ให้บริการโดยคณาจารย์ เภสัชกรผู้เชี่ยวชาญด้านยาและสุขภาพ


คำชี้แจง "เว็บไซต์นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อการ ศึกษา การแลกเปลี่ยนความรู้ และให้ข้อมูลเรื่องยาในกรณีทั่วไป ไม่ใช่คำแนะนำทางการแพทย์หรือเพื่อการรักษาในกรณีที่จำเพาะเจาะจง และความเห็นสำหรับกรณีเฉพาะหนึ่ง จะไม่สามารถประยุกต์ใช้กับผู้อื่นได้โดยตรง หากมีปัญหาเรื่องโรคโปรดปรึกษาแพทย์ หากมีปัญหาเรื่องยา โปรดปรึกษาเภสัชกร หรือปรึกษาผู้เกี่ยวข้องโดยตรงกับกรณีนั้นด้วยตนเองเท่านั้น"

Search :
Maximum doseของ esmolol (IV infusion) ต่อวัน เป็นเท่าไหร่คะ ในผู้ป่วย hypertensi

Maximum doseของ esmolol (IV infusion) ต่อวัน เป็นเท่าไหร่คะ ในผู้ป่วย hypertensive emergency

[รหัสคำถาม : 145] วันที่รับคำถาม : 18 พ.ย. 63 - 16:00:49 ถามโดย : บุคลากร วิทยาศาสตร์สุขภาพ

