ให้บริการโดยคณาจารย์ เภสัชกรผู้เชี่ยวชาญด้านยาและสุขภาพ


คำชี้แจง "เว็บไซต์นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อการ ศึกษา การแลกเปลี่ยนความรู้ และให้ข้อมูลเรื่องยาในกรณีทั่วไป ไม่ใช่คำแนะนำทางการแพทย์หรือเพื่อการรักษาในกรณีที่จำเพาะเจาะจง และความเห็นสำหรับกรณีเฉพาะหนึ่ง จะไม่สามารถประยุกต์ใช้กับผู้อื่นได้โดยตรง หากมีปัญหาเรื่องโรคโปรดปรึกษาแพทย์ หากมีปัญหาเรื่องยา โปรดปรึกษาเภสัชกร หรือปรึกษาผู้เกี่ยวข้องโดยตรงกับกรณีนั้นด้วยตนเองเท่านั้น"

Search :
วิตามินซีรูปแบบทา มีข้อห้ามใช้ในคนที่เป็นรอยดำจากสิวหรือไม่คะ เนื่องจากผู้ป่วยแจ

วิตามินซีรูปแบบทา มีข้อห้ามใช้ในคนที่เป็นรอยดำจากสิวหรือไม่คะ เนื่องจากผู้ป่วยแจ้งว่าเภสัชแจ้งว่าห้ามใช้ในคนเป็นสิวโดยเฉพาะสิวหัวหนอง หรือมีข้อควรระวังในคนเป็นสิวหรือไม่คะ

[รหัสคำถาม : 120] วันที่รับคำถาม : 24 ส.ค. 63 - 14:10:33 ถามโดย : บุคลากร วิทยาศาสตร์สุขภาพ

เข้าระบบเพื่อตอบคำถาม

No : 1

วิตามินซีในรูปยาทามีตัวยา Sodium-L-ascorbyl-2-phosphate หรือ Magnesium-L-ascorbyl-2-phosphate โดยมีการนำมาใช้รักษาสิวเนื่องจากสิวที่มีเชื้อ Cutibacterium acne จะมี neutrophil มาต่อต้านทำให้เกิดการอักเสบและเกิดการสร้างสารอนุมูลอิสระ ซึ่งวิตามินซีมีฤทธิ์ต้านการอักเสบและฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ นอกจากนี้วิตามินซีมีฤทธิ์ต้านการสร้างเม็ดสีด้วยกลไกการยับยั้งการสร้างเม็ดสีเมลานินจากการเกิดปฏิกิริยา Copper ion ลด dopaquinone และยับยั้ง dihydrochinindol-2-carboxyl acid oxidation อีกทั้งยังมีการนำวิตามินซีรูปแบบทามาใช้ลดรอยดำจากฝ้าเนื่องจากมีฤทธิ์ป้องกันแสง UVA, UVB และลดรอยดำเพิ่มความกระจ่างใสด้วยกลไกการยับยั้งเอนไซม์ tyrosinase ซึ่งเป็นเอนไซม์หลักในการสังเคราะห์เม็ดสีเมลานินและช่วยเสริมการสังเคราะห์คอลลาเจน[1-3]
การรักษารอยดำจากฝ้ามีแนวทางหลักในการรักษาคือการใช้ topical agents ได้แก่ Hydroquinone (gold standard) การใช้ chemical peels และการ laser[4-5] มีการศึกษาที่ใช้วิตามินซีรูปแบบทาเพื่อรักษารอยดำจากฝ้า โดยผลการศึกษาส่วนใหญ่พบว่าวิตามินซีรูปแบบทาช่วยลดรอยดำจากฝ้าได้[6-8] มีการศึกษาเปรียบเทียบประสิทธิภาพของการรักษารอยดำจากฝ้าระหว่างการใช้ยาทา Hydroquinone กับวิตามินซีรูปแบบทา พบว่ายาทา Hydroquinone มีประสิทธิภาพลดรอยดำจากฝ้าได้ร้อยละ 93 วิตามินซีรูปแบบทามีประสิทธิภาพร้อยละ 62.5 แต่อย่างไรก็ตามยาทา Hydroquinone มีอาการข้างเคียงจากการใช้ยาทำให้เกิดการระคายเคืองผิวร้อยละ 68.7 ในขณะที่วิตามินซีรูปแบบทาทำให้เกิดการระคายเคืองผิวเพียงร้อยละ 6.2 ดังนั้นวิตามินซีรูปแบบทาจึงเป็นทางเลือกหนึ่งในการรักษารอยดำจากฝ้าได้[9] การใช้วิตามินซีรูปแบบทามักใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการลดรอยดำจากฝ้าร่วมกับยาอื่นหรือการรักษาแบบอื่น เช่น การใช้ร่วมกับ trichloroacetic acid peel[10] หรือการใช้ร่วมกับการรักษาฝ้าด้วย laser[11] จะช่วยลดรอยดำจากฝ้าได้มากกว่าการใช้ยาเดี่ยวหรือการรักษาด้วย laser เพียงอย่างเดียว ดังนั้นจึงพบผลิตภัณฑ์ลดรอยดำจากฝ้าในท้องตลาดนิยมผสมวิตามินซีร่วมกับสารตัวอื่นๆ
การศึกษาวิตามินซีรูปแบบทาในการรักษาสิวมีข้อมูลจำกัด แม้จะมีการศึกษาที่ระบุว่าวิตามินซีรูปแบบทาสามารถรักษาสิวอักเสบหรือสิวอุดตันได้[12-13] แต่การนำวิตามินซีรูปแบบทามารักษาสิวหรือลดรอยดำจากสิวยังคงไม่แพร่หลายคาดว่าเป็นเพราะมีผลิตภัณฑ์ที่มีประสิทธิภาพมากกว่าและใช้เป็นแนวทางปฏิบัติในการรักษาสิวในปัจจุบัน เช่น benzoyl peroxide, retinoids, topical antibiotics[14]
ดังนั้นการนำวิตามินซีรูปแบบทาในการนำมาใช้ลดรอยดำจากสิวอาจจะทำได้แต่ไม่มีการศึกษาประสิทธิภาพโดยตรง ส่วนการนำมาใช้รักษาสิวการศึกษามีข้อมูลจำกัดควรเลือกใช้ผลิตภัณฑ์รักษาสิวที่ใช้เป็นมาตรฐานทั่วไปเช่น benzoyl peroxide หรือ retinoids ซึ่งมีข้อมูลประสิทธิภาพชัดเจน

