ให้บริการโดยคณาจารย์ เภสัชกรผู้เชี่ยวชาญด้านยาและสุขภาพ


คำชี้แจง "เว็บไซต์นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อการ ศึกษา การแลกเปลี่ยนความรู้ และให้ข้อมูลเรื่องยาในกรณีทั่วไป ไม่ใช่คำแนะนำทางการแพทย์หรือเพื่อการรักษาในกรณีที่จำเพาะเจาะจง และความเห็นสำหรับกรณีเฉพาะหนึ่ง จะไม่สามารถประยุกต์ใช้กับผู้อื่นได้โดยตรง หากมีปัญหาเรื่องโรคโปรดปรึกษาแพทย์ หากมีปัญหาเรื่องยา โปรดปรึกษาเภสัชกร หรือปรึกษาผู้เกี่ยวข้องโดยตรงกับกรณีนั้นด้วยตนเองเท่านั้น"

Search :
เปรียบเทียบการใช้ยากลุ่ม proton pump inhibitor

เปรียบเทียบการใช้ยากลุ่ม proton pump inhibitor

[รหัสคำถาม : 212] วันที่รับคำถาม : 17 มี.ค. 64 - 13:50:21 ถามโดย : บุคคลทั่วไป

เข้าระบบเพื่อตอบคำถาม

No : 1

สรุปคำตอบที่ตอบแก่ผู้ถาม
ยาในกลุ่ม proton pump inhibitors (PPIs) ที่มีจำหน่ายในประเทศไทยในปัจจุบัน คือ omeprazole esomeprazole lansoprazole dexlansoprazole pantoprazole และ rabeprazole(1)
รูปแบบผลิตภัณฑ์ ยาทุกตัวมีรูปแบบยารับประทานแต่มีเฉพาะ omeprazole esomeprazole lansoprazole และ pantoprazole ที่มีในรูปแบบยาฉีดเข้าเส้นเลือดดำ(2) ในรูปแบบยารับประทานมีผลิตภัณฑ์หลากหลายรูปแบบซึ่งส่งผลต่อวิธีใช้ ประสิทธิภาพ และเภสัชจลนศาสตร์ของยา ดังนี้
Omeprazole และ esomeprazole ในรูปแบบ multiple unit pellet system (MUPS) ที่นำ enteric coated pellets มาตอกรวมกันเป็น tablet ทำให้หลีกเลี่ยงการถูกทำลายด้วยกรดในกระเพาะอาหาร ยาออกฤทธิ์แบบ delayed-release capsules และเป็น bioequivalent กับยาในรูปแบบ enteric capsule (มีค่า AUC Cmax และ Tmax เท่ากันเมื่อให้ในขนาดยาเท่ากัน)(3,4) มีข้อดีคือ สามารถนำเม็ดยามาละลายในน้ำก่อนรับประทานโดยที่ไม่มีผลเปลี่ยนแปลงปริมาณในการดูดซึมและอัตราในการดูดซึมยาแต่ห้ามบด pellets ที่บรรจุอยู่ภายในเพราะจะทำให้สูญเสียประสิทธิภาพในการออกฤทธิ์(5)
Pantoprazole และ rabeprazole ในรูปแบบยาเม็ด delayed-release tablet ที่เคลือบฟิล์มด้วยสารที่ทนต่อกรดในกระเพาะอาหาร (enteric coated) ทำให้ตัวยาไม่ถูกทำลายด้วยกรดในกระเพาะอาหาร เม็ดยาจะแตกตัวและตัวยาจะถูกปลดปล่อยและถูกดูดซึมเมื่อเม็ดยาเคลื่อนไปอยู่ในลำไส้เล็ก(6)
Lansoprazole ในรูปแบบยาเม็ดชนิด fast disintegrating tablet ที่เมื่อสัมผัสกับน้ำลายจะแตกตัวอย่างรวดเร็วเป็น pellets ขนาดเล็กภายในช่องปาก ทำให้สามารถกลืนยาได้ง่ายโดยไม่ต้องดื่มน้ำตามในปริมาณมาก และ pellets จะเป็นชนิด enteric coated ที่มีค่าทางเภสัชจลนศาสตร์ไม่แตกต่างกับยาในรูปแบบ capsule เมื่อเทียบในขนาดยาที่เท่ากัน(7)
Dexlansoprazole เป็น R-enantiomer ของ lansoprazole ที่ทำในรูปแบบ delayed-release ที่มีการปลดปล่อยตัวยา 2 ครั้ง โดยเริ่มปลดปล่อยตัวยาครั้งแรกภายใน 1 ชั่วโมงหลังรับประทาน และครั้งที่สองใน 4-5 ชั่วโมงต่อมา
ข้อบ่งใช้(1,2) ยากลุ่ม PPIs มีข้อบ่งใช้เพื่อรักษาโรคหลอดอาหารอักเสบเนื่องจากการไหลย้อนของกรดในกระเพาะอาหาร (gastroesophageal reflux disease, GERD) แผลเปื่อยกระเพาะอาหาร (gastric ulcer) แผลเปื่อยลำไส้เล็กส่วนต้น (duodenal ulcer) ใช้ร่วมกับยาต้านแบคทีเรียในการกำจัดเชื้อ Helicobacter pylori ใช้ป้องกันและรักษาแผลในทางเดินอาหารส่วนต้นจากการใช้ยากลุ่ม NSAIDs รวมทั้งใช้รักษา Zollinger-Ellison syndrome
