ให้บริการโดยคณาจารย์ เภสัชกรผู้เชี่ยวชาญด้านยาและสุขภาพ


คำชี้แจง "เว็บไซต์นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อการ ศึกษา การแลกเปลี่ยนความรู้ และให้ข้อมูลเรื่องยาในกรณีทั่วไป ไม่ใช่คำแนะนำทางการแพทย์หรือเพื่อการรักษาในกรณีที่จำเพาะเจาะจง และความเห็นสำหรับกรณีเฉพาะหนึ่ง จะไม่สามารถประยุกต์ใช้กับผู้อื่นได้โดยตรง หากมีปัญหาเรื่องโรคโปรดปรึกษาแพทย์ หากมีปัญหาเรื่องยา โปรดปรึกษาเภสัชกร หรือปรึกษาผู้เกี่ยวข้องโดยตรงกับกรณีนั้นด้วยตนเองเท่านั้น"

Search :
Cephalexin 250 เป็นยาที่สามารถใช้กับหญิงตั้งครรภ์ได้หรือเปล่า

Cephalexin 250 เป็นยาที่สามารถใช้กับหญิงตั้งครรภ์ได้หรือเปล่า

[รหัสคำถาม : 153] วันที่รับคำถาม : 01 ธ.ค. 63 - 13:00:26 ถามโดย : บุคคลทั่วไป

เข้าระบบเพื่อตอบคำถาม

No : 1

องค์การอาหารและยาประเทศสหรัฐอเมริกา (US FDA) ได้จัดระดับความปลอดภัยต่อมารดาและทารกจากการใช้ยา cephalexin อยู่ในประเภท Category B ครอบคลุมทุกไตรมาส[1,2] จากการศึกษาในสัตว์ทดลอง โดยให้ cephalexin ในขนาดยามากกว่าขนาดสูงสุดของมนุษย์ในแต่ละวัน ไม่พบการเกิดความเป็นพิษหรืออันตรายต่อตัวอ่อนในครรภ์ของสัตว์ทดลอง อย่างไรก็ตามการศึกษาในสัตว์ทดลองไม่สามารถทำนายการเกิดในมนุษย์ได้เสมอไป[1]
การศึกษาที่เกี่ยวกับการใช้ยา cephalexin ในหญิงตั้งครรภ์ เช่น
1) Surveillance study ซึ่งรวบรวมตัวอย่างที่เป็นหญิงตั้งครรภ์ จำนวน 229,101 คน โดยมีหญิงตั้งครรภ์ที่ได้รับยา cephalexin จำนวน 3,613 คน พบว่า เกิดความผิดปกติหรือพิการของทารกตั้งแต่กำเนิด (major defect) จำนวน 176 คน (ร้อยละ 4.9 ของหญิงตั้งครรภ์ที่ได้รับยา cephalexin) ความผิดปกติดังกล่าวอาจไม่สามารถสรุปได้ว่าเป็นผลมาจากการใช้ยา cephalexin หรือไม่ เนื่องจากยังมีปัจจัยอื่นที่ส่งผลต่อความผิดปกติของเด็ก เช่น โรคประจำตัวของมารดา ยาอื่นที่ใช้ร่วมด้วย[3]
2) การศึกษาการใช้ยา cephalexin ขนาด 250 มิลลิกรัม หรือ nitrofurantoin macrocrystals ขนาด 50 มิลลิกรัม เพื่อป้องกันการติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะหลังจากมีเพศสัมพันธ์ (postcoital prophylaxis) ในกลุ่มตัวอย่างเพศหญิงก่อนการตั้งครรภ์หรือระหว่างตั้งครรภ์ และเคยมีประวัติเป็นโรคติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะชนิดกลับเป็นซ้ำ (recurrent urinary tract infections) จำนวน 39 คน ไม่พบรายงานการเกิดความเป็นพิษต่อทารกในครรภ์[3]
3) การศึกษา cohort study ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อหาความสัมพันธ์ระหว่างการใช้ยาปฏิชีวนะในหญิงตั้งครรภ์ช่วงไตรมาสแรกกับความเสี่ยงการเกิดความผิดปกติของทารกตั้งแต่กำเนิด (congenital malformations) รวบรวมตัวอย่างทารกที่มีชีวิตรอด จำนวน 139,938 คน พบว่า แม่ที่ได้รับยา cephalexin จำนวน 124 คน เกิดภาวะ congenital malformations จำนวน 13 คน แต่ไม่มีความแตกต่างกับแม่ที่ไม่ได้รับยา cephalexin (aOR 0.83, 95% CI 0.47–1.46, 13 exposed cases)[4]
4) การศึกษา case-control study จากฐานข้อมูลเกี่ยวกับความผิดปกติของเด็กตั้งแต่กำเนิด (congenital malformations) โดยหาความสัมพันธ์ระหว่างการใช้ยาปฏิชีวนะกลุ่ม cephalosporin ในหญิงตั้งครรภ์กับการเกิดความผิดปกติของทารกตั้งแต่กำเนิด (congenital malformations) ตัวอย่างที่เป็นหญิงที่คลอดบุตรที่มีภาวะ congenital malformations จำนวน 22,865 คน (case group) และตัวอย่างที่เป็นหญิงที่บุตรไม่มีภาวะ congenital malformations คิดเป็นจำนวน 38,151 คน (healthy controls group) และตัวอย่างคลอดบุตรที่เป็นโรค Down syndrome (patient control group) คิดเป็นจำนวน 812 คน พบว่าหญิงในกลุ่ม case group, healthy controls group และ patient control group ได้รับยากลุ่ม cephalosporin จำนวน 308, 440 และ 16 คน ตามลำดับ การใช้ยากลุ่ม cephalosporin ในเดือนที่ 2-3 ของการตั้งครรภ์ในกลุ่ม case group เปรียบเทียบกับกลุ่ม healthy controls group และ patient control group ไม่ได้บ่งชี้ว่า cephalosporin ทำให้เกิดความผิดปกติของเด็กตั้งแต่กำเนิด อย่างไรก็ตามการศึกษานี้มีอคติจากความคลาดเคลื่อนของข้อมูลจากความทรงจำ (recall bias)[5]