เอกสารอ้างอิง
[1]. Draelos ZD. Dermatologic Therapy. Blackwell Publishing: 2007:308-13.
[2]. Farris PK. Topical vitamin C: a useful agent for treating photoaging and other dermatologic conditions. Dermatol. Surg. 2005 Jul.;31(7 Pt 2):814-7; discussion 818. doi: 10.1111/j.1524-4725.2005.31725. PMID: 16029672.
[3]. Al-Niaimi F, Chiang NYZ. Topical Vitamin C and the Skin: Mechanisms of Action and Clinical Applications. J. Clin. Aesthet. Dermatol. 2017 Jul.;10(7):14-17. Epub 2017 Jul. 1. PMID: 29104718; PMCID: PMC5605218.
[4]. Kaufman BP, Aman T, Alexis AF. Postinflammatory Hyperpigmentation: Epidemiology, Clinical Presentation, Pathogenesis and Treatment. Am. J. Clin. Dermatol. 2018 Aug.;19(4):489-503. doi: 10.1007/s40257-017-0333-6. PMID: 29222629.
[5]. Castillo DE, Keri JE. Chemical peels in the treatment of acne: patient selection and perspectives. Clin. Cosmet. Investig. Dermatol. 2018 Jul. 16;11:365-372. doi: 10.2147/CCID.S137788. PMID: 30038512; PMCID: PMC6053170.
[6]. Dayal S, Sahu P, Jain VK, Khetri S. Clinical efficacy and safety of 20% glycolic peel, 15% lactic peel, and topical 20% vitamin C in constitutional type of periorbital melanosis: a comparative study. J. Cosmet. Dermatol. 2016 Dec.;15(4):367-373. doi: 10.1111/jocd.12255. Epub 2016 Jul. 6. PMID: 27380862.
[7]. Humbert P, Fanian F, Lihoreau T, Jeudy A, Pierard GE. Bateman purpura (dermatoporosis): a localized scurvy treated by topical vitamin C - double-blind randomized placebo-controlled clinical trial. J. Eur. Acad. Dermatol. Venereol. 2018 Feb.;32(2):323-328. doi: 10.1111/jdv.14525. Epub 2017 Sep. 5. PMID: 28833652.
[8]. Dorgham NA, Hegazy RA, Sharobim AK, Dorgham DA. Efficacy and tolerability of chemical peeling as a single agent for melasma in dark-skinned patients: A systematic review and meta-analysis of comparative trials. J. Cosmet. Dermatol. 2020 Nov.;19(11):2812-2819. doi: 10.1111/jocd.13725. Epub 2020 Sep. 29. PMID: 32947652.
[9]. Espinal-Perez LE, Moncada B, Castanedo-Cazares JP. A double-blind randomized trial of 5% ascorbic acid vs. 4% hydroquinone in melasma. J. Cosmet. Dermatol. 2004 Aug.;43(8):604-7. doi: 10.1111/j.1365-4632.2004.02134.x. PMID: 15304189.
[10]. Dayal S, Sahu P, Yadav M, Jain VK. Clinical Efficacy and Safety on Combining 20% Trichloroacetic Acid Peel with Topical 5% Ascorbic Acid for Melasma. J. Clin. Diagn. Res. 2017 Sep.;11(9):WC08-WC11. doi: 10.7860/JCDR/2017/26078.10685. Epub 2017 Sep. 1. PMID: 29207818; PMCID: PMC5713840.
[11]. Lee MC, Chang CS, Huang YL, Chang SL, Chang CH, Lin YF, Hu S. Treatment of melasma with mixed parameters of 1,064-nm Q-switched Nd:YAG laser toning and an enhanced effect of ultrasonic application of vitamin C: a split-face study. Lasers Med. Sci. 2015 Jan.;30(1):159-63. doi: 10.1007/s10103-014-1608-2. Epub 2014 Jul. 30. PMID: 25073866.
[12]. Ruamrak C, Lourith N, Natakankitkul S. Comparison of clinical efficacies of sodium ascorbyl phosphate, retinol and their combination in acne treatment. J. Cosmet. Dermatol. 2009 Feb.;31(1):41-6. doi: 10.1111/j.1468-2494.2008.00479.x. PMID: 19134126.
[13]. Lloyd HW, Baumann L and Ikeno H. Sodium L-ascorbyl-2-phosphate 5% lotion for the treatment of acne vulgaris: a randomized, double-blind, controlled trial. J. Cosmet. Dermatol. 2010 Feb. 22;9 (issue 1):22-7.
[14]. Wells BG, Dipiro JT, Schwinghammer TL, Dipiro CV. Pharmacotherapy Handbook. 9th ed. New York: McGraw-Hill Education; 2015:135-40.

วันที่ตอบ : 07 ก.พ. 65 - 12:50:20




พัฒนาระบบโดย ภานุชญา มณีวรรณ ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา 90110