ให้บริการโดยคณาจารย์ เภสัชกรผู้เชี่ยวชาญด้านยาและสุขภาพ


คำชี้แจง "เว็บไซต์นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อการ ศึกษา การแลกเปลี่ยนความรู้ และให้ข้อมูลเรื่องยาในกรณีทั่วไป ไม่ใช่คำแนะนำทางการแพทย์หรือเพื่อการรักษาในกรณีที่จำเพาะเจาะจง และความเห็นสำหรับกรณีเฉพาะหนึ่ง จะไม่สามารถประยุกต์ใช้กับผู้อื่นได้โดยตรง หากมีปัญหาเรื่องโรคโปรดปรึกษาแพทย์ หากมีปัญหาเรื่องยา โปรดปรึกษาเภสัชกร หรือปรึกษาผู้เกี่ยวข้องโดยตรงกับกรณีนั้นด้วยตนเองเท่านั้น"

Search :
สอบถามการฉีดวัคซีน Hepatitis B ในบุคลาการทางการแพทย์ที่มีความเสี่ยงสูง เช่น แพทย

สอบถามการฉีดวัคซีน Hepatitis B ในบุคลาการทางการแพทย์ที่มีความเสี่ยงสูง เช่น แพทย์ พยาบาล นักเทคนิคการแพทย์ สมมติหลักจากฉีดวัคซีนครบแล้ว ตรวจพอภูมิคุ้มกัน ผ่านไปหลายปี ตรวจภูมิคุ้มกัน แต่ไม่เจอ จะต้องมีการฉีดเพื่อกระตุ้นภูมิคุ้มหรือไม่

[รหัสคำถาม : 121] วันที่รับคำถาม : 30 ส.ค. 63 - 12:24:56 ถามโดย : บุคลากร วิทยาศาสตร์สุขภาพ

