ให้บริการโดยคณาจารย์ เภสัชกรผู้เชี่ยวชาญด้านยาและสุขภาพ


คำชี้แจง "เว็บไซต์นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อการ ศึกษา การแลกเปลี่ยนความรู้ และให้ข้อมูลเรื่องยาในกรณีทั่วไป ไม่ใช่คำแนะนำทางการแพทย์หรือเพื่อการรักษาในกรณีที่จำเพาะเจาะจง และความเห็นสำหรับกรณีเฉพาะหนึ่ง จะไม่สามารถประยุกต์ใช้กับผู้อื่นได้โดยตรง หากมีปัญหาเรื่องโรคโปรดปรึกษาแพทย์ หากมีปัญหาเรื่องยา โปรดปรึกษาเภสัชกร หรือปรึกษาผู้เกี่ยวข้องโดยตรงกับกรณีนั้นด้วยตนเองเท่านั้น"

Search :
การฉีดวัคซีน

ก่อนหน้านี้มีการศึกษาเบ้ืองต้น ว่าการฉีด sinovac+astra ห่างกัน3-4 สัปดาห์ GMT=687.8(549.3-861.2) (n=75) แต่การศึกษาที่พึ่งออกมา ได้ GMT =3962(3327-4718)(n=77) อยากทราบว่าทำไมค่าที่ได้จึงแตกต่างกันมาก แต่กรณีที่ฉีด astra สองเข็มค่าที่ได้จึงใกล้เคียงกัน

[รหัสคำถาม : 259] วันที่รับคำถาม : 18 ส.ค. 64 - 13:01:48 ถามโดย : บุคลากร วิทยาศาสตร์สุขภาพ