เข้าระบบเพื่อตอบคำถาม

No : 1

Hypertensive Emergencies หมายถึง ภาวะที่ความดันโลหิตเพิ่มสูงขึ้น (systolic pressure ≥180 mmHg และ/หรือ diastolic pressure ≥120 mmHg) และมีความผิดของอวัยวะต่าง ๆ (Hypertension-Mediated Organ Damage: HMOD) เช่น จอประสาทตา สมอง หัวใจ หลอดเลือดแดง และไต อาการแสดงของ Hypertensive Emergencies ได้แก่ Malignant hypertension, Hypertensive encephalopathy, Hypertensive thrombotic microangiopathy, และอาการอื่น ๆ เช่น ความดันโลหิตสูงรุนแรงที่มีเลือดออกในสมอง (cerebral hemorrhage), โรคหลอดเลือดสมองเฉียบพลัน (acute stroke), ภาวะหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน ( acute coronary syndrome), น้ำคั่งในปอด (cardiogenic pulmonary edema), โรคหลอดเลือดแดงใหญ่โป่งพอง (aortic aneurysm/dissection), ภาวะครรภ์เป็นพิษ (Preeclampsia) และความดันโลหิตสูงร่วมกับมีอาการชักในหญิงตั้งครรภ์ (Eclampsia)[1] โดยการจัดการภาวะ Hypertensive Emergencies ควรได้รับการวินิจฉัยอย่างรวดเร็วและควรลดความดันโลหิตลงจนถึงระดับที่ปลอดภัย เพื่อป้องกันอวัยวะล้มเหลวและภาวะแทรกซ้อน[1]
Esmolol เป็นยาในกลุ่ม Beta-Blockers ที่มีความจำเพาะต่อตัวรับ Beta-1 และมีผลต่อ beta-2 น้อยยกเว้นการใช้ในขนาดยาสูง มีข้อบ่งใช้คือ 1) ใช้รักษาภาวะหัวใจเต้นเร็วผิดปกติ (supraventricular tachycardia, non-compensatory sinus tachycardia) 2) ใช้ควบคุมอัตราการเต้นของหัวใจและความดันเลือดในระหว่างการผ่าตัด (perioperative tachycardia and hypertension) [2] ส่วนการใช้เพื่อรักษาภาวะ Hypertensive emergencies จัดเป็นการใช้ยานอกข้อบ่งใช้ (off-label use) [3]
ขนาดยา Esmolol ที่แนะนำในแต่ละข้อบ่งใช้เป็นดังนี้[4]
1) กรณี Supraventricular tachycardia (SVT) หรือ noncompensatory sinus tachycardia
• ให้ loading dose 500 mcg/kg IV bolus ใน 1 นาที ตามด้วย IV infusion 50 mcg/kg/min เป็นเวลา 4 นาที ถ้าผลการรักษาไม่ได้ตามเป้าหมาย อาจเพิ่มอัตราเร็วการให้ยาครั้งละ 50 mg/kg/min โดยขนาดยาสูงสุดคือ 200 mcg/kg/minute
• หากต้องการผลการรักษาอย่างรวดเร็ว (for rapid efficacy) หลังจากให้ยา loading dose ครั้งแรกและตามด้วย IV infusion 50 mcg/kg/min แล้ว อาจให้ loading dose ครั้งที่สอง (500 mcg/ kg IV bolus ใน 1 นาที) ตามด้วยการเพิ่มอัตราเร็วในการให้ยา (infusion) เป็น 100 mcg/kg/min เป็นเวลา4 นาที
2) กรณี Perioperative tachycardia และ hypertension
กรณีควบคุมความดันโลหิตอย่างรวดเร็ว (Immediate Control)
• ให้ loading dose 1 mg/kg IV bolus ใน 30 วินาที หลังจากนั้นตามด้วย IV infusion 150 mcg/kg/min
กรณีค่อย ๆ ควบคุมความดันโลหิต (Gradual Control)
• ให้ loading dose 500 mcg/kg IV bolus ใน 1 นาที หลังจากนั้นตามด้วยตามด้วย maintenance IV infusion 50 mcg/kg/min เป็นเวลา 4 นาที
ขนาดยาสูงสุดที่แนะนำ
กรณีรักษาภาวะ tachycardia ขนาดยาที่ใช้สำหรับ maintenance infusion ไม่แนะนำให้ใช้ขนาดยามากกว่า 200 mcg/kg/min เนื่องจากขนาดยามากกว่า 200 mcg/kg/min ให้ผลเพิ่มขึ้นเพียงเล็กน้อย แต่เพิ่มการเกิดเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์จากยา
สำหรับการรักษา hypertension ขนาดยา infusion สูงสุดไม่เกิน 300 mcg/kg/min เนื่องจากยังไม่มีการศึกษาถึงความปลอดภัยเมื่อใช้ขนาดยามากกว่า 300 mcg/kg/min
3) สำหรับภาวะ hypertensive emergency
ให้ Loading dose 500–1,000 mcg/kg/min IV bolus ใน 1 นาที ตามด้วย IV infusion อัตราเร็ว 50 mcg/kg/min ถ้าผลการรักษาไม่ได้ตามเป้าหมาย สามารถให้ Loading dose ซ้ำ และเพิ่มอัตราเร็วการให้ยาครั้งละ 50 mcg/kg/min ขนาดยาสูงสุดไม่เกิน 200 mcg/kg/min
เป้าหมายการควบคุมความดันโลหิตสำหรับผู้ป่วย Hypertensive emergency ที่มีภาวะต่าง ๆ เช่น aortic dissection, severe preeclampsia/eclampsia, และ pheochromocytoma crisis ในช่วง 1 ชั่วโมงแรก ควรลดความดันโลหิตให้ค่า SBP<140 mmHg และ SBP<120 mmHg ใน aortic dissection ส่วนผู้ป่วยที่ไม่มีภาวะดังกล่าว SBP ควรลดลงไม่เกิน 25% ในชั่วโมงแรก หลังจากนั้นถ้าอาการคงที่ ลดความดันโลหิตลงให้เหลือ 160/100 mmHg ใน 2-6 ชั่วโมงถัดมา และปรับให้ความดันโลหิตกลับสู่ปกติอย่าระมัดระวังใน 24-48 ชั่วโมงต่อมา[5]
จาก 2017 AHA/ACC Hypertension guidelines ได้แนะนำการใช้ยา esmolol รักษา Hypertensive emergency ใน 2 ภาวะ ได้แก่ 1) Acute aortic dissection (ยาที่แนะนำคือ Esmolol, labetalol และแนะนำให้ลด SBP≤120 mmHg ใน 20 นาที) และ 2) Acute coronary syndrome (ยาที่แนะนำคือ Esmolol, labetalol, nicardipine, nitroglycerin) และมีข้อห้ามใช้ยากลุ่ม beta-blocker (contraindications) ในผู้ป่วยที่มี moderate to severe LV failure with pulmonary edema, หัวใจเต้นช้า (Bradycardia; <60 bpm), ความดันโลหิตต่ำ (Hypotension; SBP <100 mm Hg), มีภาวะ poor peripheral perfusion, second- or third-degree heart block, และ reactive airways disease [5]
จากรายงานการศึกษาทางคลินิกซึ่งเป็น case series ของการใช้ esmolol ในผู้ป่วยที่มีความดันโลหิตสูงรุนแรงหลังจากผ่าตัดหลอดเลือดแดงใหญ่ ผู้ป่วยจำนวน 3 ราย อายุ 18 เดือน, 3.25 ปี และ 15 ปี ได้รับยาขนาด 750-2,000 mcg/kg IV bolus ตามด้วย 100-300 mcg/kg/min IV infusion พบว่า สามารถควบคุมระดับความดันได้โดยไม่มีรายงานการเกิด wheezing อย่างไรก็ตาม การใช้ selective beta1 antagonist ในขนาดสูงอาจทำให้หลอดลมหดตัวได้ [6]
โดยสรุป ขนาดยา esmolol ที่แนะนำจาก 2017 AHA/ACC Hypertension guidelines ในการรักษา Hypertensive emergency คือ Loading dose 500–1000 mcg/kg/min ใน 1 นาที และตามด้วย 50 mcg/kg/min infusion สามารถให้ Loading dose ซ้ำ และเพิ่มอัตราเร็วครั้งละ 50 mcg/kg/min ขนาดยาสูงสุดไม่เกิน 200 mcg/kg/min[6] เพื่อควบคุมให้ระดับความดันโลหิตลงจนถึงระดับที่ปลอดภัยและป้องกันอวัยวะล้มเหลวจากความดันโลหิตสูง ควรติดตามการเกิดภาวะความดันโลหิตต่ำและภาวะหัวใจเต้นช้า[1,7] ควรติดตามภาวะหัวใจเต้นช้า (bradycardia) จากยา การใช้ยาในขนาดสูงอาจยับยั้ง beta2 receptors และมีผลต่อการทำงานของทางเดินหายใจได้[6]

