ให้บริการโดยคณาจารย์ เภสัชกรผู้เชี่ยวชาญด้านยาและสุขภาพ


คำชี้แจง "เว็บไซต์นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อการ ศึกษา การแลกเปลี่ยนความรู้ และให้ข้อมูลเรื่องยาในกรณีทั่วไป ไม่ใช่คำแนะนำทางการแพทย์หรือเพื่อการรักษาในกรณีที่จำเพาะเจาะจง และความเห็นสำหรับกรณีเฉพาะหนึ่ง จะไม่สามารถประยุกต์ใช้กับผู้อื่นได้โดยตรง หากมีปัญหาเรื่องโรคโปรดปรึกษาแพทย์ หากมีปัญหาเรื่องยา โปรดปรึกษาเภสัชกร หรือปรึกษาผู้เกี่ยวข้องโดยตรงกับกรณีนั้นด้วยตนเองเท่านั้น"

Search :
ยา proctase-P กับริดสีดวงทวาร

ยา proctase-P กับริดสีดวงทวาร

[รหัสคำถาม : 134] วันที่รับคำถาม : 05 พ.ย. 63 - 20:34:06 ถามโดย : นักศึกษา วิทยาศาสตร์สุขภาพ

เข้าระบบเพื่อตอบคำถาม

No : 1

Proctase-P คือ เอนไซม์ต้านการอักเสบซึ่งประกอบด้วยเอนไซม์ proctase และเอนไซม์ proteolytic มีลักษณะเป็นผงสีขาวหรือน้ำตาลเหลืองเล็กน้อย ใช้บรรเทาอาการบวมหลังการผ่าตัด การบาดเจ็บ ไซนัสอักเสบ [1] ซึ่งไม่มีข้อบ่งใช้สำหรับการรักษาริดสีดวงทวาร
กรณีที่ผู้ป่วยเป็นริดสีดวงทวารแบบเวลาถ่ายจะมีเนื้อยื่นออกมา แต่หดกลับเข้าไปได้ จัดเป็นริดสีดวงทวารภายใน ระดับ 2 ซึ่งแนวทางการรักษาที่เหมาะสม คือ การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและการใช้ยา โดยปรับแนวทางการกินอาหาร เพิ่มการดื่มน้ำและเพิ่มปริมาณกากใยของอาหาร การใช้ยาในกลุ่มสาร flavonoids [3],[4] ซึ่งกลไกการออกฤทธิ์ของยายังไม่ทราบแน่ชัด แต่เชื่อว่าสามารถเพิ่ม venous tone เพิ่ม lymphatic drainage และ stabilize capillary permeability ได้ โดยตัวยาคือ Micronized purified flavonoid fraction (MPFF) เป็นยารับประทานประกอบด้วย 90% micronized diosmin กับ 10% hesperidin ในชื่อการค้า ได้แก่ Daflon®, Meeflon® , Dafomin® เป็นต้น
จากการศึกษาประสิทธิภาพของ MPFF ในการรักษาอาการเลือดออกจากริดสีดวงทวารชนิดเฉียบพลัน พบว่า กลุ่มที่ได้รับ MPFF ภาวะเลือดออกเฉียบพลันหยุดในวันที่สาม คิดเป็นร้อยละ 80 กลุ่มที่ได้รับยาหลอก มีเลือดออกเฉียบพลันหยุดในวันที่สาม คิดเป็นร้อยละ 38 มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ระยะเวลาเฉลี่ยของการมีเลือดออกเฉียบพลันตั้งแต่เริ่มมีอาการจนถึงไม่มีเลือดออกน้อยกว่าในผู้ป่วยที่ได้รับยาหลอกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ[5]
ดังนั้นในการรักษาริดสีดวงทวารโผล่พ้นขอบทวารหนักเวลาเบ่ง แต่สามารถกลับเข้าไปได้เอง แนวทางการรักษาคือ ปรับแนวทางการกินอาหาร เพิ่มการดื่มน้ำและเพิ่มปริมาณกากใยของอาหาร อาจใช้ยากลุ่ม flavonoids เพื่อช่วยลดอาการเลือดออก โดยไม่ใช้ร่วมกับยา Proctase-P เนื่องจากไม่มีข้อบ่งใช้ในการรักษา

เอกสารอ้างอิง
[1] Proctase-P®. In: MIMS Online [database on the Internet]. MIMS Thailand; 2020 [cited July 7, 2020]. Available from: https://www.mims.com/thailand/drug/info/proctase-p?type=full

[2] Dafomin®. In: Geriatric Lexi-Drugs [database on the Internet]. Hudson (OH): Lexi-Comp, Inc.; 2020 [cited July 7, 2020]. Available from: https://online.lexi.com/lco/action/doc/retrieve/docid/multinat_f/5241002?cesid=8QgupY3uPbM&searchUrl=%2Flco%2Faction%2Fsearch%3Fq%3Ddafomin%26t%3Dname%26va%3Ddafomin#rfs-mn

[3] นพพล เฟื่องวรรธนะ และ วรวิทย์ วาณิชย์สุวรรณ. (2561). Hemorrhoid.ภาควิชาศัลยศาสตร์มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

[4] Davis BR, Lee-Kong SA, Migaly J, Feingold DL, Steele SR. The American Society of Colon and Rectal Surgeons Clinical Practice Guidelines for the Management of Hemorrhoids. Dis Colon Rectum. 2018;61(3):284-292.

[5] Misra MC, Parshad R. Randomized clinical trial of micronized flavonoids in the early control of bleeding from acute internal haemorrhoids. Br J Surg. 2000;87(7):868-872.


วันที่ตอบ : 06 พ.ย. 63 - 19:58:10




พัฒนาระบบโดย ภานุชญา มณีวรรณ ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา 90110