ให้บริการโดยคณาจารย์ เภสัชกรผู้เชี่ยวชาญด้านยาและสุขภาพ


คำชี้แจง "เว็บไซต์นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อการ ศึกษา การแลกเปลี่ยนความรู้ และให้ข้อมูลเรื่องยาในกรณีทั่วไป ไม่ใช่คำแนะนำทางการแพทย์หรือเพื่อการรักษาในกรณีที่จำเพาะเจาะจง และความเห็นสำหรับกรณีเฉพาะหนึ่ง จะไม่สามารถประยุกต์ใช้กับผู้อื่นได้โดยตรง หากมีปัญหาเรื่องโรคโปรดปรึกษาแพทย์ หากมีปัญหาเรื่องยา โปรดปรึกษาเภสัชกร หรือปรึกษาผู้เกี่ยวข้องโดยตรงกับกรณีนั้นด้วยตนเองเท่านั้น"

Search :
ผู้ป่วยมีภาวะ agranulocytosis ในช่วงที่ได้รับยา MTX มาตลอด และได้ filgrastim อยา

ผู้ป่วยมีภาวะ agranulocytosis ในช่วงที่ได้รับยา MTX มาตลอด และได้ filgrastim อยากทราบว่ามีวิธีจัดการอย่างอื่นหรือไม่ ถ้ามี ต้องทำอย่างไร และการให้ filgrastim จะช่วยได้จริงหรือไม่ เพราะเท่าที่ดู จะทำให้ WBC เพิ่มขึ้นเพียงแค่ช่วงเดียว

[รหัสคำถาม : 148] วันที่รับคำถาม : 01 ธ.ค. 63 - 10:28:37 ถามโดย : บุคลากร วิทยาศาสตร์สุขภาพ

