ให้บริการโดยคณาจารย์ เภสัชกรผู้เชี่ยวชาญด้านยาและสุขภาพ


คำชี้แจง "เว็บไซต์นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อการ ศึกษา การแลกเปลี่ยนความรู้ และให้ข้อมูลเรื่องยาในกรณีทั่วไป ไม่ใช่คำแนะนำทางการแพทย์หรือเพื่อการรักษาในกรณีที่จำเพาะเจาะจง และความเห็นสำหรับกรณีเฉพาะหนึ่ง จะไม่สามารถประยุกต์ใช้กับผู้อื่นได้โดยตรง หากมีปัญหาเรื่องโรคโปรดปรึกษาแพทย์ หากมีปัญหาเรื่องยา โปรดปรึกษาเภสัชกร หรือปรึกษาผู้เกี่ยวข้องโดยตรงกับกรณีนั้นด้วยตนเองเท่านั้น"

Search :
ผู้ป่วยเป็นกลากขนาดใหญ่ร่วมกับผู้ป่วยมีการเกาพบว่ารอยโรคเป็นมากขึ้น และรับประทาน

ผู้ป่วยเป็นกลากขนาดใหญ่ร่วมกับผู้ป่วยมีการเกาพบว่ารอยโรคเป็นมากขึ้น และรับประทานยา simvastatin 10 mg อยู่ หากจะใช้ยารับประทานจะมีแนวทางการใช้ยาอย่างไรบ้างคะ เนื่องจากยากลุ่ม azole มี drug interaction กับ simvastatin ผ่าน CYP 3A4

[รหัสคำถาม : 110] วันที่รับคำถาม : 26 มิ.ย. 63 - 00:36:07 ถามโดย : บุคลากร วิทยาศาสตร์สุขภาพ

เข้าระบบเพื่อตอบคำถาม

No : 1

โรคกลาก (Dermatophytosis) เป็นโรคติดเชื้อรากลุ่ม Dermatophyte ซึ่งจะก่อโรคใน ส่วนของผิวหนังที่สร้างเคอราติน (keratin) ลักษณะทางคลินิกจะแตกต่างไปตามตําแหน่งที่เกิดโรคและมีชื่อเรียกจําเพาะ[1] โดยลักษณะที่พบบ่อย คือ เป็นวงขอบนูนแดง (Ringworm) หรือรีหรือวงแหวนมีขุย ร่วมกับอาการคัน[2] การรักษาจึงเป็นสิ่งที่สำคัญ เพราะถือเป็นการป้องกันการแพร่เชื้อสู่ผู้อื่นได้ และหากไม่ได้รับการรักษาที่เหมาะสม รอยโรคจะขยายเป็นบริเวณกว้างขึ้นเรื่อยๆ

เมื่อพิจารณาข้อมูลของผู้ป่วยรายนี้ พบว่า ผู้ป่วยรายนี้เป็นกลากขนาดใหญ่ รอยโรคเป็นมากขึ้น ซึ่งสอดคล้องกับข้อบ่งใช้ในการใช้ยาฆ่าเชื้อราชนิดรับประทานได้[1,3] ประกอบกับผู้ป่วยมีการรับประทานยา simvastatin 10 mg อยู่ จึงควรหลีกเลี่ยงการบริหารยานี้ร่วมกับยากลุ่ม azole ซึ่งเป็น CYP3A4 inhibitor ที่มีฤทธิ์แรง ส่งผลให้เกิดการเพิ่มขึ้นของระดับยา simvastatin เพิ่มความเสี่ยงในการเกิดอาการผิดปกติที่เกิดกับกล้ามเนื้อ (myopathy) รวมถึง ภาวะกล้ามเนื้อลายสลาย (rhabdomyolysis) [4] หากจำเป็นต้องการใช้ยากลุ่ม azoles ก็ควรหยุดยา statin ชั่วคราว