เข้าระบบเพื่อตอบคำถาม

No : 1

เมื่อไวรัสโควิดเข้าสู่ร่างกาย หรือเมื่อฉีดวัคซีน ร่างกายจะสร้างภูมิคุ้มกันหรือแอนติบอดีต่อไวรัสขึ้นมาภายใน 1-3 สัปดาห์ และประมาณ 2 สัปดาห์หลังจากฉีดวัคซีน ในการตรวจทางห้องปฏิบัติการ แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ Binding Antibody และ Neutralizing Antibody โดยโครงสร้างของไวรัสโควิดจะมี โปรตีน ‘แอนติเจน’ หรือส่วนของไวรัสที่ร่างกายสามารถสร้างภูมิคุ้มกันขึ้นมาจับได้ คือ S = Spike หรือโปรตีนหนามที่ไวรัสใช้จับกับตัวรับบนผิวเซลล์ของร่างกาย ปัจจุบันมีเครื่องตรวจ ‘แอนติบอดีชนิด IgG’ ต่อตัวจับบนผิวไวรัส (RBD) ด้วยวิธี CMIA โดยสามารถรายงานเป็นค่า GMT (Geometric mean titre)[1,2]
เมื่อศึกษากลไกการกระตุ้นภูมิคุ้มกันที่แตกต่างกันของวัคซีน Sinovac และ AstraZeneca พบว่ากลไกของวัคซีนAstraZeneca คือการที่ DNA vector มีการถอดรหัสโปรตีนที่คล้ายกับไวรัส s-peptide โดยchimpanzee adenovirus ที่ถูกฉีดเข้าไปในมนุษย์จะจับกับHost cell และต่อจากนั้น DNAจะถูกปล่อยออกมาในcytoplasmและต่อมาย้ายเข้าnucleusของเซลล์ โดย chimpanzee adenovirus มันไม่ได้รวมอยู่ใน DNA ของเซลล์ แต่ใช้ Host cell enzymes เพื่อแปลงเป็น mRNA ที่ย้ายกลับเข้าใน host cell กลายเป็น translated proteinsและถูกแสดงออกบน cell membranes เป็นMHC1 และ MHC2 complexes และนำไปสู่การกระตุ้นเซลล์ T-, B-,plasma cells, antibodies 20 กลไกการออกฤทธิ์ของวัคซีน Sinovac ซึ่งเป็นวัคซีนชนิด Non-live vaccine มีส่วนประกอบของวัคซีนเช่นเดียวกับ live vaccine แต่เนื่องจากเชื้อใน non-live vaccine ไม่สามารถเพิ่มจำนวนได้ จึงทำให้การกระตุ้นให้เกิดภูมิคุ้มกันไม่เป็นไปอย่างกว้างขวางเท่า live vaccine[3]
งานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการตอบสนองต่อภูมิคุ้มกันของสูตรการฉีดวัคซีนSinovac และ AstraZeneca ในประเทศไทย มี 3 งานวิจัย ดังนี้ Immune response elicited from heterologous SARS-CoV-2 vaccination: Sinovac (CoronaVac) followed by AstraZeneca (Vaxzevria) 2021,[5] Immunogenicity of heterologous prime/boosterinactivated and adenoviral-vectored COVID-19 vaccine: real-world data[6] และการศึกษาเบื้องต้นในการศึกษาความปลอดภัยและการตอบสนองทางภูมิคุ้มกันจากการฉีดวัคซีนชนิดเดียวกันหรือต่างชนิดกันในเข็มที่ 1 และเข็มที่ 2 ผลลัพธ์เป็นไปในทิศทางเดียวกันคือการฉีด Prime boost ต่างชนิดกันมีแนวโน้มกระตุ้นภูมิคุ้มกันได้ดีกว่าการฉีดวัคซีนแบบ Homologous vaccine งานวิจัยที่ศึกษาในต่างประเทศมี 2 งานวิจัย คือ Humoral and cellular immune response against SARS-CoV-2 variants following heterologous and homologous ChAdOx1 nCoV-19/BNT162b2 vaccination เป็นงานวิจัยที่วิเคราะห์ผลระดับภูมิคุ้มกันของการฉีดวัคซีนไพร์มบูสต์ที่ต่างกันคือ ChAd(AstraZeneca) + BNT(Pfizer) ในประเทศเยอรมนี พบว่าการตอบสนองของภูมิคุ้มกันทางร่างกายที่ดีขึ้น[8] ซึ่งผลลัพธ์มีแนวโน้มไปทิศทางเดียวกันกับงานศึกษาในประเทศไทย และงานวิจัยอีกฉบับที่จะสะท้อนปัจจัยที่มีผลต่อระดับภูมิคุ้มกันคือ Spike-antibody waning after second dose of BNT162b2 or ChAdOx1/2021เป็นงานวิจัยที่ทำในประเทศอังกฤษ ศึกษาในกลุ่มที่ได้รับวัคซีนPfizer หรือAstraZeneca ครบ 2 เข็ม พบว่าเมื่อระยะเวลาผ่านไปนานขึ้น ระดับภูมิคุ้มกันของผู้เข้าร่วมวิจัยทั้งสองกลุ่มมีระดับที่ลดลงจากเดิมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ และพบว่าเพศหญิงมีแนวโน้มของระดับภูมิคุ้มกันที่สูงกว่าในเพศชาย และกลุ่มอายุ 18-64 ปีพบว่ามีระดับของ S-antigen ที่สูงกว่ากลุ่มอายุ 65 ปีขึ้นไปอีกด้วย งานวิจัยนี้จึงสะท้อนให้เห็นว่าปัจจัยของระยะเวลาการตรวจวัดระดับภูมิคุ้มกัน เพศ อายุ ล้วนเป็นปัจจัยที่จะสะท้อนถึงระดับภูมิคุ้นกันที่แตกต่างกันได้ในแต่ละบุคคล[9]จึงทำให้อนาคตมีความสำคัญอย่างยิ่งว่าจะต้องมีการฉีด boost วัคซีนเข็มที่สามเนื่องจากระดับภูมิคุ้มกันที่ลดลงตามระยะเวลาที่ผ่านไป
สรุปคำตอบจากคำถาม ซึ่งจากการไปสืบค้นพบว่างานวิจัยที่ออกมาเบื้องต้นนั้นยังไม่ได้รับการตีพิมพ์ทางวารสารวิชาการ จึงทำให้ไม่สามารถทราบถึงกระบวนการและรายละเอียดในงานวิจัยนั้นได้ เป็นไปได้ว่าข้อมูลอาจมีการเปลี่ยนแปลงได้ในภายหลัง อย่างไรก็ตามปัจจัยที่ส่งผลต่อค่า GMTในงานวิจัยแต่ละฉบับมีความแตกต่างกันได้หลายปัจจัย เช่น ลักษณะของประชากรที่ศึกษาในแต่ละงานวิจัย อายุ เพศ โรคประจำตัว วิธีการเก็บข้อมูล วิธีการหรือเครื่องมือวิเคราะห์ผลที่แตกต่างกัน ชนิดหรือสายพันธุ์ของไวรัสที่นำมาทดสอบสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ เป็นต้น ซึ่งที่กล่าวมาข้างต้นก็คือรูปแบบวิธีวิจัยในงานศึกษานั้นๆที่อาจแตกต่างกัน ทำให้ไม่สามารถนำผลของงานวิจัยหนึ่งมาเทียบกับผลของงานวิจัยหนึ่งได้โดยตรง จากงานศึกษาของ Madhumita et al.งานวิจัยนี้จึงสะท้อนให้เห็นว่าปัจจัยของระยะเวลาการตรวจวัดระดับภูมิคุ้มกัน เพศ อายุ ล้วนเป็นปัจจัยที่จะสะท้อนถึงระดับภูมิคุ้นกันที่แตกต่างกันได้ในแต่ละบุคคลแม้ว่าการศึกษานี้จะไม่ได้ศึกษาการวัดระดับภูมิคุ้มกันของผู้ที่ได้รับวัคซีน Sinovac และตามด้วยวัคซีน AstraZeneca โดยตรง แต่ถือว่าสามารถสะท้อนให้เห็นถึงปัจจัยสำคัญของรูปแบบงานวิจัยและกระบวนการวิจัยที่จะส่งผลต่อความน่าเชื่อถือของข้อมูลและความถูกต้องของผลลัพธ์ในงานวิจัยนั้นๆอีกด้วย

