ให้บริการโดยคณาจารย์ เภสัชกรผู้เชี่ยวชาญด้านยาและสุขภาพ


คำชี้แจง "เว็บไซต์นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อการ ศึกษา การแลกเปลี่ยนความรู้ และให้ข้อมูลเรื่องยาในกรณีทั่วไป ไม่ใช่คำแนะนำทางการแพทย์หรือเพื่อการรักษาในกรณีที่จำเพาะเจาะจง และความเห็นสำหรับกรณีเฉพาะหนึ่ง จะไม่สามารถประยุกต์ใช้กับผู้อื่นได้โดยตรง หากมีปัญหาเรื่องโรคโปรดปรึกษาแพทย์ หากมีปัญหาเรื่องยา โปรดปรึกษาเภสัชกร หรือปรึกษาผู้เกี่ยวข้องโดยตรงกับกรณีนั้นด้วยตนเองเท่านั้น"

Search :
กินยา colchicine แล้วมีอาการท้องเสีย จึงสงสัยว่า จะท้องเสียเฉพาะช่วงแรกที่กิน (ก

กินยา colchicine แล้วมีอาการท้องเสีย จึงสงสัยว่า จะท้องเสียเฉพาะช่วงแรกที่กิน (กินต่อไปแล้วอาการลดลง) หรือว่าจะท้องเสียตลอดไป และถ้าท้องเสียต่อเนื่อง ควรทำอย่างไร หรือกินยาอะไรแทนดี

[รหัสคำถาม : 176] วันที่รับคำถาม : 30 ธ.ค. 63 - 23:06:47 ถามโดย : บุคคลทั่วไป

เข้าระบบเพื่อตอบคำถาม

No : 1

ยา colchicine มักใช้ในการรักษาโรคเกาต์5,6 ในที่นี้จึงขอกล่าวถึงยา colchicine สำหรับข้อบ่งใช้ในโรคเกาต์เท่านั้น
ยา colchicine เป็นยาอันดับแรกที่มีการแนะนำให้ใช้สำหรับการรักษาโรคเกาต์ในระยะข้ออักเสบกำเริบอย่างเฉียบพลันตามแนวเวชปฏิบัติโดยสมาคมรูมาติสซั่มแห่งประเทศไทยปี พ.ศ. 25551 และแนวเวชปฏิบัติการดูแลรักษาโรคเกาต์โดยสมาคมโรคข้อแห่งประเทศอังกฤษ ปี ค.ศ. 20178 ซึ่งได้แนะนำให้ใช้ยาในขนาด 0.5-0.6 มก. วันละ 2-4 ครั้งจนข้ออักเสบหายสนิท1,8
ผลข้างเคียงที่พบได้บ่อยจากการใช้ยา colchicine ได้แก่ ท้องเสีย (23-77%)5 เนื่องยาลดการดูดซึมโซเดียมและเพิ่มการหลั่งคลอไรด์ เปลี่ยนแปลงการเคลื่อนไหวของลำไส้ เพิ่ม luminal osmolarity และเพิ่ม tissue hydrostatic pressure ในทางเดินอาหาร6
จากการสืบค้นข้อมูลชนิด systematic reviews ที่ศึกษาผลข้างเคียงที่เกิดขึ้นจากการใช้ยา colchicine ในโรคเกาต์, โรคตับแข็ง และ โรคเยื่อหุ้มหัวใจอักเสบ ระยะเวลาการใช้ยาตั้งแต่ 1 ชั่วโมงถึง 10 ปี9 พบว่ากลุ่มที่ได้รับยา colchicine เกิดท้องเสีย 17.9 % เมื่อเปรียบเทียบกับยาชนิดอื่นที่ใช้ในการรักษาโรคเดียวกัน ที่เกิดอาการท้องเสียเพียง 13.1% (RR 2.4, 95%CI 1.6-3.7) นั่นคือยา colchicine สามารถทำให้เกิดอาการท้องเสียได้จากการใช้ยาทั้งในระยะสั้นและระยะยาว9 แต่ในการศึกษามิได้รายงานว่าอาการท้องเสียจะลดลงหรือไม่หากมีการใช้ยา colchicine ไปอย่างต่อเนื่อง
สำหรับการจัดการปัญหาท้องเสียที่เกิดจากยา colchicine สามารถพิจารณาการลดขนาดยาลงร่วมกับการให้ยารักษาอาการท้องเสีย เช่น loperamide ควบคู่ไปกับการให้สารละลายเกลือแร่ หรือ ORS เพื่อป้องกันการขาดน้ำและเกลือแร่2 และหากผู้ป่วยไม่สามารถทนต่ออาการท้องเสียจากยา colchicine ได้ควรเปลี่ยนไปใช้ยา NSAIDs หรือ nonsteroidal anti-inflammatory drugs เช่น diclofenac, naproxen, ibuprofen ซึ่งยาทุกชนิดในกลุ่มนี้มีประสิทธิภาพในการรักษาโรคเกาต์ได้ใกล้เคียงกัน1 สำหรับผู้ที่มีข้อห้ามใช้ยากลุ่ม NSAIDs ให้เปลี่ยนมาใช้ยากลุ่ม
สเตียรอยด์ในขนาดต่ำแทน1,8 เช่น prednisolone 0.5 มก./กก./วัน ซึ่งหากอาการปวดดีขึ้นแล้ว สามารถหยุดยากลุ่มนี้ได้โดยจะค่อย ๆ ลดขนาดยาลง1 และเมื่อมีการหยุดใช้ยา colchicine อาการท้องเสียจะดีขึ้นเองภายใน 1-2 สัปดาห์8

