ให้บริการโดยคณาจารย์ เภสัชกรผู้เชี่ยวชาญด้านยาและสุขภาพ


คำชี้แจง "เว็บไซต์นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อการ ศึกษา การแลกเปลี่ยนความรู้ และให้ข้อมูลเรื่องยาในกรณีทั่วไป ไม่ใช่คำแนะนำทางการแพทย์หรือเพื่อการรักษาในกรณีที่จำเพาะเจาะจง และความเห็นสำหรับกรณีเฉพาะหนึ่ง จะไม่สามารถประยุกต์ใช้กับผู้อื่นได้โดยตรง หากมีปัญหาเรื่องโรคโปรดปรึกษาแพทย์ หากมีปัญหาเรื่องยา โปรดปรึกษาเภสัชกร หรือปรึกษาผู้เกี่ยวข้องโดยตรงกับกรณีนั้นด้วยตนเองเท่านั้น"

Search :
ในการป้องกันการติดเชื้อฉวยโอกาสในผู้ป่วย HIV ซึ่ง Itraconazole (200 mg) OD สามาร

ในการป้องกันการติดเชื้อฉวยโอกาสในผู้ป่วย HIV ซึ่ง Itraconazole (200 mg) OD สามารถป้องกันเชื้อ Cryptococcosis , Penicilliosis และ Histoplasma แล้วอยากทราบว่า ถ้าใช้ Fluconazole (400 mg)1 tab/week จะสามารถป้องกัน เชื้อ Cryptococcosis , Penicilliosis และ Histoplasma ได้ไหม

[รหัสคำถาม : 16] วันที่รับคำถาม : 13 ม.ค. 63 - 14:15:56 ถามโดย : บุคลากร วิทยาศาสตร์สุขภาพ

เข้าระบบเพื่อตอบคำถาม

No : 1

Fluconazole เป็นยาในกลุ่ม azole antifungal agents สามารถออกฤทธิ์ยับยั้งเชื้อรากลุ่ม Candida spp. (ยกเว้น C. krusei) และ Cryptococcus neoformans ได้ดี แต่ยานี้จะออกฤทธิ์ยับยั้งกลุ่มเชื้อ dimorphic fungi (เช่น B. dermatitidis, Coccidioides immitis และ H. capsulatum) ได้ด้อยกว่า azoles ชนิดอื่น ๆ ( เช่น itraconazole, posaconazole, voriconazole, isavuconazole ) [1,2] ส่วนการยับยั้งเชื้อ T. marneffei ( ชื่อเดิมคือ P. marneffei )นั้น ยา Fluconazole มีประสิทธิภาพด้อยกว่ายา Itraconazole หรือ Ketoconazole [3] Fluconazole สามารถผ่าน blood brain barrier ได้ร้อยละ 70-100 [4] อาการข้างเคียงที่พบ เช่น ปวดศีรษะ วิงเวียนศีรษะ ท้องเสีย ปวดท้อง คลื่นไส้ อาเจียน
Cryptococcosis เกิดจากการติดเชื้อ Cryptococcus neoformans ซึ่งเป็นโรคติดเชื้อฉวยโอกาสที่พบได้บ่อยเป็นอันดับ 3 ของผู้ติดเชื้อ HIV ในประเทศไทย รองจากวัณโรค และ PCP อาจพบการติดเชื้อในอวัยวะต่าง ๆ เช่น ปอด ผิวหนัง ต่อมน้ำเหลือง ตับ ม้าม และไขกระดูก [5]
จากแนวทางการป้องกันโรคฉวยโอกาสในประเทศไทย ปี 2560 ได้แนะนำข้อบ่งชี้ของ Primary prophylaxis ดังนี้ คือ 1) CD4 < 100 cell/mm3, 2) ไม่มีอาการและอาการแสดงของโรคจากเชื้อ C. neoformans และ 3) มีผลตรวจCryptococcal antigen ในเลือดเป็นบวก (หากสามารถตรวจได้) โดยยาหลักที่แนะนำ คือ fluconazole (400 mg) รับประทาน 1 เม็ดต่อสัปดาห์ ส่วนยาทางเลือกเช่น fluconazole 200-400 mg/วัน รับประทานวันละครั้ง หรือ itraconazole 200 mg/วัน รับประทานวันละครั้ง[5] ส่วนในต่างประเทศ เช่น ประเทศอเมริกา ไม่แนะนำให้ใช้ยาสำหรับ Primary prophylaxis เนื่องจากมีความชุกของโรคนี้น้อย แต่ในกรณีของ secondary prophylaxis (maintenance therapy) แนะนำให้ใช้ fluconazole 200 mg วันละครั้ง [6]
Talaromycosis (penicilliosis) และ histoplasmosis มักพบในผู้ป่วยติดเชื้อ HIV ที่มีจำนวน CD4 < 100 cells/mm3 และ 150 cells/mm3 ตามลำดับ อาการทางคลินิกของโรคชนิดนี้จะคล้ายกัน แต่ผู้ป่วย Talaromycosis จะพบ papulonecrotic skin lesions บริเวณหน้าและแขนมากกว่า ในขณะที่ histoplasmosis จะพบรอยโรคที่ปอดและเยื่อบุทางเดินอาหารมากกว่า และโรค Talaromycosis มักพบมากทางภาคเหนือ [5]
จากแนวทางการป้องกันโรคฉวยโอกาสในประเทศไทย ได้แนะนำข้อบ่งชี้ของ primary prophylaxis ใน Talaromycosis (penicilliosis) และ histoplasmosis ดังนี้ 1) ในผู้ใหญ่ที่มี CD4 < 100 cells/mm3 สำหรับ Talaromycosis (penicilliosis) หรือ CD4 counts <150 cells/mm3 สำหรับ histoplasmosis และ 2) ผู้ป่วยเด็ก โดยทั่วไปไม่แนะนำให้ยาป้องกัน แต่อาจพิจารณาให้เฉพาะเด็กที่มีภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่องรุนแรงและอยู่ในพื้นที่ที่มีเชื้อนี้ชุกชุม เช่น ทางภาคเหนือ ยาที่แนะนำสำหรับการป้องกัน คือ itraconazole 200 mg วันละครั้งในผู้ใหญ่ และ itraconazole 5 mg/kg วันละครั้งในเด็ก หากใช้ itraconazole เพื่อป้องกัน Talaromycosis (penicilliosis) หรือ Histoplasmosis แล้ว ไม่ต้องให้ fluconazole เพื่อป้องกัน Cryptococcosis อีก ส่วนยาหลักที่ใช้สำหรับ secondary prophylaxis คือ Itraconazole 200 mg วันละครั้ง และยาทางเลือก คือ fluconazole 400 mg วันละครั้ง หรือ Amphotericin B 0.6-0.7 mg/kg ทางหลอดเลือดดำสัปดาห์ละครั้งในผู้ป่วยที่มีภาวะ malabsorption[5]

