ให้บริการโดยคณาจารย์ เภสัชกรผู้เชี่ยวชาญด้านยาและสุขภาพ


คำชี้แจง "เว็บไซต์นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อการ ศึกษา การแลกเปลี่ยนความรู้ และให้ข้อมูลเรื่องยาในกรณีทั่วไป ไม่ใช่คำแนะนำทางการแพทย์หรือเพื่อการรักษาในกรณีที่จำเพาะเจาะจง และความเห็นสำหรับกรณีเฉพาะหนึ่ง จะไม่สามารถประยุกต์ใช้กับผู้อื่นได้โดยตรง หากมีปัญหาเรื่องโรคโปรดปรึกษาแพทย์ หากมีปัญหาเรื่องยา โปรดปรึกษาเภสัชกร หรือปรึกษาผู้เกี่ยวข้องโดยตรงกับกรณีนั้นด้วยตนเองเท่านั้น"

Search :
หมอสั่งจ่าย fenofibrate ก่อนนอน ร่วมกับ simvas ถือเป็น DRPs หรือไม่ อุบัติการณ์ก

หมอสั่งจ่าย fenofibrate ก่อนนอน ร่วมกับ simvas ถือเป็น DRPs หรือไม่ อุบัติการณ์การเกิด myopathy และ rhabdo จากการใช้ยา 2 กลุ่มร่วมกันบ่อยแค่ไหน และทราบมาว่า fenofibrate แนะนำให้ทานก่อนอาหารเช้าจะมีประสิทธิภาพลด TG ได้ดี ใช่หรือไม่ พยายามหาข้อมูลแล้วแต่หาไม่เจอ รบกวนช่วยตอบคำถามด้วยนะครับ เพราะที่โรงบาลจ่ายยาสองตัวนี้ร่วมกันบ่อยมาก consult แล้วแต่ไม่มีการเปลี่ยนแปลงจึงต้องการ paper ยืนยัน รบกวนด่วนด้วยนะครับ ขอบพระคุณล่วงหน้าครับ

[รหัสคำถาม : 146] วันที่รับคำถาม : 28 พ.ย. 63 - 14:56:03 ถามโดย : บุคลากร วิทยาศาสตร์สุขภาพ

เข้าระบบเพื่อตอบคำถาม

No : 1

ยา fenofibrate เป็นยาในกลุ่ม fibrates มีข้อบ่งใช้สำหรับรักษาภาวะ hypercholes-terolemia (primary hypercholesterolemia หรือ mixed dyslipidemia) และ hypertrigly-ceridemia[1] ขนาดยาโดยทั่วไปคือ 200 mg วันละครั้ง อาการไม่พีงประสงค์ที่พบได้ เช่น ระดับเอนไซม์ transaminases ในเลือดเพิ่มขึ้น ปวดกล้ามเนื้อ ปวดข้อ และปวดท้อง ยานี้มีข้อห้ามใช้ในผู้ป่วยที่มี eGFR < 60 ml/min/1.73 m2 หญิงให้นมบุตร และผู้ป่วยที่เป็นนิ่วในถุงน้ำดี[2] รูปแบบที่มีจำหน่ายในประเทศไทยมีทั้งรูปแบบ fenofibrate unmicronized tablet หรือ capsule, fenofibrate micronized tablet หรือ capsule, fenofibrate nanoparticle tablet และ fenofibric acid capsule[3]

การศึกษาเกี่ยวกับการดูดซึมของยาในสภาวะ fed condition และ fasting condition พบว่า ที่สภาวะ fasting conditions ยาในรูปแบบ Insoluble Drug Delivery®-Microparticle (IDD-P) fenofibrate 160-mg tablets มี oral bioavailability สูงกว่ารูปแบบ micronized fenofibrate (MF) 200-mg 42.56% อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (90% CI, 27.29% - 59.65%; P < 0.001) และรูปแบบ microcoated fenofibrate (MCF) 160-mg มีค่า bioavailability เทียบเท่ากับ MF ส่วนในสภาวะ fed condition หรือ low-fat fed พบว่า ทั้ง 3 กลุ่ม (IDD-P, MC, MCF) มีค่า bioavailability ใกล้เคียงกัน (equivalent bioavailability)[4]

