ให้บริการโดยคณาจารย์ เภสัชกรผู้เชี่ยวชาญด้านยาและสุขภาพ


คำชี้แจง "เว็บไซต์นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อการ ศึกษา การแลกเปลี่ยนความรู้ และให้ข้อมูลเรื่องยาในกรณีทั่วไป ไม่ใช่คำแนะนำทางการแพทย์หรือเพื่อการรักษาในกรณีที่จำเพาะเจาะจง และความเห็นสำหรับกรณีเฉพาะหนึ่ง จะไม่สามารถประยุกต์ใช้กับผู้อื่นได้โดยตรง หากมีปัญหาเรื่องโรคโปรดปรึกษาแพทย์ หากมีปัญหาเรื่องยา โปรดปรึกษาเภสัชกร หรือปรึกษาผู้เกี่ยวข้องโดยตรงกับกรณีนั้นด้วยตนเองเท่านั้น"

Search :
สามารถใช้ยาสอดช่องคลอดร่วมกับยารับประทานฆ่าเชื้อรารักษาตกขาวจากเชื้อราได้ไหมคะ แ

สามารถใช้ยาสอดช่องคลอดร่วมกับยารับประทานฆ่าเชื้อรารักษาตกขาวจากเชื้อราได้ไหมคะ และ รักษาอาการคันตกขาว ตอนนี้มีอาการคันเนื่องจากตกขาว อยาก
ทราบว่าควรทานยาตัวไหนดี ระหว่าง Fluconazole 200 mg. กับ itraconazole 100 mg หากต้องทาน ควรทานตัวไหน ระยะเวลานานเท่าไร ทานยังไง รบกวนด้วยนะคะ

[รหัสคำถาม : 202] วันที่รับคำถาม : 05 ก.พ. 64 - 11:26:12 ถามโดย : บุคคลทั่วไป

เข้าระบบเพื่อตอบคำถาม

No : 1

ภาวะตกขาวจากเชื้อรา (Vulvovaginal Candidiasis) เกิดจากการติดเชื้อรากลุ่ม candida อาการที่พบเช่น ตกขาวมีลักษณะคล้ายตะกอนนม ช่องคลอดบวมแดงหรือมีรอยแตก คัน และแสบช่องคลอด อาจมีปัสสาวะแสบขัด ปัจจัยเสี่ยงของโรคนี้ เช่น โรคเบาหวาน, การใช้ยาฆ่าเชื้อ, การใช้ยากดภูมิคุ้มกัน, การใช้ยาคุมกำเนิดแบบชนิดฮอร์รวม ภาวะอับชื้น ยาที่ใช้รักษามีทั้งยารูปแบบรับประทานและยาใช้เฉพาะที่ เช่น ยาเหน็บ ยาครีม ดังนี้ [1-2]
ยารูปแบบรับประทาน เช่น
• fluconazole 150 mg รับประทานครั้งเดียว
o ผลข้างเคียง เช่น ปวดหัว ปวดท้อง คลื่นไส้ อาเจียน [3]
• Itraconazole 200 mg รับประทาน วันละ 2 ครั้ง นาน 1 วัน
o ผลข้างเคียง เช่น ปวดหัว คลื่นไส้ อาเจียน ปวดท้อง ท้องร่วง เวียนหัว ท้องอืด [4]
ยาใช้เฉพาะที่ เช่น
• clotrimazole 500 mg สอดช่องคลอดครั้งเดียว หรือ clotrimazole 100 mg 2 เม็ด สอดช่องคลอด วันละ 1 ครั้ง นาน 3 วัน
o ผลข้างเคียง เช่น อาการแสบร้อน
• clotrimazole 1 % ครีม ทาภายในช่องคลอดวันละครั้ง นาน 7-14 วัน
o ผลข้างเคียง เช่น อาการแสบร้อนบริเวณที่ทา [5]
• miconazole 2 % ครีม ทาภายในช่องคลอดวันละครั้ง นาน 7 วัน
o ผลข้างเคียง เช่น อาการแสบร้อนบริเวณที่ทา คัน ระคายเคือง (พบได้น้อย) [6]

