ให้บริการโดยคณาจารย์ เภสัชกรผู้เชี่ยวชาญด้านยาและสุขภาพ


คำชี้แจง "เว็บไซต์นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อการ ศึกษา การแลกเปลี่ยนความรู้ และให้ข้อมูลเรื่องยาในกรณีทั่วไป ไม่ใช่คำแนะนำทางการแพทย์หรือเพื่อการรักษาในกรณีที่จำเพาะเจาะจง และความเห็นสำหรับกรณีเฉพาะหนึ่ง จะไม่สามารถประยุกต์ใช้กับผู้อื่นได้โดยตรง หากมีปัญหาเรื่องโรคโปรดปรึกษาแพทย์ หากมีปัญหาเรื่องยา โปรดปรึกษาเภสัชกร หรือปรึกษาผู้เกี่ยวข้องโดยตรงกับกรณีนั้นด้วยตนเองเท่านั้น"

Search :
ผมติดเชื้อ H. pylori คุณหมอ รักษาด้วยยา 14 วัน ดังนี้
1. omeprazole 20 mg เช้า


ผมติดเชื้อ H. pylori คุณหมอ รักษาด้วยยา 14 วัน ดังนี้
1. omeprazole 20 mg เช้า เย็น
2. amoxicillin 1 g เช้า เย็น
3. clarithromycin 500 mg เช้า เย็น
อาทิตย์แรก ดีขึ้นมาก พออาทิตย์ที่ 2 โรคก็กลับมาอาการเดิมทั้ง ๆ ที่กินยาปกติ คือแสบท้องมากตอน หลังทานอาหาร และถึงเวลามื้ออาหาร ตอนนี้ครบ 2 อาทิตย์แล้ว ยังไม่หาย ผมควรทำไงต่อดีครับ ควรชื้อยากลุ่มไหนรักษาต่อดี แนะนำด้วยครับ

[รหัสคำถาม : 26] วันที่รับคำถาม : 17 ม.ค. 63 - 17:44:34 ถามโดย : บุคคลทั่วไป

เข้าระบบเพื่อตอบคำถาม

No : 1

สูตรยาในการรักษาลำดับแรกสำหรับการติดเชื้อ H. Pylori

สูตรยาในการรักษาลำดับแรกสำหรับการติดเชื้อ H. pylori คือ PPI-based triple therapy ประกอบด้วย PPI วันละ 1-2 ครั้ง + Clarithromycin 500 มิลลิกรัม วันละ 2 ครั้ง + Amoxicillin 1 กรัม วันละ 2 ครั้ง หรือ Metronidazole 500 มิลลิกรัม วันละ 2 ครั้ง[1] หรือ วันละ 3 ครั้ง[3] นาน 14 วัน[1,2,3,4] ซึ่ง PPI-based triple therapy มักจะเลือกใช้ยา Amoxicillin เป็นส่วนประกอบมากกว่ายา metronidazole เนื่องจากพบการดื้อยาและผลข้างเคียงน้อยกว่า[2]

นอกจากนี้ยังมีสูตรยาทางเลือกในการรักษาลำดับแรก ได้แก่
- Bismuth-containing quadruple therapy ประกอบด้วย PPI[1,3] หรือ H2RA[1] วันละ 1-2 ครั้ง + Bismuth subsalicylate 300 มิลลิกรัม[3] หรือ 524 มิลลิกรัม[3 หรือ 525 มิลลิกรัม[1]] หรือ Bismuth subcitrate 120 - 300 มิลลิกรัม[3] วันละ 4 ครั้ง + Metronidazole 250 มิลลิกรัม[1,3] หรือ 500 มิลลิกรัม[1] วันละ 4 ครั้ง + Tetracycline 500 มิลลิกรัม[1,3] วันละ 4 ครั้ง นาน 10 - 14 วัน[1,3]
- Concomitant therapy ประกอบด้วย PPI วันละ 1-2 ครั้ง[1,3] + Clarithromycin 250 มิลลิกรัม[1] หรือ 500 มิลลิกรัม[1,3] วันละ 2 ครั้ง + Amoxicillin 1 กรัม วันละ 2 ครั้ง[1,3] + Metronidazole 250 มิลลิกรัม[1] หรือ 500 มิลลิกรัม[1,3] หรือ Tinidazole 500 มิลลิกรัม[3] วันละ 2 ครั้ง นาน 10 วัน[1,3]
- Sequential therapy ประกอบด้วย PPI วันละ 1-2 ครั้ง[1,3] + Amoxicillin 1 กรัม วันละ 2 ครั้ง นาน 5 วัน ตามด้วย PPI วันละ 1-2 ครั้ง[1,3] + Metronidazole 250 มิลลิกรัม[1] หรือ 500 มิลลิกรัม[1,3] หรือ Tinidazole 500 มิลลิกรัม[3] วันละ 2 ครั้ง + Clarithromycin 250 มิลลิกรัม[1] หรือ 500 มิลลิกรัม[1,3] วันละ 2 ครั้ง นาน 5 วัน[1,3]
- Hybrid therapy ประกอบด้วย PPI วันละ 1-2 ครั้ง[1,3] + Amoxicillin 1 กรัม วันละ 2 ครั้ง นาน 7 วัน ตามด้วย PPI วันละ 1-2 ครั้ง[1,3] + Amoxicillin 1 กรัม วันละ 2 ครั้ง + Metronidazole 250 มิลลิกรัม[1] หรือ 500 มิลลิกรัม[1,3] หรือ Tinidazole 500 มิลลิกรัม[3] วันละ 2 ครั้ง + Clarithromycin 250 มิลลิกรัม[1] หรือ 500 มิลลิกรัม[1,3] วันละ 2 ครั้ง นาน 7 วัน[1,3]

