ให้บริการโดยคณาจารย์ เภสัชกรผู้เชี่ยวชาญด้านยาและสุขภาพ


คำชี้แจง "เว็บไซต์นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อการ ศึกษา การแลกเปลี่ยนความรู้ และให้ข้อมูลเรื่องยาในกรณีทั่วไป ไม่ใช่คำแนะนำทางการแพทย์หรือเพื่อการรักษาในกรณีที่จำเพาะเจาะจง และความเห็นสำหรับกรณีเฉพาะหนึ่ง จะไม่สามารถประยุกต์ใช้กับผู้อื่นได้โดยตรง หากมีปัญหาเรื่องโรคโปรดปรึกษาแพทย์ หากมีปัญหาเรื่องยา โปรดปรึกษาเภสัชกร หรือปรึกษาผู้เกี่ยวข้องโดยตรงกับกรณีนั้นด้วยตนเองเท่านั้น"

Search :
ผู้ป่วยมาทำ CAG+/-PCI แพทย์สั่งใช้ยา clopidrogrel+ aspirin 81 mg แต่ผู้ป่วยมีประ

ผู้ป่วยมาทำ CAG+/-PCI แพทย์สั่งใช้ยา clopidrogrel+ aspirin 81 mg แต่ผู้ป่วยมีประวัติแพ้ยา etericoxib,ibuprofen ไม่แพ้ celecoxib ผู้ป่วยจะใช้ยา aspirin ได้หรือไม่ ถ้าใช้ไม่ได้ควรทำอย่างไร

[รหัสคำถาม : 210] วันที่รับคำถาม : 25 ก.พ. 64 - 14:19:26 ถามโดย : นักศึกษา วิทยาศาสตร์สุขภาพ

เข้าระบบเพื่อตอบคำถาม

No : 1

การแพ้ยาบรรเทาอาการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ (non-steroidal anti-inflammatory drugs หรือ NSAIDs) แบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือ 1) การแพ้แบบ Allergic reactions ซึ่งเกิดจากแพ้ผ่าน IgE-mediated โดยจะเกิดจาก NSAID เพียงตัวเดียวหรือที่มีลักณะโครงสร้างที่คล้ายกัน มักจะเกิดอาการ urticaria/angioedema หรือการเกิด anaphylactic reaction มักจะเกิดอย่างรวดเร็วและจะเกิดปฏิกิริยาจะรุนแรงกว่ากลุ่ม Psuedoallegy 2 ) การแพ้แบบ Pseudoallergic การแพ้ยามักแพ้ NSAIDs หลายตัวที่ไม่เกี่ยวข้องทางโครงสร้างเคมี สาเหตุมาจากกลไกของตัวยาที่มีการยับยั้ง cyclooxygenase 1 (COX-1) ส่งผลให้มีอาการแสดงของ ทางเดินระบบหายใจ ผื่นลมพิษเรื้อรัง และ angioedema เป็นต้น[1,2]

กรณีที่ผู้ป่วยแพ้ทั้ง ibuprofen และยา etoricoxib ซึ่งพบว่ามีโครงสร้างที่ต่างกัน จึงคาดว่าอาจจะเป็นการแพ้ยาแบบ psuedoallergy ดังนั้นควรหลีกเลี่ยงยา NSAIDs ทั้งกลุ่มโดยเฉพาะกลุ่มที่มีฤทธิ์ยับยั้ง COX-1 อย่างแรง ซึ่งยา Aspirin ก็จัดเป็นยากลุ่มมีฤทธิ์ยับยั้ง COX-1 อย่างแรง [3]

หากผู้ป่วยมีจำเป็นต้องใช้ Dual antiplatelet (Aspirin 81 mg +Clopidogrel) แต่มีข้อห้ามใช้ aspirin ESC 2019 ได้แนะนำให้ใช้ Prasugrel หรือ ticagrelor เพียงตัวเดียวแทนการใช้ Dual antiplatelet ซึ่งยังไม่มีหลักฐานเพียงพอในแง่ประโยชน์และความคุ้มค่า เป็นคำแนะนำจากความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญจากการศึกษามีขนาดเล็ก [4]

ดังนั้นจึงเสนอทางเลือกคือการทำ desensitization ซึ่งเป็นการกระตุ้นให้เกิดความทนต่อยาหรือภูมิคุ้มกันทางเภสัชวิทยา โดยสำหรับผู้ป่วยที่จำเป็นต้องใช้ยา Aspirin ในขนาด low doses อาจใช้วิธีนี้ได้ แต่ยังไม่มีมาตรฐานสากลสำหรับการทำ desensitization [2] มีการศึกษาSystematic Review ของ Bianco, et al เพื่อศึกษาประสิทธิภาพและความปลอดภัยของการทำ desensitization ในแต่ละ protocol โดยมีจำนวน 7 การศึกษา ในส่วนของการใช้ oral protocol พบว่าไม่ได้มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญในแง่ของประสิทธิภาพ ซึ่งการศึกษาได้สรุปว่า protocol ที่ใช้สำหรับ aspirin hypersensitivity มีประสิทธิภาพและปลอดภัยซึ่งเป็นแนวทางที่เป็นไปได้สำหรับผู้ป่วยที่ต้องการการรักษาด้วยยา dual antiplatelet therapy[5]