สำหรับประสิทธิภาพในการรักษาภาวะตกขาวจากเชื้อราของยา fluconazole และ itraconazole มีการศึกษา เช่น
1. การศึกษา Meta-Analysis ในกลุ่มผู้หญิงที่มีภาวะตกขาวจากเชื้อราจำนวน 1092 คน จาก 6 การศึกษา RCT โดยเปรียบเทียบประสิทธิภาพในการรักษาของการใช้ยารูปแบบรับประทาน itraconazole 200 mg เทียบกับ fluconazole 150 mg พบว่า ยามีประสิทธิภาพไม่แตกต่างกัน(pooled odds ratio [OR], 0.94 [95% CI,0.6-1.48] )[7]
2. การศึกษา Comparative ในกลุ่มผู้หญิงที่มีภาวะตกขาวจากเชื้อราจำนวน 103 คน ในโรงพยาบาลรามาธิบดี โดยเปรียบเทียบประสิทธิภาพในการรักษาของการใช้ยารูปแบบรับประทานกับยาใช้เฉพาะที่ในรูปแบบยาเหน็บ พบว่ากลุ่มที่ให้ยารับประทาน fluconazole 150 mg รับประทานครั้งเดียว มีสัดส่วนการรักษาหายใน 1 สัปดาห์ คือ 79.2% และกลุ่มที่ให้ยาใช้เฉพาะที่ clotrimazole 100 mg 2 เม็ด สอดช่องคลอด วันละ 1 ครั้ง นาน 3 วัน สัดส่วนการรักษาหายใน 1 สัปดาห์ คือ 80.0% ซึ่งมีประสิทธิภาพไม่แตกต่างกัน [8]
โดยสรุป ยายับยั้งเชื้อราชนิดรับประทานและยาเหน็บช่องคลอด มีประสิทธิภาพในการรักษาภาวะตกขาวจากเชื้อราไม่แตกต่างกัน และจากแนวทางการรักษาภาวะตกขาวจากเชื้อรา ได้แนะนำให้เลือกใช้ยารับประทานหรือยาเฉพาะที่เพียงอย่างใดอย่างหนึ่ง[1,9]

เอกสารอ้างอิง
1.CDC. 2015 Sexually Transmitted Diseases Treatment Guidelines. Vulvovaginal Candidiasis. Accessed December 22, 2020. https://www.cdc.gov/std/tg2015/candidiasis.htm
2. Sobel J. Candida vulvovaginitis: Treatment. UpToDate, Eckler K(Ed),Waltham, MA. (Accessed on December 22, 2020)
3. Fluconazole. In: Geriatric Lexi-Drugs [database on the Internet]. Hudson, Ohio: Hudson, Ohio: Wolters Kluwer UpToDate, Inc.; 2020 [updated 2020 , cited 2020 Dec 25].
4. Itraconazole. In: Geriatric Lexi-Drugs [database on the Internet]. Hudson, Ohio: Hudson, Ohio: Wolters Kluwer UpToDate, Inc.; 2020 [updated 2020 , cited 2020 Dec 25].
5 Clotrimazole (topical). In: Geriatric Lexi-Drugs [database on the Internet]. Hudson, Ohio: Hudson, Ohio: Wolters Kluwer UpToDate, Inc.; 2020 [updated 2020 , cited 2020 Dec 25].
6. Miconazole (topical). In: Geriatric Lexi-Drugs [database on the Internet]. Hudson, Ohio: Hudson, Ohio: Wolters Kluwer UpToDate, Inc.; 2020 [updated 2020 , cited 2020 Dec 25].
7. Pitsouni E, Iavazzo C, Falagas ME. Itraconazole vs fluconazole for the treatment of uncomplicated acute vaginal and vulvovaginal candidiasis in nonpregnant women: a metaanalysis of randomized controlled trials. Am J Obstet Gynecol. 2008 Feb;198(2):153-60.doi: 10.1016/j.ajog.2007.10.786. PMID: 18068146.
8.O-Prasertsawat P, Bourlert A. Comparative study of fluconazole and clotrimazole for the treatment of vulvovaginal candidiasis. Sex Transm Dis. 1995 Jul-Aug;22(4):228-30. doi: 10.1097/00007435-199507000-00005. PMID: 7482105.
9. คงเกริกเกียรติ น, สิงคาลวณิช ศ,ธีรตกุลพิศาล น,และคณะ.(2558).เชื้อราในช่องคลอด
Vulvovaginal Candidiasis. ใน คงเกริกเกียรติ น.(บรรณาธิการ).แนวทางการดูแลรักษาโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์.(พิมพ์ครั้งที่ 1) หน้า 69-71. หจก. สำนักพิมพ์อักษรกราฟฟิคแอนด์ดีไซน์
วันที่ตอบ : 05 ก.พ. 64 - 11:51:17




พัฒนาระบบโดย ภานุชญา มณีวรรณ ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา 90110