ให้บริการโดยคณาจารย์ เภสัชกรผู้เชี่ยวชาญด้านยาและสุขภาพ


คำชี้แจง "เว็บไซต์นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อการ ศึกษา การแลกเปลี่ยนความรู้ และให้ข้อมูลเรื่องยาในกรณีทั่วไป ไม่ใช่คำแนะนำทางการแพทย์หรือเพื่อการรักษาในกรณีที่จำเพาะเจาะจง และความเห็นสำหรับกรณีเฉพาะหนึ่ง จะไม่สามารถประยุกต์ใช้กับผู้อื่นได้โดยตรง หากมีปัญหาเรื่องโรคโปรดปรึกษาแพทย์ หากมีปัญหาเรื่องยา โปรดปรึกษาเภสัชกร หรือปรึกษาผู้เกี่ยวข้องโดยตรงกับกรณีนั้นด้วยตนเองเท่านั้น"

Search :
การใช้ PPIs แบบ long term คือนานแค่ไหน
พอดีกำลังค้นเรื่องผลของการใช้ PPIs แบบ l


การใช้ PPIs แบบ long term คือนานแค่ไหน
พอดีกำลังค้นเรื่องผลของการใช้ PPIs แบบ long term เพื่อใช้ประกอบศึกษาการใช้ PPIs
ในผู้ป่วยโรคกระดูกและข้อ แต่ยังไม่พบงานวิจัยใดระบุว่า long term คือระยะเวลานานแค่ไหน จึงมี
สิ่งที่อยากสอบถาม
- การใช้ PPIs แบบ long term คือกี่วัน/เดือน ?
- การใช้ NSAIDs แบบ short term และ long term ต่างกันไหม มีเกณฑ์กำหนดกี่วัน/
เดือน

[รหัสคำถาม : 25] วันที่รับคำถาม : 17 ม.ค. 63 - 17:21:21 ถามโดย : นักศึกษา วิทยาศาสตร์สุขภาพ

