ให้บริการโดยคณาจารย์ เภสัชกรผู้เชี่ยวชาญด้านยาและสุขภาพ


คำชี้แจง "เว็บไซต์นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อการ ศึกษา การแลกเปลี่ยนความรู้ และให้ข้อมูลเรื่องยาในกรณีทั่วไป ไม่ใช่คำแนะนำทางการแพทย์หรือเพื่อการรักษาในกรณีที่จำเพาะเจาะจง และความเห็นสำหรับกรณีเฉพาะหนึ่ง จะไม่สามารถประยุกต์ใช้กับผู้อื่นได้โดยตรง หากมีปัญหาเรื่องโรคโปรดปรึกษาแพทย์ หากมีปัญหาเรื่องยา โปรดปรึกษาเภสัชกร หรือปรึกษาผู้เกี่ยวข้องโดยตรงกับกรณีนั้นด้วยตนเองเท่านั้น"

Search :
เป็นไบโพล่าร์ครับ ยาไบโพล่าร์ เวลาตรวจปัสสาวะ จะทำให้ปัสสาวะสีม่วงไหมครับ
Sodiu


เป็นไบโพล่าร์ครับ ยาไบโพล่าร์ เวลาตรวจปัสสาวะ จะทำให้ปัสสาวะสีม่วงไหมครับ
Sodium varproate
Diazepam (d5)
Depakin
Risperidone
ัยาเสพติดทุกชนิดไม่ยุ่ง สุรา บหรี่ไม่สูบครับ

[รหัสคำถาม : 11] วันที่รับคำถาม : 11 ธ.ค. 62 - 16:21:47 ถามโดย : บุคคลทั่วไป

เข้าระบบเพื่อตอบคำถาม

No : 1

การตรวจสารเสพติดในปัสสาวะเป็นวิธีการหนึ่งที่นิยมใช้ และเป็นที่ยอมรับ เนื่องจากสามารถเก็บตัวอย่างได้สะดวกและมีโอกาสสูงที่จะตรวจพบสารเสพติด มี 2 วิธี ดังนี้
1. การตรวจเบื้องต้น เป็นการตรวจคัดกรองเพื่อหาความเป็นไปได้ว่าบุคคลนั้นมีการใช้สารเสพติดหรือไม่ โดยใช้หลักการภูมิคุ้มกันวิทยาซึ่งอาศัยการเกิดปฏิกิริยาระหว่างสารแอนติเจนและสารแอนติบอดีบนแผ่นทดสอบ โดยชุดทดสอบแบ่งตามลักษณะและการใช้งาน เป็น 3 ประเภท คือ 1. ชุดทดสอบชนิดแถบ 2. ชุดทดสอบชนิดตลับ 3. ชุดทดสอบแบบถ้วย ถ้าผลตรวจมีแถบสีม่วงเกิดขึ้นเพียงเส้นเดียว ณ ตำแหน่งควบคุมคุณภาพ (C) แสดงว่าให้ผลบวก คือ มีสารเสพติดในร่างกาย
2.การตรวจยืนยันผล เป็นการตรวจยืนยันว่าตัวอย่างปัสสาวะที่ให้ผลบวกในขั้นตอนการตรวจเบื้องต้น มีสารเสพติดอยู่จริงหรือไม่และเพื่อตรวจจำแนกชนิดของสารเสพติดในปัสสาวะนั้น ๆ โดยการตรวจปัสสาวะ นั้นซ้ำอีกครั้งด้วยเครื่องมือและวิธีการในห้องปฏิบัติการ [1]
.
การตรวจหาสารเสพติดในการตรวจคัดกรองเบื้องต้นนั้น สามารถทำได้ง่าย ราคาถูก สามารถตรวจได้ครั้งละเยอะ ๆ แต่มีข้อเสีย คือ อาจมีผลบวกลวงกับยาบางชนิดได้ เช่น Pseudoephedrine, Phenylpropanolamine, Fenfluramine และ Phentermine [2] เนื่องจากมีโครงสร้างทางเคมีคล้ายกับสารประกอบที่พบในยาบ้าหรือยาไอซ์ เช่น เมทแอมเฟตามีน หรือแอมเฟตามีน คือมีหมู่ amine ในโครงสร้างซึ่งเมื่อทำปฏิกิริยากับชุดทดสอบจะเกิดเป็นสารเชิงซ้อนเห็นเป็นแถบสีม่วง [3,4]
.
สำหรับยา Sodium valproate, Diazepam และ Risperidone นั้นพบว่าโครงสร้างของยาทั้ง 3 ตัว ไม่ได้มีหมู่ amine ในโครงสร้างเช่นเดียวกับสารประกอบที่พบในยาบ้าหรือยาไอซ์ เช่น เมทแอมเฟตามีน หรือแอมเฟตามีน ดังนั้นการตรวจปัสสาวะจึงไม่อาจทำให้ผลตรวจเป็นบวกคือมีแถบสีม่วง 1 แถบได้
.
อย่างไรก็ตามวิธีการข้างต้นเป็นเพียงวิธีการตรวจสอบสารในขั้นต้นเท่านั้น ซึ่งวิธีดังกล่าวก็อาจให้ผลที่ผิดพลาดได้เนื่องจากสารที่ใช้ในการทดสอบสามารถเกิดปฏิกิริยากับสารอื่น ๆ ได้ด้วย ดังนั้นเมื่อมีความจำเป็นที่ต้องใช้ยาดังกล่าวควรมีหลักฐานหรือเอกสารใบรับรองแพทย์ต่าง ๆ เพื่อยืนยันความบริสุทธิ์และช่วยให้ต้องมีการตรวจละเอียดในขั้นตอนต่อไป

เอกสารอ้างอิง
[1]. วิยะดา อัครวุฒ และคณะ. คู่มือและแนวทางการจัดซื้อชุดทดสอบสารเสพติดในปัสสาวะ: สำนักยาและวัตถุเสพติด กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข; 2554.
[2]. ณปภา สิริศุภกฤตกุล, บงกช พันธ์บูรณานนท์. คู่มือการตรวจพิสูจน์ยาเสพติดในของกลางเบื้องต้น. สำนักยาและวัตถุเสพติด กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข; 2560.
[3]. อรพิณ ทนันขัติ และคณะ. วิธีมาตรฐานสำหรับการตรวจพิสูจน์สารเสพติดในปัสสาวะ. กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข; 2558.
[4]. Mohr, G.J., Wenzel, M., Lehmann, F. et al. A chromoreactand for optical sensing of amphetamines. Anal Bioanal Chem 374, 399–402 (2002). https://doi.org/10.1007/s00216-002-1519-0.

วันที่ตอบ : 28 มี.ค. 66 - 16:25:18




พัฒนาระบบโดย ภานุชญา มณีวรรณ ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา 90110