ให้บริการโดยคณาจารย์ เภสัชกรผู้เชี่ยวชาญด้านยาและสุขภาพ


คำชี้แจง "เว็บไซต์นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อการ ศึกษา การแลกเปลี่ยนความรู้ และให้ข้อมูลเรื่องยาในกรณีทั่วไป ไม่ใช่คำแนะนำทางการแพทย์หรือเพื่อการรักษาในกรณีที่จำเพาะเจาะจง และความเห็นสำหรับกรณีเฉพาะหนึ่ง จะไม่สามารถประยุกต์ใช้กับผู้อื่นได้โดยตรง หากมีปัญหาเรื่องโรคโปรดปรึกษาแพทย์ หากมีปัญหาเรื่องยา โปรดปรึกษาเภสัชกร หรือปรึกษาผู้เกี่ยวข้องโดยตรงกับกรณีนั้นด้วยตนเองเท่านั้น"

Search :
ผลข้างเคียงและประสิทธิภาพยา neurontin (gabapentin)

ผลข้างเคียงและประสิทธิภาพยา neurontin (gabapentin)

[รหัสคำถาม : 135] วันที่รับคำถาม : 05 พ.ย. 63 - 20:41:36 ถามโดย : นักศึกษา วิทยาศาสตร์สุขภาพ

เข้าระบบเพื่อตอบคำถาม

No : 1

ยา neurontin® (gabapentin) มีข้อบ่งใช้สำหรับอาการปวดประสาทหลังจากเป็นงูสวัด (Postherpetic neuralgia)
และ โรคลมชักเฉพาะที่ (Partial seizures/Focal seizures) ผลข้างเคียงจากการใช้ยา[1],[2] ได้แก่ ง่วงนอน ง่วงซึม เวียนศีรษะ เดินโซเซ (ความเสี่ยงในการเกิดมากกว่าร้อยละ 10) บวมน้ำบริเวณปลายมือปลายเท้า หูชั้นกลางอักเสบ[3] ทำให้มีหนองไหลออกมา สูญเสียการได้ยิน หูอื้อหรือหูตึง เวียนศีรษะ ปวดศีรษะ (ความเสี่ยงในการเกิดร้อยละ 1-10) เป็นต้น ซึ่งจะแตกต่างจากการแพ้ยา ที่อาจมีความแตกต่างกัน เช่น การเกิดผื่นผิวหนัง ผื่นธรรมดา ลมพิษ angioedema และ anaphylaxis เป็นต้น หากผู้ป่วยใช้ยาแล้วเกิดผลข้างเคียง ไม่จำเป็นต้องหยุดยาแต่ถ้ามีอาการรุนแรงให้ไปพบแพทย์ทันที กรณีแพ้ยาต้องหยุดยาแล้วรีบไปพบแพทย์
กรณีที่ผู้ป่วยมีอาการ ปวดสะโพก มานาน 3 ปีกว่า ซึ่งสังเกตว่าอุณหภูมิของขาทั้ง 2 ข้างไม่เท่ากัน ซึ่งข้างที่ปวดจะมีอุณหภูมิต่ำกว่า ปัจจุบันรับประทานยา neurontin 300 mg ในเวลาที่ปวดกล้ามเนื้อมากๆ โดยเฉลี่ย 1 เม็ด/เดือน และรับประทานยาชนิดดังกล่าวมาแล้วเป็นระยะเวลา 5 เดือน ผลปรากฏว่า การรับประทานยาในช่วงหลัง ยาไม่มีปฏิกิริยาตอบสนอง ไม่ระงับอาการปวด ไม่มีอาการง่วงซึม สาเหตุเกิดจากยา Neurontin (gabapentin) ไม่มีข้อบ่งใช้สำหรับการรักษาอาการปวดสะโพก และกลไกการออกฤทธิ์ของยา gabapentin มีโครงสร้างคล้ายกันกับสารสื่อประสาท ที่ชื่อว่า “GABA” ยาจะจับกับตัวรับอย่างแน่นหนาในบริเวณสมอง ควบคุมการหลั่งออกของสารสื่อประสาทที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับกระบวนการเกิดการชักและการเกิดความเจ็บปวด[1] ซึ่งไม่สอดคล้องกับกลไกการเกิดโรค ทำให้ผู้ป่วยใช้ยาแล้วไม่เกิดประสิทธิผล

เอกสารอ้างอิง
[1] gabapentin. In: Geriatric Lexi-Drugs [database on the Internet]. Hudson (OH): Lexi-Comp, Inc.; 2020 [cited July 9, 2020]. Available from: https://online.lexi.com/lco/action/doc/retrieve/docid/multinat_f/4669533?cesid=4GJUJMNQO7p&searchUrl=%2Flco%2Faction%2Fsearch%3Fq%3Dgabapentin%26t%3Dname%26va%3Dgabapentin#doa

[2] Wiffen PJ, Derry S, Bell RF, et al. Gabapentin for chronic neuropathic pain in adults. Cochrane Database Syst Rev. 2017;6(6):CD007938. Published 2017 Jun 9.

[3] Rubin MA, Ford LC, Gonzales R. Sore Throat, Earache, and Upper Respiratory Symptoms. In: Jameson J, Fauci AS, Kasper DL, Hauser SL, Longo DL, Loscalzo J. eds. Harrison's Principles of Internal Medicine, 20e. McGraw-Hill; Accessed July 09, 2020.
https://accessmedicine.mhmedical.com/content.aspx?bookid=2129§ionid=192012234

วันที่ตอบ : 06 พ.ย. 63 - 19:59:58




พัฒนาระบบโดย ภานุชญา มณีวรรณ ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา 90110