เข้าระบบเพื่อตอบคำถาม

No : 1

PPIs หรือ Proton Pump Inhibitors เป็นกลุ่มยาที่มีประสิทธิภาพในการยับยั้งการหลั่งกรดในกระเพาะอาหาร โดยมีกลไกการทำงานคือ มีการจับและยับยั้ง H+-K+ ATPase pump บริเวณ luminal surface ของ parietal cell membrane แบบไม่ย้อนกลับ ตัวอย่างยาในกลุ่มนี้ เช่น Omeprazole, Rabeprazole, Lansoprazole, Pantoprazole เป็นต้น[1]
ยากลุ่ม PPIs มีข้อบ่งใช้ในการรักษาโรค Peptic ulcer, Gastroesophageal reflux disease (GERD), Zollinger-Ellison syndrome, NSAID-associated ulcers, และใช้เป็น regimen ในการกำจัดเชื้อ Helicobacter pylori[2]
อาการไม่พึงประสงค์ที่พบได้จากการใช้ยากลุ่ม PPIs เช่น ปวดท้อง (5%), ท้องเสีย (4%), คลื่นไส้อาเจียน (4%), มึนงง (2%), ติดเชื้อบริเวณทางเดินหายใจส่วนบน (2%) และท้องผูก (2%) เป็นต้น[1] มีรายงานอาการไม่พึงประสงค์ที่สัมพันธ์กับการใช้ยากลุ่ม PPIs แบบ long term พบว่า อาจทำให้เกิดการติดเชื้อ และการเกิด rebound acid hypersecretion ได้[3]
นอกจากนี้ การใช้ยา PPIs แบบ long term (≥ 1 ปี) อาจทำให้เกิดอาการไม่พึงประสงค์บางอย่างได้ เช่น เพิ่มความเสี่ยงการเกิดท้องเสียจากการติดเชื้อ Clostridium difficile, Microscopic colitis, การดูดซึมวิตามินและแร่ธาตุลดน้อยลง เช่น แมกนีเซียม เหล็ก วิตามิน B12 และแคลเซียม ซึ่งส่งผลเพิ่มความเสี่ยงกระดูกหักได้ และ Pneumonia เป็นต้น[1],[4]
ภาวะที่มีกรดในกระเพาะอาหารต่ำสามารถลดการดูดซึมแคลเซียมได้ แต่จะมีผลเฉพาะกับการดูดซึม water insoluble calcium (เช่น calcium carbonate) แต่สามารถแก้ไขภาวะดังกล่าวได้โดยการรับประทานมื้ออาหารที่มีความเป็นกรด ส่วนการดูดซึมของ water soluble calcium salts หรือแคลเซียมในผลิตภัณฑ์นมจะไม่ได้รับผลกระทบจากการมีกรดในกระเพาะอาหารต่ำ ที่เกิดจากการใช้ PPIs[1]
การใช้ PPIs แบบ long term กับผลต่อกระดูกและข้อ พบจำนวน 2 การศึกษาที่เกี่ยวข้อง คือ การศึกษาของ Yang และคณะ[5] เป็นการศึกษาแบบ Nested case-control study ได้ทำการ ศึกษาถึงผลของ PPIs ที่ใช้แบบ long term (>1 ปี) ต่อการดูดซึมและการเมตาบอลิซึมแคลเซียม โดยใช้ฐานข้อมูลจากสหราชอาณาจักร การศึกษาได้แบ่งกลุ่ม 2 กลุ่ม คือ กลุ่มที่ใช้ PPIs และกลุ่มที่ไม่ใช้ยาที่มีผลลดการหลั่งกรด ผู้ที่เข้าร่วมการศึกษามีอายุมากกว่า 50 ปี พบว่า ความเสี่ยงการเกิดกระดูกสะโพกหักจะเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติในผู้ที่ได้รับ PPIs ในขนาดสูงและให้แบบ long term (AOR 2.65; 95% CI, 1.80–3.90) แต่มีการศึกษาที่ให้ผลแตกต่างกัน คือ การศึกษาของ Zhou และคณะ[6] เป็นการศึกษาแบบ Meta-analysis ของ observational studies ได้ทำการศึกษาเพื่อหาความสัมพันธ์ระหว่างยากลุ่ม PPIs กับความเสี่ยงในการเกิดกระดูกหัก พบว่ามี 18 การศึกษา (244,109 fracture cases) ที่อยู่ใน meta-analysis นี้ และจาก Pooled analysis แสดงให้เห็นว่า การใช้ PPIs สามารถเพิ่มความเสี่ยงการเกิด กระดูกสะโพกหักได้ [RR=1.26, 95 % confidence intervals (CIs) 1.16–1.36] โดยแบ่งเป็นการใช้แบบ short term (<1 ปี) และ long term (>1 ปี) พบว่า การใช้ PPIs แบบ short term และ long term ให้ผลใกล้เคียงกันต่อการเพิ่มความเสี่ยงการเกิดกระดูกสะโพกหัก นอกจากนี้ยังเพิ่มความเสี่ยงเล็กน้อยต่อการเกิดกระดูกสันหลังหัก (RR=1.58, 95% CI 1.38-1.82) และการเกิดกระดูกหักบริเวณอื่น ๆ นอกจากบริเวณสะโพกและกระดูกสันหลัง (RR=1.33, 95% CI 1.15-1.54)
การใช้ยากลุ่ม PPIs แบบ long term มีรายงานการใช้ยามากกว่า 1 ปี ทำให้เกิดผลต่อกระดูกได้ เช่น กระดูกสะโพกหัก กระดูกไขสันหลังหัก เป็นต้น แต่มีการศึกษาที่ศึกษาผลต่อกระดูกแบบ short term มีรายงานการใช้ยาน้อยกว่า 1 ปี เปรียบเทียบกับ long term พบว่าให้ผลที่ใกล้กันต่อการเพิ่มความเสี่ยงการเกิดกระดูกหักเช่นกัน

เอกสารอ้างอิง
[1] Proton Pump Inhibitors : Drug information. In: UpToDate. Post TW. Ed.
Massachusetts: UpToDate; 2019.
[2] Medscape. Proton Pump Inhibitors : Omeprazole. Available at :
https://reference.medscape.com/drug/prilosec-omeprazole-341997#5. Ascessed on Jan 7,2019.
[3] Haastrup PF, Thompson W, Søndergaard J, Jarbøl DE. Side Effects of Long-Term
Proton Pump Inhibitor Use: A Review. Basic Clin Pharmacol Toxicol. 2018
Aug;123(2) : 114-121. doi: 10.1111/bcpt.13023.
[4] Barnsley Hospital, NHS Foundation. Guidance for Safe and Effective use of
Proton Pump Inhibitors (PPIs) Background and RISKS associated with PPIs.
Available at : https://www.barnsleyccg.nhs.uk/CCG%20Downloads/Members/
Medicines. Cited on Jan 7,2019.
[5] Yang YX, Lewis JD, Epstein S, Metz DC. Long-term proton pump inhibitor therapy
and risk of hip fracture. JAMA. 2006 Dec 27;296(24):2947-53.
[6] Zhou B, Huang Y, Li H, Sun W, Liu J. Proton-pump inhibitors and risk of fractures :
an update meta-analysis. Osteoporos Int. 2016 Jan;27(1):339-47.