Reference
1. แนวทางเวชปฏิบัติการดูแลรักษาโรคเกาต์ พ.ศ.2555.สมาคมรูมาติซึ่งแห่งประเทศไทย.เข้าถึงจาก https://www.thairheumatology.org/wp-content/uploads/2016/08/Guideline-for-Management-of-Gout.pdf สืบค้นเมื่อวันที่ 15/12/2563
2. ววรรธน์ อัครวิเชียร.ท้องเสียที่เกิดจากยา.วาสารเภสัชกรรมชุมชน(ส.ค.2559).15,87.สมาคมเภสัชกรรมชุมชนประเทศไทย.เข้าถึงจาก : https://library.cmu.ac.th/faculty/pharmacy/assets/upfile_article/n610284.pdf สืบค้นเมื่อวันที่ 15/12/2563
3. ศูนย์พิษวิทยารามาธิปดี.Colchicine poisoning.เข้าถึงจาก: https://med.mahidol.ac.th/poisoncenter/th/bulletin/bul98/v6n1/Tox_case_conf สืบค้นเมื่อวันที่ 15/12/2563
4. DINESH K, PUJA P, JOHN D and et al. American College of Rheumatology Guidelines for Management of Gout 2012. Part 2: Therapy and Antiinflammatory Prophylaxis of Acute Gouty Arthritis.Available at: https://www.rheumatology.org/Portals/0/Files/ACR%20Guidelines%20for%20Management%20of%20Gout_Part%202.pdf Accessed on 15/12/2020
5. Erwin K, Kastrup, Mike h,Drug fact and comparison 2017.Wolters Kluwer.United State of America
6. Joseph T, Robert L, Gary C and et al.Pharmacotherapy a phathophysiologic approach 9th edition.McGraw-Hill Education.2014.
7. Laurence L, Bruce A, Bjorn C.Goodman & Gilman’s The pharmacological Basic of Therapeutic 12th Edition. McGraw-Hill Education.2011
8 .Michelle H, Alison C, Stewart C and et al.The British Society for Rheumatology Guideline for the Management of Gout 2017. Available at: https://academic.oup.com/rheumatology/article/56/7/e1/3855179.Accessed on 15/12/2020
9. Stewart S, Yang KCK, Atkins K, Dalbeth N, Robinson PC. Adverse events during oral colchicine use: a systematic review and meta-analysis of randomised controlled trials. Arthritis Res Ther. 2020 Feb 13;22(1):28. doi: 10.1186/s13075-020-2120-7. PMID: 32054504; PMCID: PMC7020579.
10. Terkeltaub RA, Furst DE, Bennett K, Kook KA, Crockett RS, Davis MW. High versus low dosing of oral colchicine for early acute gout flare: Twenty-four-hour outcome of the first multicenter, randomized, double-blind, placebo-controlled, parallel-group, dose-comparison colchicine study. Arthritis Rheum. 2010 Apr;62(4):1060-8. doi: 10.1002/art.27327. PMID: 20131255.


วันที่ตอบ : 30 ธ.ค. 63 - 23:30:01




พัฒนาระบบโดย ภานุชญา มณีวรรณ ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา 90110