ให้บริการโดยคณาจารย์ เภสัชกรผู้เชี่ยวชาญด้านยาและสุขภาพ


คำชี้แจง "เว็บไซต์นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อการ ศึกษา การแลกเปลี่ยนความรู้ และให้ข้อมูลเรื่องยาในกรณีทั่วไป ไม่ใช่คำแนะนำทางการแพทย์หรือเพื่อการรักษาในกรณีที่จำเพาะเจาะจง และความเห็นสำหรับกรณีเฉพาะหนึ่ง จะไม่สามารถประยุกต์ใช้กับผู้อื่นได้โดยตรง หากมีปัญหาเรื่องโรคโปรดปรึกษาแพทย์ หากมีปัญหาเรื่องยา โปรดปรึกษาเภสัชกร หรือปรึกษาผู้เกี่ยวข้องโดยตรงกับกรณีนั้นด้วยตนเองเท่านั้น"

Search :
ผู้ป่วยชายอายุ 35 ปี มีอาการปวดหลังส่วนล่าง เกิดจากการยกของผิดท่าแล้วยังคงต้องทำ

ผู้ป่วยชายอายุ 35 ปี มีอาการปวดหลังส่วนล่าง เกิดจากการยกของผิดท่าแล้วยังคงต้องทำงาน มีอาการปวดมาก มีประวัติเคยเป็นโรคกระเพาะอาหาร ไม่อยากกินยา NSAIDs จะใช้ Paracetamol หรือยาคลายกล้ามเนื้อได้หรือไม่

[รหัสคำถาม : 198] วันที่รับคำถาม : 26 ม.ค. 64 - 09:50:16 ถามโดย : นักศึกษา วิทยาศาสตร์สุขภาพ

เข้าระบบเพื่อตอบคำถาม

No : 1

อาการปวดหลังส่วนล่าง (low back pain) สามารถแบ่งตามระยะเวลาของอาการ ได้เป็น acute (น้อยกว่า 4 สัปดาห์), subacute (4-12 สัปดาห์) และ chronic (12 สัปดาห์ขึ้นไป) ซึ่งมากกว่าร้อยละ 85 ของผู้มีอาการทั้งหมด มีสาเหตุการเกิดที่ไม่ชัดเจน (non-specific) ซึ่งอาการปวดสามารถหายได้เองภายใน 2-3 สัปดาห์[1]
การรักษาอาการปวดหลังส่วนล่างชนิดเฉียบพลัน (acute low back pain) ด้วยยามักจะมีการให้ใช้ยาในกลุ่ม Non-steroidal Anti-inflammaory (NSAIDs) แต่หากผู้ป่วยมีข้อห้ามใช้ หรือใช้ยาแล้วไม่ได้ผล อาจจะเปลี่ยนเป็นยากลุ่ม Weak Opioids เช่น Tramadol, Orphenadrine, Tizanidine เป็นต้น [1],[2],[3] ส่วนการใช้ของยา Paracetamol และ ยาคลายกล้ามเนื้อเดี่ยว (monotherapy) ในการรักษา acute low back pain ยังมีข้อมูลที่ไม่ชัดเจนในด้านประสิทธิภาพการลดปวด
อย่างไรก็ตามแนวทางการรักษาจากวิทยาลัยการแพทย์ในประเทศสหรัฐอมริกาได้แนะนำการใช้ยาคลายกล้ามเนื้อในการรักษา acute/subacute low back pain[4] ซึ่งมีการวิเคราะห์อภิมานที่ศึกษาประสิทธิภาพการลดอาการปวดของ ยาคลายกล้ามเนื้อเดี่ยว เทียบกับ placebo พบว่าสามารถลดอาการปวดได้อย่างมีนัยสำคัญในการรักษาระยะสั้น ดังนั้นอาจใช้ยาคลายกล้ามเนื้อในการรักษาแบบเดี่ยวได้ ซึ่งอาการข้างเคียงจากการใช้ยาที่สำคัญ คือ ง่วงซึม, มึนเวียนศีรษะ[5]
มีการวิเคราะห์อภิมานที่ศึกษาถึงประสิทธิภาพในการลดปวดหลังส่วนล่างใช้ Paracetamol เดี่ยวขนาด 4g/day เทียบกับ placebo ผลการศึกษาไม่พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญในการลดปวดจากการใช้ยารักษาระยะสั้น[6]และมีการศึกษาแบบ RCT ที่ศึกษาระยะเวลาที่หายจากอาการปวดหลังส่วนล่างใช้ Paracetamol เดี่ยวขนาด 4g/day เทียบกับ placebo ผลการศึกษาพบว่าไม่มีความแตกต่างกันของระยะเวลาที่หายจากอาการปวดหลังส่วนล่างใช้ยารักษาระยะเวลา 4 สัปดาห์ [7] ดังนั้นในปัจจุบันไม่แนะนำการใช้ Paracetamol เดี่ยวในการรักษา acute low back pain ถ้าหากผู้ป่วยสามารถใช้ยาอื่นดังที่กล่าวมาข้างต้น
การใช้ Paracetamol ในการลดอาการปวดหลังส่วนล่าง จะแนะนำให้ใช้ควบคู่กันกับยาในกลุ่ม Weak Opioids เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการลดปวด จากการศึกษาแบบ RCT เปรียบเทียบระหว่าง Tramadol/Paracetamol (75mg/650mg) กับ placebo ในการรักษาอาการปวดหลังส่วนล่าง ผลการศึกษาพบว่ากลุ่มที่ได้รับยาสามารถลดอาการปวดลงได้อย่างมีนัยสำคัญ และอาการข้างเคียงที่เกิดขึ้นได้ เช่น คลื่นไส้, มึนเวียนศีรษะ, ง่วงนอน[8]




