ให้บริการโดยคณาจารย์ เภสัชกรผู้เชี่ยวชาญด้านยาและสุขภาพ


คำชี้แจง "เว็บไซต์นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อการ ศึกษา การแลกเปลี่ยนความรู้ และให้ข้อมูลเรื่องยาในกรณีทั่วไป ไม่ใช่คำแนะนำทางการแพทย์หรือเพื่อการรักษาในกรณีที่จำเพาะเจาะจง และความเห็นสำหรับกรณีเฉพาะหนึ่ง จะไม่สามารถประยุกต์ใช้กับผู้อื่นได้โดยตรง หากมีปัญหาเรื่องโรคโปรดปรึกษาแพทย์ หากมีปัญหาเรื่องยา โปรดปรึกษาเภสัชกร หรือปรึกษาผู้เกี่ยวข้องโดยตรงกับกรณีนั้นด้วยตนเองเท่านั้น"

Search :
ARTRODAR ตัวยาสำคัญ (Diacerein 50 mg) ที่ใช้กับโรคข้อเสื่อม มีรายละเอียดอะไรบ้าง

ARTRODAR ตัวยาสำคัญ (Diacerein 50 mg) ที่ใช้กับโรคข้อเสื่อม มีรายละเอียดอะไรบ้าง เช่น กลไกการออกฤทธิ์ ข้อแตกต่างจากกลุ่มยารักษาโรคข้อเสื่อมตัวอื่นๆอย่างไร

[รหัสคำถาม : 156] วันที่รับคำถาม : 01 ธ.ค. 63 - 13:41:12 ถามโดย : บุคคลทั่วไป

เข้าระบบเพื่อตอบคำถาม

No : 1

ยา Diacerein มีข้อบ่งใช้เพื่อบรรเทาอาการปวด ลดอักเสบจากโรคข้อเสื่อม (osteoarthritis)[1,2] จากการศึกษาในหลอดทดลองพบว่ายา Diacerein ออกฤทธิ์ยับยั้งการสังเคราะห์และการทำงานของ interleukin-1beta ซึ่งมีบทบาทสำคัญในกระบวนการอักเสบ มีฤทธิ์ยับยั้งการทำลายกระดูกอ่อน[3,4] กระดูก และเยื่อหุ้มไขข้อ รวมถึงกระตุ้นการสังเคราะห์ collagen, proteoglycans, hyaluronan ซึ่งเป็นส่วนประกอบในข้อ[3] ยับยั้งการสลายตัวด้วยตัวเองของกระดูกอ่อนในสัตว์ทดลอง[4] ยานี้รับประทานครั้งละ 50 มิลลิกรัม วันละ 2 ครั้ง[1,2] โดยในช่วง 1-2 เดือนแรก ควรใช้ควบคู่กับยาแก้ปวด เมื่ออาการดีขึ้นให้ลดหรือหยุดยาแก้ปวด หากใช้ยาเป็นระยะเวลา 3 เดือนแล้วอาการไม่ดีขึ้น ควรหยุดยา ผลข้างเคียงที่สำคัญคือ ภาวะท้องเสีย[5 ผู้ป่วยที่เป็นโรคตับหรือมีประวัติเป็นโรคตับห้ามใช้ยานี้เนื่องจากอาจทำให้เกิดภาวะพิษต่อตับ[1] Diacerein จัดอยู่ในกลุ่มบรรเทาอาการข้อเสื่อมที่ออกฤทธิ์ช้า (symptomatic slow-acting drug for osteoarthritis หรือ SYSADOAs) ยากลุ่มนี้ไม่แนะนำให้ใช้ในการรักษาในอันดับแรก นำไปใช้ในการรักษาโรคข้อเสื่อมที่ไม่เฉียบเพลัน โดยยาเหล่านี้พิจารณาให้เสริมกับยากลุ่ม analgesics และ NSAIDs ซึ่งนอกจาก Diacerein ยาในกลุ่มนี้ได้แก่ glucosamine, chondroitin sulphate [3] ยา glucosamine มีข้อบ่งใช้คล้ายกับยา diacerein ในช่วง 1-2 เดือนแรกควรใช้ควบคู่กับยาแก้ปวด เมื่ออาการดีขึ้นให้ลดหรือหยุดยาแก้ปวด แต่ถ้าหลังจากใช้ยาเป็นระยะเวลา 3 เดือน แล้วอาการไม่ดีขึ้น ควรหยุดยา ยา glucosamine อาจทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้นได้ จึงเป็นข้อควร ระวังการใช้ในผู้ป่วยที่เป็นเบาหวาน โดยรับประทานครั้งละ 500 มิลลิกรัม วันละ 3 ครั้ง หรือรับประทาน 1,500 มิลลิกรัม วันละครั้ง[5] ยา chondroitin sulphate โดยรับประทาน 800-1,200 มิลลิกรัมต่อวัน วันละครั้งหรือแบ่งวันละ 2 ครั้ง[6-7]

เอกสารอ้างอิง
1. Lexi-Comp, Inc. Diacerein. In: Patient drug information.[Online]. Available from: UpToDate online;2020. [Cited 2020 Jun 15].
2. MICROMEDEX® [Database on the internet]. Colorado: Thomson Reuters (Healthcare); c2020. DRUGDEX® System, Diacerein; [Cited 2020 Jun 16]. Available from: https://www.micromedexsolutions.com/micromedex2/librarian/CS/1530FE/ND_PR/evidencexpert/ND_P/evidencexpert/DUPLICATIONSHIELDSYNC/742E08/ND_PG/evidencexpert/ND_B/evidencexpert/ND_AppProduct/evidencexpert/ND_T/evidencexpert/PFActionId/evidencexpert.IntermediateToDocumentLink?docId=1729-k&contentSetId=30&title=Diacerein&servicesTitle=Diacerein
3. Pavelka K, Bruyère O, Cooper C, Kanis JA, Leeb BF, Maheu E, et al. Diacerein: Benefits, Risks and Place in the Management of Osteoarthritis. An Opinion-Based Report from the ESCEO. Drugs Aging. 2016 Feb;33(2):75-85.
4. Spencer CM, Wilde MI. Diacerein. Drugs. 1997 Jan;53(1):98-106
5. สมาคมรูมาติซั่มแห่งประเทศไทย. (2553). แนวทางเวชปฏิบัติการรักษาโรคข้อเข่าเสื่อม มิถุนายน 2563,จาก http://thairheumatology.org/attachfle/guidelineforthetreatment.pdf
6. Lexi-Comp, Inc. Chondroitin. In: Patient drug information.[Online]. Available from: UpToDate online;2020. [Cited 2020 Jun 15].
7. MICROMEDEX® [Database on the internet]. Colorado: Thomson Reuters (Healthcare); c2020. DRUGDEX® System, Chondroitin; [Cited 2020 Jun 16]. Available from: https://www.micromedexsolutions.com/micromedex2/librarian/CS/4446A0/ND_PR/ND_P/evidencexpert/DUPLICATIONSHIELDSYNC/0D5D8D/ND_PG/evidencexpert/ND_B/evidencexpert/ND_AppProduct/evidencexpert/ND_T/evidencexpert/PFActionId/evidencexpert.DoIntegratedSearch?SearchTerm=chondroitin%20&UserSearchTerm=chondroitin%20&SearchFilter=filterNone&navitem=searchGlobal#

วันที่ตอบ : 01 ธ.ค. 63 - 13:50:54




พัฒนาระบบโดย ภานุชญา มณีวรรณ ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา 90110