เอกสารอ้างอิง
1. Advancis Pharmaceutical Corporation. KEFLEX® CAPSULES CEPHALEXIN, USP [internet]. [cited 2020 July 7]. Available from: https://www.accessdata.fda.gov/drugsatfda_docs/label/2006/050405s097lbl.pdf
2. MICROMEDEX® [Database on the internet]. Colorado: Thomson Reuters (Healthcare); c2020. DRUGDEX® System, Cephalexin; [Cited 2020 Jun 30]. Available from: https://www.micromedexsolutions.com/micromedex2/librarian/CS/AC32D6/ND_PR/evidencexpert/ND_P/evidencexpert/DUPLICATIONSHIELDSYNC/628DBE/ND_PG/evidencexpert/ND_B/evidencexpert/ND_AppProduct/evidencexpert/ND_T/evidencexpert/PFActionId/evidencexpert.DoIntegratedSearch?SearchTerm=cephalexin%20&UserSearchTerm=cephalexin%20&SearchFilter=filterNone&navitem=searchALL#
3. Briggs GG, Freeman RK, Yaffe SJ. Drugs in pregnancy and lactation: a reference guide to fetal and neonatal risk. 10th ed. Philadelphia: Wolters Kluwer/Lippincott Williams & Wilkins Health; 2015.
4. Muanda FT, Sheehy O, Bérard A. Use of antibiotics during pregnancy and the risk of major congenital malformations: a population based cohort study. Br J Clin Pharmacol. 2017 Nov;83(11):2557-2571.
5. Czeizel AE, Rockenbauer M, Sørensen HT, Olsen J. Use of cephalosporins during pregnancy and in the presence of congenital abnormalities: a population-based, case-control study. Am J Obstet Gynecol. 2001 May;184(6):1289-96.


วันที่ตอบ : 01 ธ.ค. 63 - 15:12:08




พัฒนาระบบโดย ภานุชญา มณีวรรณ ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา 90110