วันที่ตอบ : 17 ม.ค. 63 - 17:27:36


No : 2

NSAIDs หรือ Nonsteroidal anti-inflammatory drugs เป็นยาต้านการอักเสบที่ไม่ใช่ยา
กลุ่มสเตียรอยด์ เป็นยาที่มีข้อบ่งใช้ในการลดอาการปวด แก้ไข้ และลดการอักเสบ ยา NSAIDs สามารถแบ่งได้เป็น 2 กลุ่มหลัก คือ[1]
1. Nonselective NSAIDs (nsNSAIDs) เช่น ibuprofen, diclofenac เป็นต้น ยากลุ่มนี้จะยับยั้งทั้ง cyclooxygenase (COX)-1 และ COX-2
2. Selective COX-2 NSAIDs เช่น celecoxib, etoricoxib เป็นต้น ยากลุ่มนี้จะมีความ จำเพาะต่อการยับยั้ง COX-2 มากกว่า COX-1

อาการไม่พึงประสงค์ที่พบได้จากการใช้ยากลุ่ม NSAIDs อาจทำให้เกิดอาการไม่พึงประสงค์ได้ เช่น แสบร้อนทรวงอก (3-9%), ปวดศีรษะ (1-3%), เกิดเลือดออกในทางเดินอาหาร (<1%), มีผลต่อไตและอิเล็กโทรไลต์ (<1%), กล้ามเนื้อหัวใจตาย (<1%) และเกิดอาการหอบหืดกำเริบ เป็นต้น[2]
ส่วนอาการไม่พึงประสงค์ที่สัมพันธ์กับการใช้ยากลุ่ม NSAIDs ทั้ง 2 กลุ่มแบบ long term พบว่าทำให้เกิดความเสี่ยงต่อการเกิดเลือดออกในทางเดินอาหาร, การทำงานของไตผิดปกติ เช่น เกิดไตวายเฉียบพลัน เป็นต้น และจะสัมพันธ์กับการกำเริบของโรคเรื้อรัง ได้แก่ heart failure และ hypertension ส่วนผลต่อหลอดเลือดหัวใจและหลอดเลือดสมอง เช่น myocardial infarction และ stroke จะเพิ่มความเสี่ยงมากขึ้นในผู้ที่ใช้ยากลุ่ม selective COX-2 inhibitor[3]

การใช้ NSAIDs แบบ long term กับการเกิดอาการไม่พึงประสงค์ พบ 3 การศึกษาที่เกี่ยวข้องกับระบบหัวใจและหลอดเลือด (myocardial infarction 2 การศึกษา และ atrial fibrillation 1 การศึกษา) ได้แก่ การศึกษาของ Rodríguez และ González-Pérez[4] ทำการศึกษาแบบ nested case-control analysis โดยมี 4,975 เคส ที่เป็น acute MI และ controls, matched โดยใช้อายุ และเพศ พบว่า การใช้ non selective NSAIDs ตามขนาดและระยะเวลาที่ใช้กันทั่วไปไม่สัมพันธ์กับการเพิ่มความเสี่ยงการเกิด MI (RR:1.07;95%CI: 0.95–1.21) แต่อย่างไรก็ตาม พบว่าการใช้ non selective NSAIDs เป็นระยะเวลา > 1 ปี สัมพันธ์กับการเพิ่มความเสี่ยงการเกิด MI (RR:1.07;95%CI: 0.95–1.21) ซึ่งสอดคล้องกับการศึกษาของ Olsen และคณะ[5] ได้ทำการศึกษาแบบ Cohort study โดยมีผู้เข้าร่วมการศึกษาเป็นผู้ป่วยที่มีอายุตั้งแต่ 30 ปีขึ้นไป ที่ admit ในโรงพยาบาลจากการเป็น MI เป็นครั้งแรก และได้รับยา NSAIDs ในประเทศเดนมาร์ค จากผลการศึกษาพบว่า การใช้ NSAIDs หลังจากการเกิด MI สัมพันธ์กับการเพิ่มความเสี่ยงการเสียชีวิต (hazard ratio 1.59 [95% confidence interval, 1.49–1.69]) หลังจากที่ใช้ไป 1 ปี และ [hazard ratio 1.63 [95% confidence interval, 1.52–1.74] หลังจากที่ใช้ไป 5 ปี นอกจากนี้ยังมีการศึกษาของ De Caterina และคณะ[6] ได้ทำการศึกษาหาความสัมพันธ์ของการใช้ NSAIDs ต่อการเกิด Atrial fibrillation พบว่าการใช้ NSAIDs สัมพันธ์กับการเพิ่มความเสี่ยงการเกิด chronic atrial fibrillation มากขึ้นในผู้ป่วยที่ใช้ยา NSAIDs นานกว่า 1 ปี (RR, 1.80; 95% CI, 1.20-2.72)

