ให้บริการโดยคณาจารย์ เภสัชกรผู้เชี่ยวชาญด้านยาและสุขภาพ


คำชี้แจง "เว็บไซต์นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อการ ศึกษา การแลกเปลี่ยนความรู้ และให้ข้อมูลเรื่องยาในกรณีทั่วไป ไม่ใช่คำแนะนำทางการแพทย์หรือเพื่อการรักษาในกรณีที่จำเพาะเจาะจง และความเห็นสำหรับกรณีเฉพาะหนึ่ง จะไม่สามารถประยุกต์ใช้กับผู้อื่นได้โดยตรง หากมีปัญหาเรื่องโรคโปรดปรึกษาแพทย์ หากมีปัญหาเรื่องยา โปรดปรึกษาเภสัชกร หรือปรึกษาผู้เกี่ยวข้องโดยตรงกับกรณีนั้นด้วยตนเองเท่านั้น"

Search :
ผู้ป่วยหญิง major depression anxiety อายุ 58 ปี ได้ยา 1. Fluoxetine 20 mg 1x1 เย

ผู้ป่วยหญิง major depression anxiety อายุ 58 ปี ได้ยา 1. Fluoxetine 20 mg 1x1 เย็น 2. Dipot Clorazepate 5 mg 1x1 เย็น 3. Trazodone 50 mg 1/2 x 1 hs 4. Propranolol 10 mg 1x1 เย็น 5. Clonazepam 0.5 mg 1x1 เย็น 6. Haloperidol 0.5 mg 1x1 เย็น ได้มานาน 1 ปี มีปัญหา นน เพิ่มขึ้น จาก นน ปกติ 53 เป็น 65 กก อยากทราบว่าเป็นปัญหาจากยาใด

[รหัสคำถาม : 126] วันที่รับคำถาม : 30 ส.ค. 63 - 16:44:46 ถามโดย : บุคลากร วิทยาศาสตร์สุขภาพ

เข้าระบบเพื่อตอบคำถาม

No : 1

ภาวะน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น (Weight gain) เป็นภาวะที่เกิดขึ้นได้จากปัจจัยพันธุกรรมและสิ่งแวดล้อม เช่น พฤติกรรมการกินของผู้ป่วย ปริมาณการเคลื่อนไหวของร่างกาย และบางครั้งก็เป็นผลไม่พึงประสงค์ที่เกิดขึ้นจากการใช้ยา คณะกรรมการอาหารและยาของประเทศสหรัฐอเมริกากำหนดภาวะน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นจากยาต้องมีการเปลี่ยนแปลงของน้ำหนักตัวมากกว่าหรือเท่ากับร้อยละ 7 จากค่าน้ำหนักเริ่มต้น[1]

ยาที่ใช้สำหรับรักษาโรคทางจิตเวช เช่น ยารักษาโรคจิต ยาแก้ซึมเศร้า และยาควบคุมอารมณ์ มีผลให้ผู้ป่วยจิตเวชมีน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น เกิดโรคอ้วนและโรคทางเมแทบอลิก (metabolic syndrome) ตามมาได้ นอกจากนี้อาจจะทําให้เพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด จนนําไปสู่การเพิ่มอัตราการเสียชีวิตได้[1] จากการสืบค้นข้อมูล พบว่า ยาที่ใช้อยู่ที่มีโอกาสส่งผลเพิ่มน้ำหนักตัว ได้แก่ fluoxetine, trazodone, clonazepam, haloperidol [2-5] แต่มีการศึกษาที่สนับสนุนค่อนข้างน้อย มีการศึกษาแบบ comprehensive narrative review พบว่า haloperidol ซึ่งเป็นยารักษาโรคจิตเวชกลุ่มเก่า (typical antipsychotics) มีผลต่อน้ำหนักที่เพิ่มขึ้นหลังจากใช้ยารักษาโรคจิตเวชชนิดต่าง ๆ เป็นเวลา 10 สัปดาห์[6] อีกการศึกษาแบบ comprehensive review และ meta-analysis พบว่า ยา fluoxetine ในช่วงเริ่มต้น (4-12 สัปดาห์) มีผลทำให้น้ำหนักตัวลดลงอย่างมีนัยสำคัญและเมื่อช่วงการรักษานานขึ้นเป็น มากกว่า 4 เดือน พบว่าน้ำหนักตัวไม่มีความเปลี่ยนแปลง ยา trazodone ไม่มีผลต่อน้ำหนักตัวที่ในช่วงเริ่มต้นการรักษา[7]

จากข้อมูลผู้ป่วย ผู้ป่วยเดิมน้ำหนัก 53 กิโลกรัม เพิ่มขึ้นเป็น 65 กิโลกรัม เมื่อเทียบจากน้ำหนักเริ่มต้น เพิ่มขึ้นมาประมาณร้อยละ 23 จึงจะถือว่าผู้ป่วยอาจเกิดภาวะน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นจากผลไม่พึงประสงค์จากยาได้ ยาที่มีโอกาสส่งผลเพิ่มน้ำหนักตัว ได้แก่ fluoxetine, trazodone, clonazepam, haloperidol แต่ยาที่เป็นไปได้มากที่สุด คือ haloperidol ผู้ป่วยควรปรึกษาแพทย์เพื่อลองปรับเปลี่ยนยา

เอกสารอ้างอิง
1. Nihalani N, Schwartz TL, Siddiqui UA, et al. Weight Gain, Obesity, and Psychotropic Prescribing. J Obes. J Obes. 2011; 2011:893629.
2. Fluoxetine. In: Lexi-drugs online [database on the Internet]. Hudson (OH): Lexicomp, Inc.; 2020 [updated 23 July 2020; cited 23 July 2020]. Available from: http://online.lexi.com. Subscription required to view.
3. Trazodone. In: Lexi-drugs online [database on the Internet]. Hudson (OH): Lexicomp, Inc.; 2020 [updated 21 July 2020; cited 23 July 2020]. Available from: http://online.lexi.com. Subscription required to view.
4. Clonazepam. In: Lexi-drugs online [database on the Internet]. Hudson (OH): Lexicomp, Inc.; 2020 [updated 21 July 2020; cited 23 July 2020]. Available from: http://online.lexi.com. Subscription required to view.
5. Haloperidol. In: Lexi-drugs online [database on the Internet]. Hudson (OH): Lexicomp, Inc.; 2020 [updated 23 July 2020; cited 23 July 2020]. Available from: http://online.lexi.com. Subscription required to view.
6. Allison DB, Mentore JL, Heo M, Chandler LP, Cappelleri JC, Infante MC, et al. Antipsychotic-induced weight gain: a comprehensive research synthesis. Am J Psychiatry 1999; 156:1686-96.
7. Serretti A, Mandelli L. Antidepressants and body weight: a comprehensive review and meta-analysis. J Clin Psychiatry 2010; 71:1259-72.

วันที่ตอบ : 31 ส.ค. 63 - 10:25:10




พัฒนาระบบโดย ภานุชญา มณีวรรณ ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา 90110