ให้บริการโดยคณาจารย์ เภสัชกรผู้เชี่ยวชาญด้านยาและสุขภาพ


คำชี้แจง "เว็บไซต์นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อการ ศึกษา การแลกเปลี่ยนความรู้ และให้ข้อมูลเรื่องยาในกรณีทั่วไป ไม่ใช่คำแนะนำทางการแพทย์หรือเพื่อการรักษาในกรณีที่จำเพาะเจาะจง และความเห็นสำหรับกรณีเฉพาะหนึ่ง จะไม่สามารถประยุกต์ใช้กับผู้อื่นได้โดยตรง หากมีปัญหาเรื่องโรคโปรดปรึกษาแพทย์ หากมีปัญหาเรื่องยา โปรดปรึกษาเภสัชกร หรือปรึกษาผู้เกี่ยวข้องโดยตรงกับกรณีนั้นด้วยตนเองเท่านั้น"

Search :
ผู้ป่วยมีภาวะท้องผูกเรื้อรังประมาณ 1 เดือน ผู้ป่วยได้รับยา cisapride และ prucalo

ผู้ป่วยมีภาวะท้องผูกเรื้อรังประมาณ 1 เดือน ผู้ป่วยได้รับยา cisapride และ prucalopride ร่วมกัน
1. ยาสองตัวนี้สามารถจ่ายในคลีนิคได้หรือไม่ cisapride ระดับยาตามกฏหมาย จัดเป็นยาควบคุมพิเศษที่ต้องจ่ายในโรงพยาบาลใช่หรือไม่
2. ในทางปฏิบัติการใช้ cisapide และ prucalopride มีการmonitor EKG ระหว่างการใช้ยาหรือไม่ 3. ยาสองตัวนี้ cisapride และ prucalopride สามารถให้ร่วมกันได้หรือไม่

[รหัสคำถาม : 166] วันที่รับคำถาม : 29 ธ.ค. 63 - 20:44:39 ถามโดย : บุคลากร วิทยาศาสตร์สุขภาพ

เข้าระบบเพื่อตอบคำถาม

No : 1

ยา cisapride และ prucalopride เป็นยากลุ่ม serotonergic agents มีการนำยากลุ่มนี้มารักษาภาวะท้องผูกเรื้อรังโดยจัดเป็นยาลำดับหลังๆ ที่มีการเลือกใช้[1] ประเภทยาตามกฎหมายของยาทั้งสอง คือยาควบคุมพิเศษ[2] ประกาศจากศูนย์ติดตามอาการไม่พึงประสงค์จากการใช้ผลิตภัณฑ์สุขภาพในปี พ.ศ. 2543 ได้จัดให้ยา cisapride เป็นยาควบคุมพิเศษ ซึ่งจำหน่ายได้เฉพาะในโรงพยาบาล และเป็นยาที่ต้องติดตามความปลอดภัยอย่างใกล้ชิด เนื่องจากมีข้อมูลรายงานอาการไม่พึงประสงค์คือ พบความผิดปกติในการเต้นของหัวใจ[3] ยา prucalopride ยังคงเป็นยาใหม่ที่ต้องการข้อมูลหลังจำหน่ายเพิ่มเติม และพบรายงานการเกิดความผิดปกติในการเต้นของหัวใจจำกัด[4] สำหรับการให้ยา cisapride และ prucalopride ร่วมกัน ไม่ได้ระบุว่ายาทั้ง 2 ชนิดเกิดอันตรกิริยาต่อกัน[5] อย่างไรก็ตาม ยาทั้ง 2 ชนิด จัดเป็นยาที่ออกฤทธิ์เหมือนกัน โดย cisapride เป็น non-selective 5-HT4 agonist ส่วนยา prucalopride เป็น secondary-genaration 5-HT4 agonist ซึ่งมี selectivity ต่อ 5-HT4[4] โดยผู้ป่วยที่ได้รับยา cisapride ควรมีการตรวจ ECG ก่อนใช้ยา และไม่ควรใช้ยาหาก QTc >450 msec[5] ในส่วนของยา prucalopride ควรมีการติดตาม ECG แต่ต้องติดตามอาการทางระบบหลอดเลือดและหัวใจ เช่น ใจสั่น (palpitations) [6] หากผู้ป่วยใช้ยา 2 ชนิดนี้ร่วมกันจะเป็นการใช้ยาอย่างซ้ำซ้อน เพราะมีการใช้ยาในกลุ่มเดียวกันมากกว่า 1 ชนิดร่วมกัน โดยไม่ก่อให้เกิดประโยชน์เพิ่มขึ้น แต่จะเป็นการเพิ่มพิษของยา เช่น ปวดศรีษะ ท้องเสีย ปวดท้อง และอาเจียน และทำให้เสียค่าใช้จ่ายโดยเปล่าประโยชน์ ดังนั้นจึงไม่ควรใช้ยา cisapride และ prucalopride ร่วมกัน[5] [6] [7]

เอกสารอ้างอิง
[1] ถนอมพงษ์ เสถียรลัคนา. การจัดการภาวะท้องผูกเรื้อรังสำหรับเภสัชกรชุมชน. เภสัชศาสตร์อีสาน. 2563; 16(1) : 6
[2] ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ยาควบคุมพิเศษ ฉบับที่ 23 (online). 2544. [18 ธ.ค. 63]. เข้าถึงได้จาก: https://www.fda.moph.go.th/sites/drug/Shared%20Documents/Law03-TheMinistryOfHealth/SPC(23)
[3] ศูนย์ติดตามอาการไม่พึงประสงค์จากการใช้ผลิตภัณฑ์สุขภาพ. ยา cisapride (internet). 2543. [18 ธ.ค.63]. เข้าถึงได้จาก: http://thaihpvc.fda.moph.go.th/thaihvc/Public/News/uploads/hpvc_2_5_0_100393.pdf
[4] Giudicessi JR. Cardiovascular safety of prokinetic agents: A focus on drug-induced arrhythmias. Neurogastroenterol Motil. 2018 Jun;30(6)
[5] Drug Information Handbook International (Lexicomp®). Cisapride (Application). [cited 2020 Dec 18]
[6] Drug Information Handbook International (Lexicomp®). Prucalopride (Application). [cited 2020 Dec 18]
[7] World Health Organization. 2010. Medicines: rational use of medicines. Fact sheet No.338 May 2010.
วันที่ตอบ : 29 ธ.ค. 63 - 20:47:56




พัฒนาระบบโดย ภานุชญา มณีวรรณ ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา 90110