ให้บริการโดยคณาจารย์ เภสัชกรผู้เชี่ยวชาญด้านยาและสุขภาพ


คำชี้แจง "เว็บไซต์นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อการ ศึกษา การแลกเปลี่ยนความรู้ และให้ข้อมูลเรื่องยาในกรณีทั่วไป ไม่ใช่คำแนะนำทางการแพทย์หรือเพื่อการรักษาในกรณีที่จำเพาะเจาะจง และความเห็นสำหรับกรณีเฉพาะหนึ่ง จะไม่สามารถประยุกต์ใช้กับผู้อื่นได้โดยตรง หากมีปัญหาเรื่องโรคโปรดปรึกษาแพทย์ หากมีปัญหาเรื่องยา โปรดปรึกษาเภสัชกร หรือปรึกษาผู้เกี่ยวข้องโดยตรงกับกรณีนั้นด้วยตนเองเท่านั้น"

Search :
Drug interaction ระหว่างยา Fluconazole กับเครื่องดื่มแอลกอฮลล์

Drug interaction ระหว่างยา Fluconazole กับเครื่องดื่มแอลกอฮลล์

[รหัสคำถาม : 179] วันที่รับคำถาม : 31 ธ.ค. 63 - 09:34:52 ถามโดย : นักศึกษา วิทยาศาสตร์สุขภาพ

เข้าระบบเพื่อตอบคำถาม

No : 1

ยา fluconazole เป็นยาในกลุ่ม Azoles ที่มีฤทธิ์ต้านเชื้อรา โดยเฉพาะเชื้อ Candida species ทั้งช่องปากและส่วนอื่นของร่างกาย มีทั้งในรูปแบบยารับประทานและยาฉีด ในที่นี้จะขอกล่าวถึงเฉพาะรูปแบบยารับประทาน
ยา fluconazole รูปแบบยารับประทานถูกดูดซึมผ่านทางเดินอาหารได้ดี โดยอาหารไม่มีผลรบกวนการดูดซึมยา เมื่อรับประทานยาแล้ว ความเข้มข้นของยาจะเกิดขึ้นสูงสุดภายใน 1-2 ชั่วโมง และส่วนใหญ่ยาถูกกำจัดออกทางปัสสาวะ (ร้อยละ 80 ในรูปไม่เปลี่ยนแปลง) ยา fluconazole ทำให้เกิดผลข้างเคียงที่พบบ่อย คือ ผลข้างเคียงต่อระบบประสาทส่วนกลาง (เช่น ปวดศีรษะ) ส่วนผลข้างเคียงอาจพบได้ ได้แก่ ผลข้างเคียงต่อผิวหนัง (เกิดผื่นที่ผิวหนัง) ผลข้างเคียงต่อทางเดินอาหาร (เช่น คลื่นไส้ อาเจียน ท้องร่วง อาหารไม่ย่อย) นอกจากนี้ยา fluconazole อาจทำให้เกิดพิษต่อตับและภาวะตับวายได้ ถึงแม้ว่าโอกาสเกิดขึ้นน้อย แต่การใช้ยา fluconazole ควรระวังในผู้ป่วยที่มีการทำงานของตับที่ไม่ปกติ หากพบว่าการทำงานของตับบกพร่องมากขึ้นภายหลังจากการใช้ยา fluconazole จะต้องหยุดการใช้ยาชนิดนี้1, 2
สำหรับข้อมูลของการเกิดอันตรกิริยาระหว่างยา (drug interaction) ของยา fluconazole กับเครื่องดื่มแอลกอฮอล์มีจำกัด จากการสืบค้นข้อมูลพบว่า ยังไม่มีข้อมูลที่ชัดเจนของการเกิดพิษต่อตับจากการใช้ยา fluconazole ร่วมกับเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ แต่อย่างไรก็ตาม เครื่องดื่มแอลกอฮอล์สามารถทำให้ตับทำงานบกพร่องได้ ควรจำกัดการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และควรปรึกษาแพทย์ก่อนการใช้ยาfluconazole1, 3, 4

เอกสารอ้างอิง
1. Wolters Kluwer. Fluconazole [Internet]. Wolters Kluwer Clinical Drug Information: AccessMedicine; 2022 [cited 2022 Jul 10]. Available from: https://accessmedicine.mhmedical.com/
2. Gayam V, Khalid M, Shrestha B, et al. Drug-induced liver injury: an institutional case
series and review of literature. J Investig Med High Impact Case Rep 2018;6: 2324709618761754.
3. Mergenhagen KA, Wattengel BA, Skelly MK, et al. Fact versus fiction: a review of the evidence behind alcohol and antibiotic interactions. Antimicrob Agents Chemother 2020;64(3):e02167-19.
4. Katz HI, Gupta AK. Oral antifungal drug interactions. Dermatol Clin 1997;15:535–44.


วันที่ตอบ : 12 ก.ค. 65 - 14:49:33




พัฒนาระบบโดย ภานุชญา มณีวรรณ ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา 90110