Craig J ได้แนะนำวิธีการจัดการผู้ป่วยที่จำเป็นต้องใช้ dual antiplatelet therapy แต่แพ้ยา aspirin แนะนำให้ใช้ desensitization เช่นเดียวกันโดยได้กล่าวถึงประสิทธิภาพและความปลอดภัยของการทำจากการศึกษาของ Rossini และคณะในปี 2017 [6] ที่ศึกษาในผู้ป่วยที่เป็นโรคหลอดเลือดหัวใจที่มีประวัติแพ้ยา aspirin โดยจะให้ยา aspirin ทางปากจำนวน 6 ขนาดตามลำดับ 1 จนถึง 100 mg โดยใช้เวลา 5.5 ชม หลังจากเสร็จขั้นตอนการทำ desensitization แล้วผู้ป่วยจะได้รับยา aspirin อย่างต่อเนื่องในขนาด 100 mg จากผลการศึกษาพบว่าประสบความสำเร็จร้อยละ 95.4 และประสบความสำเร็จในผู้ป่วยทุกรายที่มีประวัติ anaphylaxis โดยผู้ป่วยที่ประสบความสำเร็จในการทำจำนวนร้อยละ 80.3 มีการใช้ติดต่อกันอย่างน้อย 12 เดือน และอีกร้อยละ 19.7 หยุดใช้ยา aspirin เนื่องจากการตัดสินใจทางการแพทย์ ไม่ใช่เพราะการเกิดอาการแพ้ยา ดังนั้นการศึกษาจึงสรุปไว้ว่าข้อกำหนดการทำ desensitization นี้ว่ามีความปลอดภัยและมีประสิทธิภาพในผู้ป่วย

ดังนั้นจึงสรุปวิธีการจัดการในผู้ป่วยแพ้ aspirin ที่จำเป็นต้องใช้ dual antiplatelet มีสองวิธีคือการเปลี่ยนไปใช้ยา Prasugrel หรือ ticagrelor ซึ่งหลักฐานเชิงประจักษ์ค่อนข้างน้ำหนักน้อยและอาจต้องใช้ดุลพินิจในการพิจารณา และอีกวิธีคือ การทำ desensitization ซึ่งเป็นที่ยังไม่มีมาตรฐานในทางปฏิบัติแต่มีหลักฐานเชิงประจักษ์ถึงยืนยันความปลอดภัยและประสิทธิภาพ

เอกสารอ้างอิง

1. Simon RA. NSAIDs (including aspirin): Allergic and pseudoallergic reactions. In: Post TW, ed.

UpToDate. Waltham: UpToDate; 2019. (Accessed on December 14, 2020)

2. Hermans MAW, Otten R, Karim AF, van Maaren MS. Nonsteroidal anti-inflammatory drug hypersensitivity: not always an allergy! Neth J Med. 2018 Mar;76(2):52-59.

3. Torres MJ, Barrionuevo E, Kowalski M, Blanca M. Hypersensitivity reactions to nonsteroidal anti-inflammatory drugs. Immunol Allergy Clin North Am. 2014 Aug;34(3):507-24, vii-viii.

4. Knuuti J, Wijns W, Saraste A ,Capodanno D, Barbato E, Brentano CF, et al. The Task Force for the diagnosis and management of chronic coronary syndromes of the European Society of Cardiology (ESC). Eur Heart J. 2020 Jan;41(3): 407–477

5. Bianco M, Bernardi A, D'Ascenzo F, Cerrato E, Omedè P, Montefusco A, DiNicolantonio JJ, Zoccai GB, Varbella F, Carini G, Moretti C, Pozzi R, Gaita F. Efficacy and Safety of Available Protocols for Aspirin Hypersensitivity for Patients Undergoing Percutaneous Coronary Intervention: A Survey and Systematic Review. Circ Cardiovasc Interv. 2016 Jan;9(1):e002896.

6. Craig J. Avoiding Being Hyper About Hypersensitivity: Management of Aspirin and P2Y12 Allergic Reactions [internet]. 2019. [Accessed on 2020 Dec 14 ]. Available from: https://scai.org/avoiding-being-hyper-about-hypersensitivity-management-aspirin-and-p2y12-allergic-reactions

7. Rossini R, Iorio A, Pozzi R, Bianco M, Musumeci G, Leonardi S, Lettieri C, Bossi I, Colombo P, Rigattieri S, Dossena C, Anzuini A, Capodanno D, Senni M, Angiolillo DJ. Aspirin Desensitization in Patients With Coronary Artery Disease: Results of the Multicenter ADAPTED Registry (Aspirin Desensitization in Patients With Coronary Artery Disease). Circ Cardiovasc Interv. 2017 Feb;10(2):e004368.




วันที่ตอบ : 25 ก.พ. 64 - 14:31:17




พัฒนาระบบโดย ภานุชญา มณีวรรณ ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา 90110