ให้บริการโดยคณาจารย์ เภสัชกรผู้เชี่ยวชาญด้านยาและสุขภาพ


คำชี้แจง "เว็บไซต์นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อการ ศึกษา การแลกเปลี่ยนความรู้ และให้ข้อมูลเรื่องยาในกรณีทั่วไป ไม่ใช่คำแนะนำทางการแพทย์หรือเพื่อการรักษาในกรณีที่จำเพาะเจาะจง และความเห็นสำหรับกรณีเฉพาะหนึ่ง จะไม่สามารถประยุกต์ใช้กับผู้อื่นได้โดยตรง หากมีปัญหาเรื่องโรคโปรดปรึกษาแพทย์ หากมีปัญหาเรื่องยา โปรดปรึกษาเภสัชกร หรือปรึกษาผู้เกี่ยวข้องโดยตรงกับกรณีนั้นด้วยตนเองเท่านั้น"

Search :
ได้รับยา premedication คือ ondansetron 8 mg IV, day 1-5 ก่อนได้รับยา 5-FU (425 m

ได้รับยา premedication คือ ondansetron 8 mg IV, day 1-5 ก่อนได้รับยา 5-FU (425 mg/m2, IV)+leucovorin : first cycle อยากทราบว่าหมอจ่ายยา premedication สำหรับต้านการอาเจียนถูกต้องไหมคะ

[รหัสคำถาม : 150] วันที่รับคำถาม : 01 ธ.ค. 63 - 10:39:02 ถามโดย : บุคคลทั่วไป

เข้าระบบเพื่อตอบคำถาม

No : 1

การแบ่งระดับการเหนี่ยวนำให้เกิดอาการคลื่นไส้อาเจียนจากยาเคมีบำบัด แบ่งได้ 4 ระดับ คือ
1.high emetic risk คือ มีความถี่ต่อการเกิดอาเจียน > 90% เช่น cisplatin, cyclophosphamide > 1500 mg/m2
2.moderate emetic risk คือ มีความถี่ต่อการเกิดอาเจียน 30-90% เช่น busalfan, cyclophosphamide ≤ 1500 mg/m2
3.low emetic risk คือ มีความถี่ต่อการเกิดการอาเจียน 10-30% เช่น 5-FU, doxorubicin
4.minimal emetic risk คือ มีความถี่ต่อการเกิดการอาเจียน <10% เช่น bleomycin, fludarabine
ยา 5-fluorouracil จัดเป็นยาเคมีบำบัดซึ่งอยู่ในกลุ่ม low emetic risk คือ มีความถี่ต่อการเกิดการอาเจียน 10-30% จากแนวทางการป้องกันการอาเจียนสำหรับยาเคมีบำบัดในกลุ่ม low emetic risk แนะนำให้ใช้ยาป้องกันอาการอาการคลื่นไส้อาเจียน เช่น
-dexamethasone 8-12 mg รับประทาน หรือ ฉีดเข้าหลอดเลือดดำครั้งเดียว[1] หรือ
-metoclopramide 10-20 mg รับประทาน หรือ ฉีดเข้าหลอดเลือดดำครั้งเดียว[1] หรือ
-prochlorperazine 10 mg รับประทาน หรือ ฉีดเข้าหลอดเลือดดำครั้งเดียว[1] หรือ
-5-serotonin receptor antagonists เช่น ondansetron 8-16 mg รับประทานครั้งเดียว[1]
สำหรับยา ondansetron ซึ่งมีทั้งในรูปแบบยารับประทานและฉีดเข้าหลอดเลือดดำ โดยอาจใช้ร่วมกับยาต้านอาเจียนชนิดอื่นในผู้ป่วยที่ได้รับยา high emetic risk เช่น cisplatin, cyclophosphamide > 1500 mg/m2 และ moderate emetic risk เช่น cyclophosphamide ≤ 1500 mg/m2 และใช้เดี่ยวๆ ในกรณี low emetic risk ขนาดยา ondansetron ชนิดรับประทาน ที่แนะนำโดยทั่วไปคือ 8-16 mg รับประทานครั้งเดียว (ขนาดการใช้ต่อครั้งไม่ควรเกิน 24 มิลลิกรัม) และชนิดฉีดเข้าหลอดเลือดดำไม่เกิน 16 มิลลิกรัม เนื่องจากการใช้ยาในขนาดสูง อาจทำให้เพิ่มความเสี่ยงหัวใจเต้นผิดจังหวะได้[2] อาการข้างเคียงที่พบจากการใช้ยานี้ เช่น ท้องผูก ปวดศีรษะ เอนไซม์ตับเพิ่มสูงขึ้น[3]
นอกจากนี้องค์กรด้านสุขภาพของแคนาดา ( Health Canada) ได้ระบุแนวทางการใช้ ondansetron ชนิดฉีดทางหลอดเลือดดำดังนี้
-ผู้ป่วยอายุมากกว่า 75 ปี ขนาดยาสูงสุดไม่ควรเกิน 8 มิลลิกรัม[4]
-ผู้ป่วยอายุน้อยกว่า 75 ปี ไม่ควรเกิน 16 มิลลิกรัม[4]
สำหรับประสิทธิภาพของ ondansetron ในการป้องกันอาการคลื่นไส้อาเจียนจากยา fluorouracil พบการศึกษา เช่น
1) การศึกษาที่ผู้ป่วยได้รับยา 5-fluorouracil±folinic acid(leucovorin)และได้รับ ondansetron 8 mg ก่อนได้รับยา 5-fluorouracil±folinic acid(leucovorin) 2 ชั่วโมงและหลังได้รับยา 6-12 ชั่วโมง สำหรับป้องกันอาการคลื่นไส้อาเจียน จำนวน 45 คน พบว่ามีอาการคลื่นไส้อาเจียนเกิดขึ้น 4.4%[5]
ดังนั้น ผู้ป่วยรายนี้ควรได้รับยา ondansetron 8-16 mg รับประทานครั้งเดียว สำหรับป้องกันการอาเจียนจากยาเคมีบำบัด 5- fluorouracil และจำกัดขนาดการใช้ต่อครั้งไม่ควรเกิน 24 มิลลิกรัม[1],[4]


เอกสารอ้างอิง
1.National Comprehensive Cancer Network. Antiemesis (Version 3.2018).[cited July 26,2020].Available from: URL:http://www.nccn.org/professionals/physician_gls/pdf/antiemesis.pdf
2.United States Food and Drug Administration. Zofran (ondansetron): Drug safety communicationupdated information on 32 mg intravenous ondansetron (Zofran) dose and pre-mixed ondansetron products [online].2012. [cited July 26,2020 ]. Available form: www.fda.gov/drugs/ drugsafety/ucm330049.htm
3. Micromedex® [Database on internet]. Colorado: Thomson Reuters (Healthcare). Available from: http://www.micromedexsolutions.com /micromedex2/librarian/.
4.Taylor S.Zofran (ondansetron)-dosage and administration of intravenous ondansetron in geriatrics (>65 years of age)-for health professionals [online]. 2014 [cited July 26,2020]. Available form: www. healthycanadians.gc.ca/recall-alert-rappel-avis/hcsc/2014/39943a-eng.php.
5.Casper J, Casper S, Kohnewompner C, Bokemeyer C, Hecker H, Schmoll H. 5-HT-3 antagonist ondansetron for the treatment of chemotherapy-induced nausea and vomiting in an outpatient population.Int J Oncol.1994.
วันที่ตอบ : 01 ธ.ค. 63 - 10:41:22




พัฒนาระบบโดย ภานุชญา มณีวรรณ ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา 90110