เข้าระบบเพื่อตอบคำถาม

No : 1

ภาวะ neutropenia เป็นภาวะที่เม็ดเลือดขาว neutrophil มีปริมาณต่ำกว่าค่าปกติ โดยแบ่งระดับความรุนแรงตามค่า absolute neutrophil count (ANC) ดังนี้ 1) ระดับรุนแรงน้อย (mild) คือ ANC < 1,000-1,500 microliter 2) ระดับรุนแรงปานกลาง (moderate) คือ ANC 500-1,000 cells/µl 3) ระดับรุนแรง (severe) คือ ANC <500 cells/µl และ 4) ระดับรุนแรงมาก (very severe) คือ ANC <200 cells/µl หรือเรียกอีกอย่างว่า agranulocytosis ซึ่งความเสี่ยงของติดเชื้อจะขึ้นกับระดับความรุนแรงและระยะเวลาของการเกิดภาวะneutropenia[1]
ภาวะ agranulocytosis อาจมีสาเหตุมาจากการใช้ยาบางชนิด เช่น ยาเคมีบำบัด, co-trimoxazole, antithyroid drugs กลไกการเกิด agranulocytosis อาจเกิดจากการกดการทำงานของไขกระดูก หรือ เกิดผ่านระบบภูมิคุ้มกัน[1]
Methotrexate เป็นยาในกลุ่ม folate antagonists มีกลไกการออกฤทธิ์คือยับยั้งเอนไซม์ dihydrofolate reductase เป็นผลให้เกิดการยับยั้งการสร้าง purine และ thymidylic acid จึงรบกวนการสังเคราะห์ DNA อาการข้างเคียงที่พบ เช่น ท้องเสีย แผลในปาก และ กดการทำงานของไขกระดูกโดยเฉพาะเมื่อใช้ยาในขนาดสูง[2]
Granulocyte-colony stimulating factor (G-CSF) เช่น ยา filgrastim มีข้อบ่งใช้ตาม US FDA ประเทศสหรัฐอเมริกา คือ ป้องกันการเกิด febrile neutropenia หลังได้รับยาเคมีบำบัด, กระตุ้น engraftment หลังจากทำ bone marrow transplant, รักษาภาวะsevere chronic neutropenia และมีข้อบ่งใช้อื่น ๆ ซึ่งเป็น non FDA-approved indications เช่น รักษาภาวะagranulocytosis, aplastic anemia[3] โดยการใช้ G-CSF เพื่อป้องกันการเกิด febrile neutropenia หลังได้รับยาเคมีบำบัด อาจใช้เป็น primary prophylaxis, secondary prophylaxis และ supportive treatment ในผู้ป่วยบางราย ( เช่น sepsis syndrome, อายุ >65 ปี, ANC <100 cell/mm3, มีภาวะ neutropenia ที่คาดว่านานกว่า 10 วัน, มีภาวะปอดอักเสบหรือแสดงถึงการติดเชื้อที่บริเวณต่าง ๆ, มีไข้ขณะที่รักษาตัวอยู่โรงพยาบาล)[4]
จากการศึกษาในผู้ป่วยที่เกิด drug-induced agranulocytosis พบว่า 1) กลุ่มที่ได้รับการรักษาด้วย G-CSF มีจำนวน neutrophil เพิ่มจำนวนขึ้นจนถึงระดับ >1.5x109/l ได้เร็วกว่ากลุ่มที่ไม่ได้รับการรักษาด้วย G-CSF (6.6±3.9 วัน เทียบกับ 8.8±4.9 วัน ตามลำดับ; p<0.04) 2) ลดระยะเวลาการใช้ antibiotics โดยกลุ่มที่ใช้ G-CSF มีการใช้ยาปฏิชีวนะ 7.2±3.8 วัน เทียบกับกลุ่มที่ไม่ใช้ G-CSF เป็น 10.7±5.5 วัน (p<0.04) 3) ลดระยะเวลาการพักรักษาตัวในโรงพยาบาล โดยกลุ่มที่ใช้ G-CSF พักรักษาตัวในโรงพยาบาล 9.3±4.8 วัน ส่วนกลุ่มที่ไม่ใช้ G-CSF เป็น 11.3±6.1 วัน (p<0.05) [5]
โดยสรุป ผู้ป่วยที่มีภาวะ drug-induced agranulocytosis การใช้ยา G-CSF สามารถเพิ่มจำนวน neutrophils, ลดระยะเวลาการใช้ antibiotics และลดระยะเวลาการพักรักษาตัวในโรงพยาบาล อย่างไรก็ตาม การใช้ filgrastim ในผู้ที่มีภาวะ agranulocytosis ควรอยู่ในดุงพินิจของแพทย์และพิจารณาผู้ป่ายเป็นราย ๆ ไป

เอกสารอ้างอิง
1.Copelan E, Avalos B, Friend R. Assessment of neutropenia.BMJ Best Practice 2016.Available from http://bestpractice.bmj.com/best-practice/monograph-pdf/893.cited 12 Jul 2020.
2.Methotrexate |AccessMedicine|McGraw-Hill Medical[internet].Available from: https://accessmedicine.mhmedical.com/drugs.aspx?gbosID=426773#monoNumber=426773§ionID=243257601&tab=tab0.cited 12 Jul 2020.
3.U. S. Food and Drug Administration.filgrastim.[internet].Available from https://www.accessdata.fda.gov/drugsatfda_docs/label/1998/filgamg040298lb.cited 12 Jul 2020.
4.Caselli D, Cesaro S, Aricò M.Biosimilars in the management of neutropenia: focus on filgrastim.Biologics.2016.
5.Andrès E, Kurtz JE, Martin-Hunyadi C, et al. Nonchemotherapy drug-induced agranulocytosis in elderly patients: the effects of granulocyte colony-stimulating factor.Am J Med.2002.

วันที่ตอบ : 01 ธ.ค. 63 - 10:31:41




พัฒนาระบบโดย ภานุชญา มณีวรรณ ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา 90110