ให้บริการโดยคณาจารย์ เภสัชกรผู้เชี่ยวชาญด้านยาและสุขภาพ


คำชี้แจง "เว็บไซต์นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อการ ศึกษา การแลกเปลี่ยนความรู้ และให้ข้อมูลเรื่องยาในกรณีทั่วไป ไม่ใช่คำแนะนำทางการแพทย์หรือเพื่อการรักษาในกรณีที่จำเพาะเจาะจง และความเห็นสำหรับกรณีเฉพาะหนึ่ง จะไม่สามารถประยุกต์ใช้กับผู้อื่นได้โดยตรง หากมีปัญหาเรื่องโรคโปรดปรึกษาแพทย์ หากมีปัญหาเรื่องยา โปรดปรึกษาเภสัชกร หรือปรึกษาผู้เกี่ยวข้องโดยตรงกับกรณีนั้นด้วยตนเองเท่านั้น"

Search :
ยาเม็ด Ativan 0.5 และ 1 มก ให้ทาง sublingual ได้หรือไม่ เพื่อใช้ sedate คนไข้ป่ว

ยาเม็ด Ativan 0.5 และ 1 มก ให้ทาง sublingual ได้หรือไม่ เพื่อใช้ sedate คนไข้ป่วยหนักที่ไม่สามารถกลืนยาได้

[รหัสคำถาม : 123] วันที่รับคำถาม : 30 ส.ค. 63 - 16:01:53 ถามโดย : บุคลากร วิทยาศาสตร์สุขภาพ

เข้าระบบเพื่อตอบคำถาม

No : 1

Ativan® มีชื่อสามัญทางยาว่า lorazepam มีข้อบ่งใช้สำหรับควบคุมอาการวิตกกังวล ภาวะนอนไม่หลับจากโรควิตกกังวลหรือเครียด และใช้เป็นยาที่ให้ก่อนการระงับความรู้สึกในห้องผ่าตัด (Premedication)[1] ซึ่งผลิตโดยบริษัทยา Pfizer ผลิตในรูปแบบยาเม็ดด้วยกัน 2 รูปแบบ คือ Ativan® tablet ขนาด 0.5 mg, 1 mg, 2 mg และ Ativan® Sublingual tablet 0.5 mg, 1 mg, 2 mg[2] ซึ่งในประเทศไทย Ativan® tablet ขนาด 0.5 mg, 1 mg, 2 mg เคยขึ้นทะเบียนยาเป็นวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทประเภท 4 แต่ปัจจุบันไม่ได้ขึ้นทะเบียนแล้ว นอกจากนี้ในประเทศไทยไม่มีการขึ้นทะเบียนยา lorazepam ในรูปแบบอมใต้ลิ้น มีแต่เฉพาะรูปแบบรับประทานภายใต้ชื่อการค้าต่าง ๆ อาทิเช่น Tranavan®, Lora®, Lonza®, Anta® เป็นต้น[3,4]

จากการศึกษาเภสัชจลนศาสตร์ในการบริหาร พบว่าการนำยาเม็ด lorazepam ขนาด 2 mg ในรูปแบบยารับประทานมาบริหารยาในวางรูปแบบอมใต้ลิ้น (วางยาใต้ลิ้น) มีการดูดซึมยาช้ากว่าการบริหารโดยการกลืนยา หรือการใช้รูปแบบ sublingual tablet บริหารยาโดยอมใต้ลิ้น แต่ความแตกต่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ (p = 0.061) การนำยาเม็ด lorazepam ขนาด 2 mg ในรูปแบบยารับประทานมาบริหารยาในวางรูปแบบอมใต้ลิ้น มีค่าชีวปริมาณออกฤทธิ์น้อยกว่าการบริหารยาทางฉีดเข้ากล้ามเนื้อ การรับประทานโดยการกลืน หรือการใช้รูปแบบ sublingual tablet บริหารโดยอมใต้ลิ้น แต่ความแตกต่างกันไม่มีนัยสำคัญทางสถิติเช่นกัน (p = 0.648)[5]

ดังนั้นในผู้ป่วยหนักที่ต้องการให้สงบด้วยยา lorazepam แต่ไม่สามารถกลืนยาในรูปแบบยาเม็ดได้ คาดว่าน่าจะใช้รูปแบบยาเม็ดมาบริหารยาด้วยการอมใต้ลิ้นได้ นอกจากนี้อาจมีทางเลือก โดยการบดยาแล้วให้ทางสาย enteral feeding ได้ รวมถึงการให้ทาง intrajejunal หรือการให้ยาในรูปแบบฉีดเข้าหลอดเลือดดำ[6]

สรุป lorazepam เป็นในรูปแบบยาเม็ดรับประทานมีทั้งขนาด 0.5 mg, 1 mg และ 2 mg[3,4] ซึ่งหากผู้ป่วยไม่สามารถกลืนยาได้ สามารถบริหารยาโดยการอมใต้ลิ้นเป็นเวลา 15 นาที[5]

เอกสารอ้างอิง
1. Lorazepam. In: In Depth Answers [database on the Internet]. Greenwood Village (CO): Truven Health Analytics; 2020 [cited 2020 July 31]. Available from: www.micromedexsolutions.com.
2. Pfizer Canada ULC. Ativan® (lorazepam) Product Monograph [Internet]. 2019. Accessed: July 28, 2020. Available at: https://www.pfizer.ca/sites/default/files/
201902/ATIVAN_PM_E_221513_31Jan2019.pdf
3. กองควบคุมวัตถุเสพติด สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข. คู่มือรูปแบบเภสัชภัณฑ์วัตถุออกฤทธิ์และยาเสพติดให้โทษ ประเทศไทย [อินเตอร์เน็ต]. 2556. เข้าถึงเมื่อ 28 กรกฎาคม 2563. เข้าถึงได้จาก http://www.fda.moph.go.th/sites/Narcotics/en/ Shared%20Documents/PN_2013.pdf
4. MIMS Thailand. (2020). Lorazepm. In MIMS Online. https://www.mims.com/thailand
5. D J Greenblatt, M Divoll, J S Harmatz, R I Shader. Pharmacokinetic comparison of sublingual lorazepam with intravenous, intramuscular, and oral lorazepam. J Pharm Sci. 1982;71(2):248-52.
6. White Rebecca, and Vicky Bradnam. Handbook of Drug Administration Via Enteral Feeding Tubes. 3rd ed. London: Pharmaceutical Press, 2015.

วันที่ตอบ : 30 ส.ค. 63 - 16:38:31




พัฒนาระบบโดย ภานุชญา มณีวรรณ ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา 90110