ในต่างประเทศ ได้แนะนำยาสำหรับป้องกัน Talaromycosis และ Histoplasmosis ดังนี้
- Talaromycosis (penicilliosis) ยาหลักที่แนะนำสำหรับ primary prophylaxis คือ itraconazole 200 mg วันละครั้ง (BI) ส่วนยาทางเลือกคือ fluconazole 400 mg รับประทานสัปดาห์ละครั้ง (BII) ส่วน secondary prophylaxis คือ itraconazole 200 mg รับประทานวันละครั้ง
- Histoplasmosis ยาหลักสำหรับ primary prophylaxis และ secondary prophylaxis คือ itraconazole 200 mg รับประทานวันละครั้ง ยาทางเลือก คือ Posaconazole 300 mg extended release tablet วันละครั้ง (BIII) , Voriconazole 200 mg สองครั้งต่อวัน (BIII) และ fluconazole 400 mg วันละครั้ง (CII) [6]

จากคำถามที่ถามว่า “Fluconazole 400 mg สัปดาห์ละครั้ง จะสามารถป้องกันเชื้อ Cryptococcal, Talaromycosis (Penicilliosis) และ Histoplasma ในผู้ป่วย HIV ได้หรือไม่” จากการสืบค้นข้อมูลไม่พบการศึกษาที่เปรียบเทียบโดยตรงถึงประสิทธิภาพของ Fluconazole 400 mg สัปดาห์ละครั้ง กับ itraconazole 200 mg วันละครั้ง ส่วนแนวทางการป้องกันและรักษาโรคติดเชื้อฉวยโอกาสของประเทศไทยปี 2560 แนะนำว่า ยา Fluconazole 400 mg สัปดาห์ละครั้ง ถือเป็นยาหลักที่ใช้เป็น primary prophylaxis ในการป้องกันเชื้อ Cryptococcosis ส่วนในต่างประเทศ ได้แนะนำ Fluconazole 400 mg รับประทานสัปดาห์ละครั้ง ให้เป็นยาทางเลือกใน Primary prophylaxis ของ Talaromycosis (Penicilliosis) แต่ไม่ได้กล่าวถึงการใช้ Fluconazole 400 mg สัปดาห์ละครั้ง เพื่อป้องกัน Histoplasmosis อย่างไรก็ตาม ทั้งแนวทางการใช้ยาทั้งในประเทศไทยและในต่างประเทศ ได้ระบุว่า Fluconazole 400 mg รับประทานวันละครั้ง สามารถใช้เป็น secondary prophylaxis ทั้ง Cryptococcosis, Talaromycosis (Penicilliosis) และ Histoplasmosis ได้

เอกสารอ้างอิง
[1] Nett JE, Andes DR. Antifungal Agents: Spectrum of Activity, Pharmacology, and Clinical Indications. Infect Dis Clin North Am. 2016 Mar;30(1):51-83. doi: 10.1016/j.idc.2015.10.012. Epub 2015 Dec 29. PMID: 26739608.
[2] Fluconazole 150mg capsules - summary of product characteristics (Smpc) -(Emc) [internet]. [cited 24 Dec 2020]. Available at: https://www.medicines.org.uk/emc/product/6086/smpc#grefAzoles.(2018)
[3] American Society of Health-System Pharmacists, Teton Data Systems (Firm). AHFS drug information2018. Bethesda, MD: American Society of Health-System Pharmacists; p.499
[4] Ashley ED. Antifungal Drugs: Special Problems Treating Central Nervous System Infections. J Fungi (Basel). 2019;5(4):97. Published 2019 Oct 11. doi:10.3390/jof5040097
[5] สำนักโรคเอดส์ วัณโรค และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์.กรมควบคุมโรค. แนวทางการตรวจรักษาและป้องกันการติดเชื้อเอชไอวี ประเทศไทย ปี 2560. [cited 24 Dec 2020]. Available at http://www.thaiaidssociety.org/images/PDF/hiv_thai_guideline_2560.pdf
[6] Panel on Opportunistic Infections in Adults and Adolescents with HIV. Guidelines for the prevention and treatment of opportunistic infections in adults and adolescents with HIV: recommendations from the Centers for Disease Control and Prevention, the National Institutes of Health, and the HIV Medicine Association of the Infectious Diseases Society of America. [cited 24 Dec 2020]. Available at http://aidsinfo.nih.gov/contentfiles/lvguidelines/adult_oi.pdf.

วันที่ตอบ : 05 ม.ค. 64 - 23:33:35




พัฒนาระบบโดย ภานุชญา มณีวรรณ ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา 90110