacycouncil.org

วันที่ตอบ : 17 มี.ค. 64 - 20:22:23




พัฒนาระบบโดย ภานุชญา มณีวรรณ ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา 90110