ให้บริการโดยคณาจารย์ เภสัชกรผู้เชี่ยวชาญด้านยาและสุขภาพ


คำชี้แจง "เว็บไซต์นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อการ ศึกษา การแลกเปลี่ยนความรู้ และให้ข้อมูลเรื่องยาในกรณีทั่วไป ไม่ใช่คำแนะนำทางการแพทย์หรือเพื่อการรักษาในกรณีที่จำเพาะเจาะจง และความเห็นสำหรับกรณีเฉพาะหนึ่ง จะไม่สามารถประยุกต์ใช้กับผู้อื่นได้โดยตรง หากมีปัญหาเรื่องโรคโปรดปรึกษาแพทย์ หากมีปัญหาเรื่องยา โปรดปรึกษาเภสัชกร หรือปรึกษาผู้เกี่ยวข้องโดยตรงกับกรณีนั้นด้วยตนเองเท่านั้น"

Search :
ผู้ป่วยเกิดภาวะ Mild hypophosphatemia แพทย์ต้องการใช้ Joulie’s Solution ที่เป็นเ

ผู้ป่วยเกิดภาวะ Mild hypophosphatemia แพทย์ต้องการใช้ Joulie’s Solution ที่เป็นเภสัชตำรับโรงพยาบาล สูตรดังนี้ Joulie’s Solution ประกอบด้วย Na = 0.76 mmol/mL P = 0.89 mmol/mL อยากทราบว่าควรให้ผู้ป่วยรับประทานอย่างไร เท่าที่ค้นมาเจอว่าให้กินครั้งละ 4 mL q 4 hr พอรวม ๆ แล้วก็จะได้ P = 24 mL x 0.89 mmol = 21.36 mmol อยากทราบว่า 21.36 mmol/day จะเพียงพอในการรักษาผู้ป่วยรายนี้หรือเปล่าครับ

[รหัสคำถาม : 170] วันที่รับคำถาม : 29 ธ.ค. 63 - 22:45:35 ถามโดย : บุคลากร วิทยาศาสตร์สุขภาพ

เข้าระบบเพื่อตอบคำถาม

No : 1

ภาวะฟอสเฟตต่ำ (Hypophosphatemia) หมายถึง ภาวะที่ระดับฟอสเฟตในเลือดน้อยกว่า 0.8 mmol/L ในผู้ใหญ่[1-2] อาการของภาวะฟอสเฟตต่ำที่สามารถพบได้ คือ กล้ามเนื้ออ่อนแรง, ชัก, ความผิดปกติของระบบหัวใจและหลอดเลือด ระบบประสาท รวมทั้งระบบหายใจที่ล้มเหลว[3] โดยระดับความรุนแรงของภาวะฟอสเฟตต่ำแบ่งออกเป็น 3 ระดับ คือ ระดับไม่รุนแรง (Mild) มีฟอสเฟตในเลือด 0.6 – 0.79 mmol/L, ระดับปานกลาง (Moderate) มีฟอสเฟตในเลือด 0.3 – 0.59 mmol/L และระดับรุนแรง (Severe) มีฟอสเฟตในเลือด น้อยกว่า 0.3 mmol/L[2] การรักษาภาวะฟอสเฟตต่ำด้วยการให้ฟอสเฟตทดแทนควรพิจารณาตามระดับความรุนแรง โดยภาวะ Mild hypophosphatemia (มีฟอสเฟตในเลือด 0.6 – 0.79 mmol/L) ควรให้การรักษาด้วยฟอสเฟตชนิดรับประทาน (Oral phosphate salts) ในขนาด 30-60 mmol ต่อวัน[3] ในกรณีที่เลือกใช้ Joulie’s Solution ซึ่งอาจมีสูตรที่ให้ปริมาณฟอสเฟตแตกต่างกันไปตามแต่ละสถานพยาบาล[4-5] ในกรณีที่สูตรตำรับ Joulie’s Solution ของโรงพยาบาลประกอบด้วยโซเดียม 0.76 mmol/mL ฟอสเฟต 0.89 mmol/mL เมื่อสั่งใช้ 4 mL ทุก 4 ชั่วโมง จะได้ฟอสเฟต เท่ากับ 21.36 mmol ต่อวัน ซึ่งอาจไม่เพียงพอต่อการรักษา จึงจำเป็นต้องเพิ่มขนาดของ Joulie’s Solution อย่างไรก็ตามการให้ Joulie’s Solution ในขนาดสูง (มากกว่า 30-60 mmol ต่อวัน อาจเกิดอาการไม่พึงประสงค์จากการใช้ยา คือ ท้องเสีย (Osmotic diarrhea)[3,6] ในกรณีที่ผู้ป่วยจำเป็นต้องได้รับฟอสเฟตในปริมาณที่สูง อาจพิจารณาให้ในรูปแบบฉีดเข้าทางหลอดเลือดดำ (Parenteral phosphate) เพื่อหลีกเลี่ยงอาการไม่พึงประสงค์ต่อระบบทางเดินอาหาร[3]

เอกสารอ้างอิง
[1] Lederer E. Hypophosphatemia [Internet]. New York [updated 2020 Jun 19; cited 2020 Dec 18]. Medscape, LLC; [about 1 screen]. Available from: https://emedicine.medscape.com/
article/242280-overview#a5.
[2] NHS Grampian. NHS Grampian Staff Guideline For The Management Of Acute Hopophosphataemia in Adults. 2018; 1-5.
[3] Dipiro JT, Talbert RL, Yee GC, Matzke GR, Wells BG, Posey LM. Pharmacotherapy : A Pathophysiologic Approach. 10th ed. New York: McGraw-Hill Education. 2017; 752-55.
[4] คณะกรรมการพัฒนาระบบยาแห่งชาติ. บัญชียาหลักแห่งชาติ พ.ศ.๒๕๖๑. 2561; 76.
[5] ชมรมเภสัชกรงานผลิตยาโรงพยาบาล (ประเทศไทย). PHOSPHORUS SUPPLEMENTATION. 2559; 13-6.
[6] Imel EA, Econs MJ. Approach to the Hypophosphatemic Patient. J Clin Endocrinol Metab 2012; 97(3): 696 –706.
วันที่ตอบ : 30 ธ.ค. 63 - 08:16:33




พัฒนาระบบโดย ภานุชญา มณีวรรณ ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา 90110