เข้าระบบเพื่อตอบคำถาม

No : 1

วัคซีนป้องกันไวรัสตับอักเสบ บี ที่มีจําหน่ายในประเทศไทยในขณะนี้ เป็นวัคซีนป้องกันไวรัสตับอักเสบ บี ที่ผลิตโดยเทคนิคทางพันธุวิศวกรรม (recombinant DNA vaccine) ที่มีสาร aluminium hydroxide เป็นสารช่วยกระตุ้นภูมิคุ้มกัน (adjuvant) บริหารโดยการฉีดเข้ากล้ามเนื้อทั้งหมด 3 เข็ม เข็มละ 1 มิลลิลิตร [มีปริมาณแอนติเจนไวรัสตับอักเสบ บี (HBsAg) 20 mcg/ml] ฉีดในเดือนที่ 0 เดือนที่ 1-2 และเดือนที่ 6-7 การฉีดครบชุดจะทําให้มีระดับภูมิคุ้มกันต่อเชื้อไวรัสตับอักเสบ บี (anti-HBs) ที่สามารถป้องกันโรคได้ (≥10 mIU/ml) ร้อยละ 90-95 ของผู้ที่ได้รับการฉีดวัคซีน[1] ข้อมูลการติดตามบุคคลทั่วไปที่ได้รับการฉีดวัคซีนครบชุดระยะยาว พบว่า ระดับภูมิคุ้มกัน (anti-HBs) จะคงอยู่ได้นานมากกว่า 20 ปี โดยทั่วไปจึงไม่แนะนําให้มีการฉีดวัคซีนซ้ําในผู้ที่ได้รับวัคซีนครบชุดแล้ว[1,3]
อย่างไรก็ตามมีข้อมูลการศึกษาการคงอยูของระดับภูมิคุ้มกัน (anti-HBs) หลังฉีดวัคซีนครบชุดแล้ว ในบุคลากรทางการแพทย์ พบว่า ระดับของภูมิคุ้มกันหลังจากฉีดวัคซีนชุดแรกไปแล้ว 18 ปีหรือนานกว่านั้น อาจต่ํากว่าระดับที่สามารถป้องกันโรค (<10 mIU/ml) ได้[6] และเมื่อให้วัคซีนซ้ํา (booster dose) 1 เข็ม ในขนาด 1 มิลลิลิตร [มีปริมาณแอนติเจนไวรัสตับอักเสบ บี (HBsAg) 20 ไมโครกรัม/มิลลิลิตร] สามารถเพิ่มระดับภูมิคุ้มกัน ให้อยู่ในระดับที่สามารถป้องกันไวรัสตับอักเสบบี (≥10 mIU/mL) ได้ ในร้อยละ 90-95 ของผู้ที่ได้รับการฉีดวัคซีน[7,9] นอกจากนี้มีรายงานว่า อัตราการสร้างภูมิคุ้มกันลดลงสัมพันธ์กับอายุที่เพิ่มขึ้น ความบกพร่องของระบบภูมิคุ้มกัน ภาวะเบาหวาน การสูบบุหรี่ และดัชนีมวลกายที่สูงขึ้น[4]
ดังนั้นในกรณีที่บุคลากรทางการแพทย์ที่มีความเสี่ยงสูง เช่น แพทย์ พยาบาล นักเทคนิคการแพทย์ เป็นต้น หลังจากฉีดวัคซีนครบแล้ว ตรวจไม่พบภูมิคุ้มกันเมื่อเวลาผ่านไปหลายปี สามารถฉีดวัคซีนกระตุ้นซ้ํา 1 เข็ม ในขนาด 1 มิลลิตร [มีปริมาณแอนติเจนไวรัสตับอักเสบ บี (HBsAg) 20 ไมโครกรัม/มิลลิลิตร] เพื่อกระตุ้นภูมิคุ้มกัน รวมทั้งควรปรับแก้ไขปัจจัยที่มีผลลดการตอบสนองต่อการกระตุ้นภูมิคุ้มกันตามที่ได้กล่าวไว้ข้างต้น และควรทําการตรวจวัดระดับภูมิคุ้มกัน anti-HBs ใน 1-2 เดือนต่อมาว่ามีระดับภูมิคุ้มกันอยู่ในระดับที่สามารถป้องกันไวรัสตับอักเสบบี (≥10 mIU/mL) ได้แล้วหรือไม่[2]
ปัจจุบันในประเทศสหรัฐอเมริกาได้มีการอนุมัติวัคซีนไวรัสตับอักเสบชนิดใหม่ HEPLISAV-B® ซึ่งผลิตโดยใช้แอนติเจนที่มีการดัดแปลงพันธุกรรมที่เป็นสัญญลักษณ์ของไวรัสที่สามารถกระตุ้นการตอบสนองต่อระบบภูมิคุ้มกันแต่ไม่ก่อให้เกิดโรคและใช้ CpG 1018 เป็นสารช่วยกระตุ้นภูมิคุ้มกัน มีข้อบ่งใช้สําหรับป้องกันการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบ บี ในผ้ใหญ่ที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป โดยใช้ในขนาดที่น้อยกว่าและในระยะเวลาที่สั้นกว่าวัคซีนในรูปแบบเดิม บริหารโดยการฉีดเข้ากล้ามเนื้อทั้งหมด 2 เข็ม เข็มละ 0.5 มิลลิลิตร [มีปริมาณแอนติเจน ไวรัสตับอักเสบ บี (HBsAg) 40 ไมโครกรัม/มิลลิลิตร] ในเดือนที่ 0 และเดือนที่ 1[5] พบว่าสามารถกระตุ้นระดับภูมิคุ้มกันป้องกันไวรัสตับอักเสบ บี (anti-HBs) ได้สูงกว่าวัคซีนรูปแบบเดิม (Engerix-B®) อย่างมีนัยสําคัญ ทางสถิติ[8] วัคซีน HEPLISAV-B® จึงอาจเป็นอีกหนึ่งทางเลือกในประเทศไทยในอนาคต สําหรับผู้ใหญ่ที่มีความเสี่ยงสูงต่อการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบ บี หรือมีปัจจัยที่มีผลลดการตอบสนองของภูมิคุ้มกันต่อวัคซีนไวรัสตับอักเสบ บี