ยา fenofibrate unmicronized และ micronized tablet/capsule ควรรับประทานพร้อมอาหารเพื่อเพิ่ม bioavailability ของยา[4] ส่วนรูปแบบ fenofibrate nanoparticle tablet ถูกพัฒนาให้มีขนาดอนุภาคที่เล็กลง ส่วน fenofibric acid capsule (active metabolite มีโครงสร้างที่เป็น hydrophilic) เป็นรูปแบบที่มี bioavailability มากที่สุด ดังนั้น fenofibrate nanoparticle tablet และ fenofibric acid capsule จึงสามารถรับประทานโดยไม่จำเป็นต้องพร้อมอาหาร เนื่องจากยาถูกดูดซึมได้ดีจากทางเดินอาหาร[5]

การใช้ simvastatin ร่วมกับ fenofibrate พบว่าเกิดอันตรกิริยาในระดับความรุนแรงแบบ major กลไกการเกิดยังไม่ทราบแน่ชัด คาดว่าอาจเกี่ยวข้องกับ pharmacodynamic เป็นหลัก[6] การใช้ร่วมกันอาจส่งผลให้เพิ่มความเสี่ยงในการเกิด myopathy หรือ rhabdomyolysis ดังนั้น ควรหลีกเลี่ยงการใช้ยาสองตัวนี้ร่วมกัน หากประโยชน์ที่ได้รับน้อยกว่าความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น[1]

การศึกษาแบบ randomized controlled trial [7] ในผู้ป่วยเบาหวาน type 2 จำนวน 5,518 คน โดยเปรียบเทียบกลุ่มที่ได้รับยา combination statin + fibrate กับกลุ่ม statin เดี่ยว ๆผลการศึกษาด้าน safety พบว่า กลุ่มที่ได้รับยาร่วมกัน (simvastatin + fibrate) มีค่า creatine kinase > 10 เท่าของขอบบนค่าปกติจำนวน 10 ราย (0.4%) ส่วนกลุ่ม simvastatin เดี่ยว ๆ มีจำนวน 9 คน (0.3%) แต่ไม่มีรายงานการเกิด myopathy และ rhabdomyolysis ส่วนอีกหนึ่งการศึกษาซึ่งเป็นแบบ randomized, double-blind, active-controlled [8] ในผู้ป่วย combined hyperlipidemia แบ่งกลุ่มตัวอย่างเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่ม simvastatin 20 mg/day (207 ราย) และกลุ่ม simvastatin 20 mg + fenofibrate 160 mg daily (411 ราย) ผลการศึกษาในด้านของ muscular adverse experiences พบว่า ทั้ง 2 กลุ่มไม่เกิด rhabdomyolysis หรือ clinical myopathy (มีอาการที่กล้ามเนื้อร่วมกับค่า creatine kinase > 10 เท่าของขอบบนค่าปกติ) แต่มีผู้ป่วย 1 รายในกลุ่มที่ได้รับยา combination มีค่า creatine kinase > 10 เท่าของขอบบนค่าปกติ แต่ไม่มีอาการผิดปกติของกล้ามเนื้อ โดยค่า creatine kinase สามารถกลับมาใกล้เคียงกับค่าปกติในเวลาต่อมา และผู้ป่วยรายนี้ยังคงได้รับยา combination ต่อไปจนจบการศึกษา ส่วนการเกิดอาการไม่พึงประสงค์อื่น ๆ เกี่ยวกับ กล้ามเนื้อ เช่น myalgia พบว่าไม่มีความแตกต่างกัน

โดยทั่วไป ความเสี่ยงในการเกิด myopathy/rhabdomyolysis จะเพิ่มขึ้นในผู้ป่วยบางกลุ่ม เช่นผู้สูงอายุ ผู้ป่วยที่มีภาวะตับหรือไตบกพร่อง ผู้ป่วยที่มีการใช้ยาหลายชนิดร่วมด้วย[9] การใช้ fenofibrate/simvastatin combination ในผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงดังกล่าว ควรใช้อย่างระมัดระวังและมีการติดตามถึงอาการและอาการแสดงของ myositis, myopathy หรือ rhabdomyolysis (muscle pain, tenderness หรือ weakness) และติดตามระดับ serum creatine kinase levels และถ้าหากในกรณีที่สงสัยหรือวินิจฉัยได้ว่าผู้ป่วยเกิดภาวะ myopathy/myositis พิจารณาหยุดยาตัวใดตัวหนึ่งหรือทั้ง 2 ตัวพร้อมกัน[1]

