ให้บริการโดยคณาจารย์ เภสัชกรผู้เชี่ยวชาญด้านยาและสุขภาพ


คำชี้แจง "เว็บไซต์นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อการ ศึกษา การแลกเปลี่ยนความรู้ และให้ข้อมูลเรื่องยาในกรณีทั่วไป ไม่ใช่คำแนะนำทางการแพทย์หรือเพื่อการรักษาในกรณีที่จำเพาะเจาะจง และความเห็นสำหรับกรณีเฉพาะหนึ่ง จะไม่สามารถประยุกต์ใช้กับผู้อื่นได้โดยตรง หากมีปัญหาเรื่องโรคโปรดปรึกษาแพทย์ หากมีปัญหาเรื่องยา โปรดปรึกษาเภสัชกร หรือปรึกษาผู้เกี่ยวข้องโดยตรงกับกรณีนั้นด้วยตนเองเท่านั้น"

Search :
ภาวะ dm ทำให้เกิด lactic acidosis แต่ metformin มีข้อมูลการเกิด lactic acidosis

ภาวะ dm ทำให้เกิด lactic acidosis แต่ metformin มีข้อมูลการเกิด lactic acidosis เช่นกัน ขนาดยาที่ใช้อยู่ระหว่าง ไม่เกิน 2000 - 2550 mg/วัน
แนวทางการให้ยาผู้ป่วยควรเป็นอย่างไรคะ

[รหัสคำถาม : 167] วันที่รับคำถาม : 29 ธ.ค. 63 - 21:29:00 ถามโดย : บุคลากร วิทยาศาสตร์สุขภาพ

เข้าระบบเพื่อตอบคำถาม

No : 1

การรักษาโรคเบาหวานในปัจจุบันตามแนวทางการรักษา ADA 2021 Standards of Medical Care in Diabetes และแนวทางเวชปฏิบัติสำหรับโรคเบาหวาน พ.ศ. 2560 ให้ข้อมูลสอดคล้องกันว่า โรคเบาหวานชนิดที่ 2ที่ไม่มีโรคร่วมคือ โรคหัวใจและหลอดเลือด และ/หรือ โรคไตเรื้อรัง (eGFR <60 มล./นาที/1.73 m2 และ/หรือมีอัลบูมินในปัสสาวะ≥300 มก/ก)[1,2] ควรเริ่มการรักษาด้วย metformin (คุณภาพหลักฐานระดับ 2, น้ำหนักคำแนะนำ ++) ร่วมกับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของผู้ป่วย และห้ามใช้ยานี้ในผู้ป่วยที่มีระดับ eGFR < 30 มล./นาที/1.73 m2 [1,2]
ยา metformin ที่แนะนำให้ใช้ในผู้ป่วยอายุ 17 ปีขึ้นไป ในรูปแบบ immediate-release ขนาดยาเริ่มต้น คือ 500 mg วันละ 2 ครั้ง หรือ 850 mg วันละครั้ง และอาจปรับเพิ่มขึ้นเป็น 850 วันละ 2 ครั้ง หลังจากใช้ยานาน 2 สัปดาห์ ขนาดยาสูงสุด คือ 2,550 mg ต่อวัน ส่วนรูปแบบยา extended-release ควรเริ่มที่ขนาดยา 500-1,000 mg วันละครั้ง ขนาดยาสูงสุด คือ 2,000 mg ต่อวัน[1,3] สำหรับผู้ป่วยไตเรื้อรังที่มีระดับ eGFR 30-45 มล./นาที/1.73 m2 ควรใช้ขนาดยาไม่เกิน 1,000 mg ต่อวัน และติดตามระดับ eGFR ทุก 3-6 เดือน เพื่อลดความเสี่ยงเกิด lactic acidosis[2]
ภาวะ lactic acidosis คือ ภาวะที่ร่างกายสร้าง lactate มากเกินไป และ/หรือมีการกำจัด lactate ลดลง (ระดับ normal lactate คือ < 2 mmol/L) สาเหตุส่วนใหญ่เกิดจาก tissue hypoperfusion in shock เนื่องจากภาวะไตวาย ภาวะขาดน้ำ cardiac failure หรือ sepsis[4] และสาเหตุที่พบได้น้อย คือ metformin associated lactic acidosis (MALA) ซึ่งเป็นอาการข้างเคียงจากยา metformin[1] อุบัติการณ์การเกิดภาวะ lactic acidosis เท่ากับ 3 ต่อ 100,000 คนต่อปีถึง 10 ต่อ 100,000 คนต่อปี[5] แต่อาจทำให้เกิดอันตรายจนถึงขั้นเสียชีวิตได้ และมีความสัมพันธ์กับการทำงานของไต เนื่องจากยาถูกขับออกทางไตเป็นหลัก เมื่อไตทำงานแย่ลงจะส่งผลให้การขับยา metformin และ lactate ลดต่ำลง และอาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะ lactic acidosis[6] แต่การศึกษาที่บ่งชี้ถึงความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นของ lactic acidosis ในผู้ป่วยที่ได้รับยา metformin ที่เป็นโรคไตเรื้อรังยังมีจำกัด[5]
กล่าวคือแนวทางการใช้ยา metformin ที่เหมาะสมในผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 เพื่อลดความเสี่ยงของการเกิดภาวะ lactic acidosis จะสัมพันธ์กับการทำงานของไต[6] โดยพิจารณาจากระดับ eGFR ในผู้ป่วยเฉพาะราย โดยห้ามใช้ในผู้ป่วยที่มีระดับ eGFR< 30 มล./นาที/1.73 m2 [1,2] ขนาดยาสูงสุดที่ควรได้รับต่อวันคือ ไม่เกิน 2,000 ในรูปแบบ immediate-release และไม่เกิน 2,550 mg ในรูปแบบ extended-release[1,3]

เอกสารอ้างอิง
[1] ADA 2021 Standards of Medical Care in Diabetes,
[2] สมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทย ในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี (2560). แนวทางเวชปฏิบัติสำหรับโรคเบาหวาน พ.ศ.2560 (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: ร่มเย็น มีเดียร์.
[3] American Pharmacists Association. Drug information handbook: with international trade names index. 26th ed. Hudson, Ohio: Lexi-Comp; 2018. (1472-75)
[4] Foucher CD, Tubben RE. Lactic Acidosis. 2020 Nov 21. In: StatPearls [Internet]. Treasure Island (FL): StatPearls Publishing; 2020 Jan–. PMID: 29262026.
[5] Inzucchi SE, Lipska KJ, Mayo H, Bailey CJ, McGuire DK. Metformin in patients with type 2 diabetes and kidney disease: a systematic review. JAMA. 2014 Dec 24-31;312(24):2668-75. doi: 10.1001/jama.2014.15298. PMID: 25536258; PMCID: PMC4427053.
[6] Rotjana Jakmatakul, Review Article: Metformin-Associated Lactic Acidosis. วารสารสมาคมเวชศาสตร์ป้องกันแห่งประเทศไทย ปีที่ 8 ฉบับที่ 1 มกราคม-เมษายน 2561
วันที่ตอบ : 29 ธ.ค. 63 - 21:37:27




พัฒนาระบบโดย ภานุชญา มณีวรรณ ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา 90110