เอกสารอ้างอิง
[1]. กองโรคป้องกันด้วยวัคซีน กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. ตําราวัคซีนและการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค ปี 2562 [Internet] 2562. [เข้าถึงเมื่อ 13 พฤศจิกายน 2564]. เข้าถึงได้จาก: http://dmsic.moph.go.th/upload/web_download/ddc_vaccines-n- immunesystem2562_20191102_183930.pdf.
[2]. Centers for Disease Control and Prevention. Prevention of Hepatitis B Virus Infection in the United States: Recommendations of the Advisory Committee on Immunization Practices. [เข้าถึงเมื่อ 13 พฤศจิกายน 2564]. เข้าถึงได้จาก:
https://www.cdc.gov/mmwr/volumes/67/rr/pdfs/rr6701-H.pdf.
[3]. Lok AS and Teo EK (2021). Hepatitis B virus immunization in adults. In R. Esteban, & J. Mitty (Eds.), Uptodate. [เข้าถึงเมื่อ 13 พฤศจิกายน 2564]. เข้าถึงได้จาก: https://www.uptodate.com/contents/hepatitis-b-virus-immunization- inadults?search=hepatitis%20b%20vaccine%20booster§ionRank=1&usage_type=default&anch or=H1356154489&source=machine Learning &selectedTitle=1~150&display_rank=1#H1356154489.
[4]. Hibberd PL (2020). Immunizations for health care providers. In Peter F.W., & Keri K.H. (Eds.), Uptodate. [เข้าถึงเมื่อ 13 พฤศจิกายน 2564]. เข้าถึงได้จาก: https://www.uptodate.com/contents/immunizations-for-health-care- providers?search=hepatitis%20b%20vaccine%20booster&source=search_result&selectedTitle=3~1 50&usage_type=default&display_rank=3#H1207608849.
[5]. FDA. HEPLISAV-B [Hepatitis B Vaccine (Recombinant), Adjuvanted] [Internet]. 2017 [เข้าถึงเมื่อ 16 พฤศจิกายน 2564]. เข้าถึงได้จาก: https://www.fda.gov/media/108745/download.
[6]. Pileggi C et al. Hepatitis B vaccine and the need for a booster dose after primary vaccination.
Vaccine. 2017 Nov 1;35(46):6302-6307. doi: 10.1016/j.vaccine.2017.09.076. Epub 2017 Oct 5. PMID:
28988867.
[7]. Dini G et al. Persistence of protective anti-HBs antibody levels and anamnestic response to HBV booster vaccination: A cross-sectional study among healthcare students 20 years following the universal immunization campaign in Italy. Hum Vaccin Immunother. 2017 Feb;13(2):440-444.
doi: 10.1080/21645515.2017.1264788. PMID: 27925503; PMCID: PMC5328216.
[8]. Jackson S et al. HBV-23 Study Group. Immunogenicity of a two-dose investigational hepatitis B vaccine, HBsAg-1018, using a toll-like receptor 9 agonist adjuvant compared with a licensed hepatitis B vaccine in adults. Vaccine. 2018 Jan 29;36(5):668-674. doi: 10.1016/j.vaccine.2017.12.038. Epub 2017 Dec 27. PMID: 29289383.
[9]. Coppeta L et al. Persistence of Immunity for Hepatitis B Virus among Heathcare Workers and Italian Medical Students 20 Years after Vaccination. Int J Environ Res Public Health. 2019 Apr 29;16(9):1515. doi: 10.3390/ijerph16091515. PMID: 31035698; PMCID: PMC6539932.

วันที่ตอบ : 27 ธ.ค. 64 - 11:00:26




พัฒนาระบบโดย ภานุชญา มณีวรรณ ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา 90110