กลไกการออกฤทธิ์(2) ยากลุ่ม PPIs ออกฤทธิ์จับกับ proton pump (H+/K+ ATPase) บริเวณ parietal cell เฉพาะที่อยู่ในรูป active form จากการกระตุ้นด้วยอาหาร แบบ irreversible แต่ไม่สามารถจับกับ proton pump ที่อยู่ในรูป inactive form ได้ จึงทำให้ร่างกายยังสามารถหลั่งกรดได้โดยเปลี่ยน proton pump ที่อยู่ในรูป inactive form เป็น active form ดังนั้นผู้ป่วยจึงจำเป็นต้องรับประทานยาอย่างต่อเนื่องและต้องรับประทานก่อนอาหารเพื่อให้มีระดับยาใน parietal cellสูงสุดในภาวะที่ proton pump อยู่ในรูปออกฤทธิ์และยาสามารถออกฤทธิ์ยับยั้ง proton pump ได้ทันที
Potency(9,10) เมื่อพิจารณาจาก % ระยะเวลาที่สามารถคงระดับ pH ในกระเพาะอาหารให้สูงกว่า 4 ใน 24 ชั่วโมง เรียงลำดับความแรงในการยับยั้งการหลั่งกรดจากมากไปน้อยดังนี้
Rabeprazole > esomeprazole > omeprazole > lansoprazole > pantoprazole
อย่างไรก็ตาม เมื่อเปรียบเทียบประสิทธิผลในการรักษาโรค GERD และ peptic ulcer (gastric ulcer และ duodenal ulcer) ในขนาดยา ความถี่ และระยะเวลาในการรับประทานยาที่มีการแนะนำให้ใช้ ยากลุ่ม PPIs ให้ประสิทธิภาพในการรักษาโรคไม่แตกต่างกัน(11)
Onset of action(2) ค่า time to peak plasma level เรียงลำดับจากเร็วไปช้า ดังนี้
Esomeprazole (1.5 h), lansoprazole (1.7 h), omeprazole (0.5-3.5 h), pantoprazole (2-3 h), Rabeprazole (2-5 h)
Esomeprazole มี time to concentration peak ที่สั้นที่สุดจึงเหมาะในการใช้ควบคุม acute pain
Duration(2,8,9) ค่าครึ่งชีวิต (half life) ในการออกฤทธิ์ของยาในกลุ่ม PPIs มีค่าดังนี้
Dexlansoprazole (1-2 h) rabeprazole (1-2 h) pantoprazole (1-1.9 h) lansoprazole (1.6 h) esomeprazole (1-1.5 h) omeprazole (0.5-1 h)
เนื่องจาก dexlansoprazole มีในรูปแบบ dual delayed-release ที่ก่อให้เกิด peak plasma level 2 ครั้งจึงออกฤทธิ์ได้ยาวนานกว่ายาตัวอื่นๆ ส่งผลให้สามารถควบคุมการหลั่งกรดได้ยาวนานถึงตอนกลางคืนได้ เหมาะสำหรับผู้ป่วย GERD ที่เกิด breakthrough heartburn และผู้ป่วย peptic ulcer ที่มี nocturnal pain จาก acid breakthrough บ่อยในช่วงเย็นหรือกลางคืน และผู้ป่วยที่ต้องรับประทานยา PPIs 2 ครั้งต่อวัน(8)
Metabolism(2,12,13,14) Omeprazole esomeprazole และ lansoprazole มีการเปลี่ยนแปลงยาที่ตับผ่านเอนไซม์ CYP2C19 ส่วน dexlansoprazole pantoprazole และ rabeprazole มีการเปลี่ยนแปลงยาที่ตับผ่านเอนไซม์ CYP2C19 และ CYP3A4 จากข้อมูลรายงานการศึกษา พบว่า pantoprazole และ rabeprazole มีความสามารถในการยับยั้งเอนไซม์ CYP2C19 ได้ต่ำที่สุด จึงอาจพิจารณาใช้ในผู้ป่วยที่จำเป็นต้องใช้ยาอื่นที่มีการเปลี่ยนแปลงที่ตับผ่านเอนไซม์ดังกล่าว
การเลือกใช้ยาในผู้ป่วยกลุ่มเฉพาะ(1,2,7,15)
: เด็ก ไม่มีข้อจำกัดในการใช้ยา สามารถเลือกใช้ esomeprazole lansoprazole และ pantoprazole ซึ่งมีในรูปแบบ oral suspension หรือ lansoprazole ในรูปแบบ fast disintegrating tablet
: ผู้สูงอายุ มักมีปัญหาในการกลืนยา จึงควรเลือกใช้ omeprazole หรือ esomeprazole ในรูปแบบ MUPS หรือ lansoprazole ในรูปแบบ fast disintegrating tablet
: หญิงตั้งครรภ์ ยากลุ่ม PPIs ยกเว้น omeprazole จัดอยู่ใน pregnancy category B (omeprazole จัดอยู่ใน pregnancy category C) (7)
: หญิงให้นมบุตร ยากลุ่ม PPIs สามารถขับออกทางน้ำนมได้และยังมีข้อมูลจำกัดเกี่ยวกับความปลอดภัยของการใช้ ในขณะให้นมบุตร จึงควรหลีกเลี่ยงการใช้ในหญิงให้นมบุตร (15)