ดังนั้น การรักษาด้วยยาฆ่าเชื้อราชนิดรับประทานที่ควรเลือกใช้เป็นอันดับแรก[4] ในผู้ป่วยรายนี้ คือ griseofulvin (บัญชี ก) ขนาด 10-20 mg/kg/d 2-4 สัปดาห์ หรือให้ยาในขนาด 15-20 mg/kg/d 2-4 สัปดาห์ (ในผู้ป่วยเด็ก) ยานี้อาจทำให้เกิดภาวะแพ้แสงแดดได้ และผู้ป่วยต้องไม่มีข้อห้ามใช้ยา[5] ดังต่อไปนี้
- ผู้ที่แพ้ griseofulvin และ penicillin
- ผู้ที่ตั้งครรภ์
- ผู้ที่มีปัญหาการทำงานของตับบกพร่องรุนแรง
- ผู้ที่เป็น Systemic lupus erythematosus (SLE)
- ผู้ที่เป็น โรคเลือดที่เกิดจากความผิดปกติของเลือด (porphyria)

และหากผู้ป่วยมีภาวะขาดกรดในกระเพาะอาหาร (achlorhydria) จะพิจารณาใช้ยา terbinafine (ยานอกบัญชี) เป็นเวลา 1 สัปดาห์ ซึ่งมีราคาแพงกว่ายา griseofulvin[6,7] โดยให้ขนาดยา ดังนี้
ขนาด 250 mg/d (หากมีน้ำหนักตัวเกิน 40 kg)
ขนาด 125 mg/d (หากมีน้ำหนักระหว่าง 20-40 kg)
ขนาด 62.5 mg/d (หากมีน้ำหนักน้อยกว่า 20 kg)
และผู้ป่วยต้องไม่มีข้อห้ามใช้ยา[8] ดังนี้
- ผู้ที่แพ้ terbinafine
- ผู้ป่วยโรคตับ
-หญิงให้นมบุตร

ซึ่งไม่พบข้อมูลการเกิดอันตรกิริยาระหว่างยา simvastatin-terbinafine และ simvastatin-griseofulvin[9] แต่ทั้งนี้ควรพิจารณาถึงข้อมูลการทำงานของไตในผู้ป่วยเพิ่มเติมด้วย
นอกเหนือจากการรักษากลากผิวหนังโดยใช้ยาแล้ว การแนะนำเกี่ยวกับการปฏิบัติตัวแก่ผู้ป่วยก็ถือเป็นอีกวิธีหนึ่งที่สามารถทำให้อาการดีขึ้นและป้องกันการกลับเป็นซ้ำของโรคได้

เอกสารอ้างอิง
[1] Sahoo AK, Mahajan R. Management of tinea corporis, tinea cruris, and tinea pedis: A comprehensive review. Indian dermatology online journal. 2016;7(2):77–86.
[2] American Academy of Dermatology. Ringworm:overview. 2020. [cited 2020 July 10]. Available from: https://www.aad.org/public/diseases/a-z/ringworm-overview.
[3] เวสารัช เวสสโกวิท. คู่มือการใช้ยาอย่างสมเหตุผลตามบัญชียาหลักแห่งชาติ ยาที่ใช้ทางโรคผิวหนัง. 2558. เข้าถึงจาก: http://ndi.fda.moph.go.th/uploads/main_drug_file/20171115142416.pdf. สืบค้นเมื่อวันที่ 10 กรกฎาคม 2563.
[4] MIMS Online [Internet]. Simvastatin: MIMS Thailand;2020. [cited 2020 July 10]. Available from: https://www.mims.com/thailand/drug/info/simvastatin.
[5] MIMS Online [Internet]. Griseofulvin: MIMS Thailand;2020. [cited 2020 July 10]. Available from: https://www.mims.com/thailand/drug/info/griseofulvin.
[6] Drugbank [Internet]. Terbinafine. 2020. [cited 2020 July 10]. Available from: https://www.drugbank.ca/drugs/DB00857.
[7] National Drug Information. Griseofulvin. 2016. [cited 2020 July 10]. Available from: http://ndi.fda.moph.go.th/drug_value/index/public/G.
[8] MIMS Online [Internet]. Terbinafine: MIMS Thailand;2020. [cited 2020 July 10]. Available from: https://www.mims.com/thailand/drug/info/terbinafine.
[9] MICROMEDEX® [Database on the internet]. Drug interaction. [cited 2020 July 10]. Available from : https://www.micromedexsolutions.com/micromedex2/librarian.

วันที่ตอบ : 31 ส.ค. 63 - 10:24:59




พัฒนาระบบโดย ภานุชญา มณีวรรณ ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา 90110