โดยสรุป:
1) การรับประทานยา fenofibrate ร่วมกับยา simvastatin เมื่อพิจารณาในประเด็นของ drug interaction พบว่า การใช้ร่วมกันอาจส่งผลให้เพิ่มความเสี่ยงในการเกิด myopathy หรือ rhabdomyolysis ได้ ควรหลีกเลี่ยงการใช้ยาสองตัวนี้ร่วมกัน หากประโยชน์ที่ได้รับน้อยกว่าความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น หากจำเป็นต้องใช้ร่วมกัน ควรอยู่ในความดูแลของแพททย์อย่างใกล้ชิด และควรติดตามอาการข้างเคียงอย่างใกล้ชิด เช่นmyositis, myopathy หรือ rhabdomyolysis (muscle pain, tenderness หรือ weakness) และติดตามระดับ serum creatine kinase levels [1,6]
2) การรับประทานยา fenofibrate โดยทั่วไปแนะนำให้รับประทานพร้อมอาหาร เพื่อเพิ่ม bioavailability ของยา ยกเว้นผลิตภัณฑ์บางรูปแบบที่แนะนำว่าสามารถรับประทานพร้อมอาหารหรือไม่ก็ได้[2-5] ทั้งนี้ให้ศึกษาข้อมูลจากเอกสารกำกับยาของบริษัทผู้ผลิตจากการสืบค้นข้อมูล ไม่พบการศึกษาเกี่ยวกับเปรียบเทียบประสิทธิภาพของยาเมื่อรับประทาน ก่อนอาหารเช้าเทียบกับเวลาอื่น ๆ

เอกสารอ้างอิง
1. Fenofibrate. In: DRUGDEX® System [database on the internet]. Greenwood Village, CO: Thomson Micromedex. [cited 2020 June 22]. Available from: http://www.micromedexsolutions.com/micromedex2/librarian.
2. Fenofibrate. Lexi-Drugs. Lexicomp. Wolters Kluwer Health, Inc. Riverwoods, IL. Available at: http://online.lexi.com. Accessed June 28, 2020.
3. MIMS Thailand. (2020). Fenofibrate. In MIMS Online. https://www.mims.com/thailand
4. Pol-Henri Guivarc'h, Michael G Vachon, Diana Fordyce. A New Fenofibrate Formulation: Results of Six Single-Dose, Clinical Studies of Bioavailability Under Fed and Fasting Conditions. Clin Ther. 2004;26(9):1456-69.
5. Theodosios D Filippatos, Moses S Elisaf. Safety Considerations With fenofibrate/simvastatin Combination. Expert Opin Drug Saf. 2015;14(9):1481-93.
6. HMG-CoA Reductase Inhibitors (Statins) / Fenofibrate and Derivatives. Interactions. Lexicomp. Wolters Kluwer Health, Inc. Riverwoods, IL. Available at: http://online.lexi.com. Accessed June 28, 2020.
7. ACCORD Study Group; Henry N Ginsberg, Marshall B Elam, Laura C Lovato, et al. Effects of Combination Lipid Therapy in Type 2 Diabetes Mellitus. N Engl J Med. 2010;362(17):1563-74.
8. Grundy SM, Vega GL, Yuan Z, Battisti WP, Brady WE, Palmisano J. Effectiveness and tolerability of simvastatin plus fenofibrate for combined hyperlipidemia (the SAFARI trial). Am J Cardiol. 2005;95(4):462-8.
9. Theodosios D Filippatos, Moses S Elisaf. Safety Considerations With fenofibrate/simvastatin Combination. Expert Opin Drug Saf. 2015;14(9):1481-93.

วันที่ตอบ : 28 พ.ย. 63 - 15:01:37




พัฒนาระบบโดย ภานุชญา มณีวรรณ ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา 90110