ให้บริการโดยคณาจารย์ เภสัชกรผู้เชี่ยวชาญด้านยาและสุขภาพ


คำชี้แจง "เว็บไซต์นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อการ ศึกษา การแลกเปลี่ยนความรู้ และให้ข้อมูลเรื่องยาในกรณีทั่วไป ไม่ใช่คำแนะนำทางการแพทย์หรือเพื่อการรักษาในกรณีที่จำเพาะเจาะจง และความเห็นสำหรับกรณีเฉพาะหนึ่ง จะไม่สามารถประยุกต์ใช้กับผู้อื่นได้โดยตรง หากมีปัญหาเรื่องโรคโปรดปรึกษาแพทย์ หากมีปัญหาเรื่องยา โปรดปรึกษาเภสัชกร หรือปรึกษาผู้เกี่ยวข้องโดยตรงกับกรณีนั้นด้วยตนเองเท่านั้น"

Search :
แพทย์จะทำ Pleurodesis ด้วย Talcum แต่ในโรงพยาบาลไม่มี Talcum จะใช้ยาใดแทนได้ที่ม

แพทย์จะทำ Pleurodesis ด้วย Talcum แต่ในโรงพยาบาลไม่มี Talcum จะใช้ยาใดแทนได้ที่มีประสิทธิภาพในการรักษาเช่นเดียวกัน

[รหัสคำถาม : 199] วันที่รับคำถาม : 29 ม.ค. 64 - 23:11:17 ถามโดย : บุคลากร วิทยาศาสตร์สุขภาพ

เข้าระบบเพื่อตอบคำถาม

No : 1

ยาที่ใช้ในการทำ pleurodesis ที่มีประสิทธิภาพดีที่สุด คือ Talcum [1],[2] โดยพบว่าการใช้ Talcum มี อัตราผลสำเร็จในการรักษา ร้อยละ 90-93 [2],[3] และพบการกลับเป็นซ้ำหลังจากการทำ pleurodesis ร้อยละ 8 [4] โดยอาการไม่พึงประสงค์ที่พบ ได้แก่ อาการปวด (ร้อยละ 7) [3]
หากไม่สามารถใช้ Talc ในการทำ pleurodesis ได้ ยาที่แนะนำให้ใช้ได้แต่มีประสิทธิภาพในการทำ pleurodesis รองลงมา ได้แก่ ยากลุ่ม tetracyclines [2,4-7] ยาที่มีใช้ได้แก่ tetracycline และ doxycycline ประสิทธิภาพของ Tetracycline ในการทำ pleurodesis มี อัตราผลสำเร็จในการรักษา ร้อยละ 67 พบอาการพึงประสงค์ได้แก่ อาการไข้ (ร้อยละ 10) และอาการเจ็บหน้าอกขณะหายใจเข้าหรือไอ (ร้อยละ 30) [3] ยาที่มีการศึกษาถึงประสิทธิภาพและใช้ทดแทนการใช้ยา tetracycline ได้ คือ Doxycycline [8] ซึ่งมักนิยมใช้มากในสหรัฐอเมริกา โดยมีอัตราผลสำเร็จในการรักษา ร้อยละ 72 อาการไม่พึงประสงค์ที่พบ ได้แก่ อาการไข้ (ร้อยละ 30) และ มีอาการเจ็บหน้าอกขณะหายใจเข้าหรือไอระดับเล็กน้อยถึงปานกลาง (มากถึงร้อยละ 60) [3] การศึกษาเปรียบเทียบประสิทธิภาพของยากลุ่ม tetracyclines กับ talcum พบว่า Tetracycline มีประสิทธิภาพต่ำว่าการใช้ talcum [9] ในการทำ pleurodesis ทั้งในการรักษาระยะสั้นและระยะยาว [8] และพบอัตราการกลับเป็นซ้ำร้อยละ 13 ซึ่งสูงกว่าการใช้ talcum [4] ส่วนการใช้ยา bleomycin ที่ใช้ในการจัดการภาวะ malignant pleural effusion มีอัตราผลสำเร็จในการรักษา ร้อยละ 54 [3] มีอาการไม่พึงประสงค์ที่พบได้แก่ อาการปวด (ร้อยละ 28) อาการไข้ (ร้อยละ 24) และอาการคลื่นไส้ (ร้อยละ 11) [3] ข้อเสียของการใช้ bleomycin คือ มีราคาแพงเมื่อเทียบกับการใช้ยาชนิดอื่นและต้องใช้บุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญในการให้ยากับผู้ป่วย [1],[5] ทำให้มีการใช้ยาชนิดนี้น้อยลงในปัจจุบัน






เอกสารอ้างอิง
[1]. Lexicomp. chemical pleurodesis.In :Post TW,Ed. UpToDate.Waltham :UpToDate;2020.(Asscess on December,14,2020.)
[2]. Sahn SA, Huggins JT. Malignant Pleural Effusions. In: Grippi MA, Elias JA, Fishman JA, Kotloff RM, Pack AI, Senior RM, Siegel MD. eds. Fishman's Pulmonary Diseases and Disorders, Fifth Edition. McGraw-Hill; Accessed December 22, 2020. https://accessmedicine.mhmedical.com/ content.aspx?bookid=1344& sectionid=81193338
[3]. Walker-Renard PB, Vaughan LM, Sahn SA. Chemical pleurodesis for malignant pleural effusions. Annals of Internal Medicine. 1994 Jan;120(1):56-64. DOI: 10.7326/0003-4819-120-1-199401010-00010.
[4]. Almind M, Lange P, Viskum K. Spontaneous pneumothorax: comparison of simple drainage, talc pleurodesis, and tetracycline pleurodesis. Thorax. 1989 Aug;44(8):627-30. doi: 10.1136/thx.44.8.627. PMID: 2799742; PMCID: PMC461989.
[5]. Antunes G, Neville E, Duffy J, et al.BTS guidelines for the management of malignant pleural effusions.Thorax 2003;58:ii29-ii38
[6]. American Thoracic Society. Management of malignant pleural effusions. Am J Respir Crit Care Med. 2000 Nov;162(5):1987-2001. doi: 10.1164/ajrccm.162.5.ats8-00. PMID: 11069845.
[7]. Light RW. Disorders of the Pleura. In: Jameson J, Fauci AS, Kasper DL, Hauser SL, Longo DL, Loscalzo J. eds. Harrison's Principles of Internal Medicine, 20e. McGraw-Hill; Accessed December 14, 2020. https://accessmedicine.mhmedical.com/content. aspx?bookid=2129§ionid= 19203 1615
[8]. Kuzdzał J, Sładek K, Wasowski D, Soja J, Szlubowski A, Reifland A, Zieliński M, Szczeklik A. Talc powder vs doxycycline in the control of malignant pleural effusion: a prospective, randomized trial. Med Sci Monit. 2003 Jun;9(6):PI54-9. PMID: 12824959.
[9]. Park EH, Kim JH, Yee J, Chung JE, Seong JM, La HO, Gwak HS. Comparisons of doxycycline solution with talc slurry for chemical pleurodesis and risk factors for recurrence in South Korean patients with spontaneous pneumothorax. Eur J Hosp Pharm. 2019 Sep;26(5):275-279. doi: 10.1136/ejhpharm-2017-001465. Epub 2018 Apr 18. PMID: 31656615; PMCID: PMC6788261.



วันที่ตอบ : 29 ม.ค. 64 - 23:17:53




พัฒนาระบบโดย ภานุชญา มณีวรรณ ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา 90110