เมื่อทำการเปรียบเทียบระหว่างยากลุ่ม Non selective NSAIDs กับ Selective COX-II inhibitor พบ 1 การศึกษาที่เกี่ยวข้อง โดยเป็นการศึกษาแบบ meta-analysis ของ Coxib and traditional NSAID Trialists' (CNT) Collaboration และคณะ[7] ศึกษาผลของหลอดเลือดและทางเดินอาหารกับการใช้ยา NSAIDs พบว่า major vascular event (non-fatal myocardial infarction, non-fatal stroke หรือ vascular death) จะเพิ่มขึ้นเมื่อใช้ยากลุ่ม coxib หรือ diclofenac และพบการเกิด vascular death เพิ่มขึ้นในผู้ป่วยที่ได้รับยากลุ่ม coxib อย่างมีนัยสำคัญ (1.58, 99% CI 1.00-2.49; p=0.0103) และยา diclofenac (1.65, 0.95-2.85, p=0.0187) ส่วนยา ibuprofen พบว่าไม่พบนัยสำคัญทางสถิติต่อการเกิด vascular death (1.90, 0.56-6.41; p=0.17)

นอกจากนี้ มีการศึกษาที่เกี่ยวข้องกับกระดูกจำนวน 1 คือ การศึกษาของ Wheatley และคณะ[8] ศึกษาการใช้ NSAIDs แบบ long term กับการซ่อมแซมของกระดูก คือการศึกษาแบบ Meta-analysis โดยการทบทวนวรรณกรรมที่รายงานผลของ NSAIDs ต่อการซ่อมแซมกระดูก พบว่าการใช้ NSAIDs ทำให้เกิดการเชื่อมกันของกระดูกช้ามากขึ้น หรือไม่มีการเชื่อมกันของกระดูกที่หัก ซึ่งใช้เวลาในการติดตามอาการอย่างน้อย 6 เดือน (odds ratio [OR], 2.07; confidence interval [CI], 1.19 to 3.61)

การใช้ยากลุ่ม NSAIDs ที่มีรายงานการใช้ยาแบบ long term (มากกว่า 1 ปี) จะสัมพันธ์กับการเกิดอาการไม่พึงประสงค์ได้ เช่น myocardial infarction, atrial fibrillation และ การเชื่อมกันของกระดูกช้าขึ้น เป็นต้น ส่วนการใช้ NSAIDs แบบ short term (น้อยกว่า 1 ปี) จะมีความเสี่ยงการเกิด myocardial infarction น้อย

เอกสารอ้างอิง
[1] Non Steroidal Anti-inflammatory Drugs (NSAIDs) : Drug information. In: UpToDate.
Post TW. Ed. Massachusetts: UpToDate; 2019.
[2] Medscape. NSAIDs toxicity. Available at : https://emedicine.medscape.com/article/
816117-overview. Cited on Jan 7, 2019.
[3] Marcum ZA, Hanlon JT. Recognizing the Risks of Chronic Nonsteroidal
Anti-Inflammatory Drug Use in Older Adults. Ann Longterm Care. 2010;18(9):24-27.
[4] García Rodríguez LA, González-Pérez A. Long-term use of non-steroidal anti-
inflammatory drugs and the risk of myocardial infarction in the general
population. BMC Med. 2005 Nov 29;3:17.
[5] Olsen AM, Fosbøl EL, Lindhardsen J, Folke F, Charlot M, Selmer C, Bjerring, Olesen
J, Lamberts M, Ruwald MH, Køber L, Hansen PR, Torp-Pedersen C, Gislason GH.
Long-term cardiovascular risk of nonsteroidal anti-inflammatory drug use
according to time passed after first-time myocardial infarction: a nationwide
cohort study. Circulation. 2012 Oct 16;126(16):1955-63.
doi:10.1161/CIRCULATIONAHA.112.112607.
[6] De Caterina R, Ruigómez A, Rodríguez LA. Long-term use of anti-inflammatory
drugs and risk of atrial fibrillation. Arch Intern Med. 2010 Sep 13;170(16):1450-5.
doi: 10.1001/archinternmed.2010.305.
[7] Coxib and traditional NSAID Trialists' (CNT) Collaboration et al. Vascular and upper
gastrointestinal effects of non-steroidal anti-inflammatory drugs: meta-analyses of
individual participant data from randomised trials. Lancet. 2013 Aug
31;382(9894):769-79. doi: 10.1016/S0140-6736(13)60900-9.
[8] Wheatley BM, Nappo KE, Christensen DL, Holman AM, Brooks DI, Potter BK. Effect
of NSAIDs on Bone Healing Rates: A Meta-analysis. J Am Acad Orthop Surg. 2019
Apr 1;27(7):e330-e336. doi: 10.5435/JAAOS-D-17-00727.

วันที่ตอบ : 17 ม.ค. 63 - 17:31:20




พัฒนาระบบโดย ภานุชญา มณีวรรณ ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา 90110