เอกสารอ้างอิง
[1]. Thomas U, Claudio B, Fadi C, et al. 2020 International Society of Hypertension Global Hypertension Practice Guidelines. Hypertension, 75(6), 15-16.
[2]. FDA. ESMOLOL HYDROCHLORIDE IN WATER FOR INJECTION, for intravenous use [Internet]. [cited 2021 June 29]. Available from: https://www.accessdata.fda.gov/drugsatfda_docs/label/2016/205703s000lbl.pdf.
[3]. Esmolol. In: Specific Lexicomp Online Database [database on the Internet]. Hudson (OH): Lexicomp Inc. [updated 25 Jun. 2021; cited 29 Jun. 2021]. Available from: http://online.lexi.com.
[4]. Pevtsov A, Kerndt CC, Fredlund KL. Esmolol. [Updated 2021 May 4]. In: StatPearls [Internet]. Treasure Island (FL): StatPearls Publishing; 2021 Jan-. Available from: https://www.ncbi.nlm.nih.gov/books/NBK518965/.
[5]. Whelton P, Carey R, Aronow W. et al. 2017 ACC/AHA/AAPA/ABC/ACPM/AGS/ APhA/ASH/ASPC/NMA/PCNA Guideline for the Prevention, Detection, Evaluation, and Management of High Blood Pressure in Adults: Executive Summary: A Report of the American College of Cardiology/American Heart Association Task Force on Clinical Practice Guidelines. Hypertension, 71(6), 1269–1324.
[6]. SMERLING A, & GERSONY W. Esmolol for severe hypertension following repair of aortic coarctation. Critical Care Medicine, 18(11), 1288–1289.
[7]. Gibson BE, Black S, Maass L, et al. Esmolol for the control of hypertension after neurologic surgery. Clin Pharmacol Ther. 1988 Dec;44(6):650-3.
วันที่ตอบ : 31 ส.ค. 64 - 08:39:49




พัฒนาระบบโดย ภานุชญา มณีวรรณ ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา 90110