เอกสารอ้างอิง
1. MIMs Thailand. Omeprazole, esomeprazole, lansoprazole, dexlansoprazole, pantoprazole, rabeprazole. [database on the internet]. 2019 [cited 2020 Dec 18]. Available from: https://www.mims.com
2. Strand DS, Kim D, Peura DA. 25 Years of proton pump inhibitors: a comprehensive review. Gut Liver. 2017 Jan 15;11(1):27-37. doi: 10.5009/gnl15502.
3. Vegesna V et al. Assessing the bioequivalence of over-the-counter esomeprazole banded capsules and multiple-unit pellet system tablets. Int J Clin Pharmacol Ther. 2018 Feb;56(2):92-99.
4. Talpes S et al. Esomeprazole MUPS 40 mg tablets and esomeprazole MUPS 40 mg tablets encapsulated in hard gelatine are bioequivalent. Int J Clin Pharmacol Ther. 2005 Jan;43(1):51-6.
5. Reddy S et al. MUPS (Multiple Unit Pellet System) Tablets – A Brief Review. Journal of pharmaceutical and biomedical sciences. 2011;12(02):1-4
6. Horn JR, Howden CW. Review article: similarities and differences among delayed-release proton-pump inhibitor formulations. Aliment Pharmacol Ther. 2005 Dec;22 Suppl 3:20-4.
7. Baldi F, Malfertheiner P. Lansoprazole fast disintegrating tablet: a new formulation for an established proton pump inhibitor. Digestion. 2003;67(1-2):1-5.
8. Howden CW. Update on dual delayed-Release PPI formulations. Gastroenterol Hepatol (N Y). 2010 Jul;6(7):417-9.
9. Kirchheiner J et al. Relative potency of proton-pump inhibitors-comparison of effects on intragastric pH. Eur J Clin Pharmacol. 2009 Jan;65(1):19-31.
10. Graham DY, Tansel A. Interchangeable Use of Proton Pump Inhibitors Based on Relative Potency. Clin Gastroenterol Hepatol. 2018 Jun;16(6):800-808.e7.
11. Li MJ et al. Comparative effectiveness and acceptability of the FDA-licensed proton pump inhibitors for erosive esophagitis: A PRISMA-compliant network meta-analysis. Medicine (Baltimore). 2017 Sep;96(39):e8120.
12. Li XQ et al. Comparison of inhibitory effects of the proton pump-inhibiting drugs omeprazole, esomeprazole, lansoprazole, pantoprazole, and rabeprazole on human cytochrome P450 activities. Drug Metab Dispos. 2004 Aug;32(8):821-7.
13. Frelinger AL et al. A randomized, 2-period, crossover design study to assess the effects of dexlansoprazole, lansoprazole, esomeprazole, and omeprazole on the steady-state pharmacokinetics and pharmacodynamics of clopidogrel in healthy volunteers. J Am Coll Cardiol. 2012 Apr 3;59(14):1304-11.
14. Choi YJ et al. Pantoprazole does not reduce the antiplatelet effect of clopidogrel: a randomized controlled trial in korea. Gut Liver. 2017 Jul 15;11(4):504-511.
15. Majithia R, Johnson DA. Are proton pump inhibitors safe during pregnancy and lactation? Evidence to date. Drugs. 2012 Jan 22;72(2):171-9.

วันที่ตอบ : 17 มี.ค. 64 - 13:56:34




พัฒนาระบบโดย ภานุชญา มณีวรรณ ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา 90110