เอกสารอ้างอิง
[1].Sadarangani, M., Marchant, A. & Kollmann, T.R. Immunological mechanisms of vaccine-induced protection against COVID-19 in humans. Nat Rev Immunol 21, 475–484 (2021).
[2].แนวทางตรวจการติดเชื้อ SARS-CoV-2 (เชื้อก่อโรค COVID-19) ด้วยการตรวจแอนติบอดี ตุลาคม 2563: https://www3.dmsc.moph.go.th/download/files/dmsc_sar.pdf.
[3]. Mascellino et al. Overview of the Main Anti-Sars-CoV-2 Vaccines: Mechanism of Action, Efficacy and Safety. [Accessed 11/10/2021]; Available form:https://www.dovepress.com/getfile.php?fileID=73178#p.7.
[4].Yanjun Zhang, Gang Zeng, Hongxing Pan, Changgui Li, Yaling Hu, Kai Chu, et al.Safety, tolerability, and immunogenicity of an inactivated SARS-CoV-2 vaccine in healthy adults aged 18–59 years: a randomised, double-blind, placebo-controlled, phase 1/2 clinical trial, Lancet Infect Dis., Volume 21, Issue 2, 2021, p.181-192.
[5].Ritthideach Yorsaeng, Preeyaporn Vichaiwattana, Sirapa Klinfueng, LakkhanaWongsrisang, Natthinee Sudhinaraset, Sompong Vongpuns, et al.Immune response elicited from heterologous SARS-CoV-2 vaccination: Sinovac (CoronaVac) followed by AstraZeneca (Vaxzevria)medRxiv 2021.09.01.
[6].Nasamon Wanlapakorn,Nungruthai Suntronwong,Harit Phowatthanasathian,Ritthideach Yorsang,Thanunrat Thongmee,Preeyaporn Vichaiwattana,et . Immunogenicity of heterologous prime/boosterinactivated and adenoviral-vectored COVID-19 vaccine: real-world data. [Accessed 11/10/2021]; Available from: https://www.researchsquare.com/article/rs-785693/v1.
[7].Faculty of Medicine Siriraj Hospital, Mahidol University and Department of Medical Sciences, Ministry of Public Health. (2021). Safety and Immunological Response following Heterologous Primary Series of COVID-19 Vaccination: The preliminary report focusing on the delta variant. [Accessed 11/10/2021]; Available form: https://sicres.org/wp-content/uploads/2021/08/Poster-hetero-in-Eng_8pm.pdf.
[8].Barros-Martins J, Hammerschmidt S, Cossmann A, Odak I, Stankov MV, Ramos GM, Jablonka A, Heidemann A, Ritter C, Friedrichsen M, Schultze-Florey CR. Humoral and cellular immune response against SARS-CoV-2 variants following heterologous and homologous ChAdOx1 nCoV-19/BNT162b2 vaccination. medRxiv. 2021 Jan 1.
[9].Madhumita Shrotri,Annalan M D Navaratnam,Vincent Nguyen,Thomas Byrne,Cyril Geismar,Ellen Fragaszy,et al Spike-antibody waning after second dose of BNT162b2 or ChAdOx1. Lancet. 2021; (Published: July 15).

วันที่ตอบ : 14 ก.พ. 65 - 14:29:33




พัฒนาระบบโดย ภานุชญา มณีวรรณ ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา 90110