เอกสารอ้างอิง
1. Christopher L., Richard A., Thomas O., Joyce W. (2020). Treatment of acute low back pain. In J. A. Melin (Ed.), Uptodate. Retrieved December 11, 2020 , from https://www.uptodate.com/contents/treatment-of-acute-low-back-pain?search=treatment%20of%20acute%20low%20back%20pain&source=search_result&selectedTitle=1~35&usage_type=default&display_rank=1
2. National Guideline Centre (UK). Low Back Pain and Sciatica in Over 16s: Assessment and Management. London: National Institute for Health and Care Excellence (UK); 2016 Nov. PMID: 27929617.
3. Oliveira CB, Maher CG, Pinto RZ, Traeger AC, Lin CC, Chenot JF, van Tulder M, Koes BW. Clinical practice guidelines for the management of non-specific low back pain in primary care: an updated overview. Eur Spine J. 2018 Nov;27(11):2791-2803. doi: 10.1007/s00586-018-5673-2. Epub 2018 Jul 3. PMID: 29971708.
4. Qaseem A, Wilt TJ, McLean RM, Forciea MA; Clinical Guidelines Committee of the American College of Physicians. Noninvasive Treatments for Acute, Subacute, and Chronic Low Back Pain: A Clinical Practice Guideline From the American College of Physicians. Ann Intern Med. 2017 Apr 4;166(7):514-530. doi: 10.7326/M16-2367. Epub 2017 Feb 14. PMID: 28192789.
5. Abdel Shaheed C, Maher CG, Williams KA, McLachlan AJ. Efficacy and tolerability of muscle relaxants for low back pain: Systematic review and meta-analysis. Eur J Pain. 2017 Feb;21(2):228-237. doi: 10.1002/ejp.907. Epub 2016 Jun 22. PMID: 27329976.
6. Saragiotto BT, Machado GC, Ferreira ML, Pinheiro MB, Abdel Shaheed C, Maher CG. Paracetamol for low back pain. Cochrane Database Syst Rev. 2016 Jun 7;2016(6):CD012230
7. Williams CM, Maher CG, Latimer J, McLachlan AJ, Hancock MJ, Day RO, Lin CW. Efficacy of paracetamol for acute low-back pain: a double-blind, randomised controlled trial. Lancet. 2014 Nov 1;384(9954):1586-96. doi: 10.1016/S0140-6736(14)60805-9. Epub 2014 Jul 23. PMID: 25064594.
8. Lasko B, Levitt RJ, Rainsford KD, Bouchard S, Rozova A, Robertson S. Extended-release tramadol/paracetamol in moderate-to-severe pain: a randomized, placebo-controlled study in patients with acute low back pain. Curr Med Res Opin. 2012 May;28(5):847-57. doi: 10.1185/03007995.2012.681035. Epub 2012 Apr 25. PMID: 22458917.

วันที่ตอบ : 26 ม.ค. 64 - 09:52:39




พัฒนาระบบโดย ภานุชญา มณีวรรณ ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา 90110