การรักษาที่ล้มเหลวอาจเกิดจากผู้ป่วยมีความร่วมมือในการใช้ยาต่ำและการที่เชื้อ H. pylori ดื้อต่อยาปฏิชีวนะที่ได้รับ ซึ่งปกติเชื้อ H. pylori จะดื้อต่อยาปฏิชีวนะหลายตัว เช่น vancomycin, trimethoprim และ sulfonamides โดยคนที่มีประวัติการใช้ยาปฏิชีวนะกลุ่ม macrolide, metronidazole และ levofloxacin มาก่อนจะเพิ่มความเสี่ยงให้เชื้อ H. pylori ดื้อต่อยาดังกล่าวได้[3]

การรักษาการติดเชื้อ H. pylori หลังจากการรักษาลำดับแรกล้มเหลว คือ หลีกเลี่ยงยาปฏิชีวนะที่เคยใช้ในการรักษาลำดับแรก และใช้สูตรการรักษาการติดเชื้อ H. pylori หลังจากการรักษาลำดับแรกล้มเหลว[1,3]

สูตรการรักษาการติดเชื้อ H. pylori หลังจากการรักษาลำดับแรกล้มเหลว ได้แก่
- Bismuth-containing quadruple therapy ประกอบด้วย PPI[1,3] หรือ H2RA[1] วันละ 1-2 ครั้ง + Bismuth subsalicylate 300 มิลลิกรัม[3] หรือ 524 มิลลิกรัม[3] หรือ 525 มิลลิกรัม[1] หรือ Bismuth subcitrate 120 - 300 มิลลิกรัม[3] วันละ 4 ครั้ง + Metronidazole 250 มิลลิกรัม[1,3] หรือ 500 มิลลิกรัม[1] วันละ 4 ครั้ง + Tetracycline 500 มิลลิกรัม วันละ 4 ครั้ง[1,3] นาน 10[1] – 14[1,3] วัน
- PPI-based triple therapy with levofloxacin-amoxicillin ประกอบด้วย PPI[1,3] วันละ 1-2 ครั้ง + Amoxicillin 1 กรัม วันละ 2 ครั้ง[1,3] + Levofloxacin 250 มิลลิกรัม วันละ 2 ครั้ง[1] หรือ 500 มิลลิกรัม วันละครั้ง[3] นาน 10 วัน[1] หรือ 14 วัน[3]
- High-dose dual therapy[3] ประกอบด้วย Amoxicillin 1 กรัม วันละ 3 ครั้ง หรือ 750 มิลลิกรัม วันละ 4 ครั้ง + PPI วันละ 3-4 ครั้ง นาน 14 วัน
- Concomitant therapy[3] ประกอบด้วย PPI วันละ 2 ครั้ง + Clarithromycin 500 มิลลิกรัม วันละ 2 ครั้ง + Amoxicillin 1 กรัม วันละ 2 ครั้ง + Metronidazole 500 มิลลิกรัม หรือ Tinidazole 500 มิลลิกรัม วันละ 2-3 ครั้ง นาน 10-14 วัน
- Rifabutin triple therapy[3] ประกอบด้วย rifabutin 300 มิลลิกรัม วันละครั้ง + amoxicillin 1 กรัม วันละ 2 ครั้ง + PPI วันละ 2 ครั้ง นาน 10 วัน

แต่ไม่แนะนำการใช้ levofloxacin ในผู้ป่วยที่มีการติดเชื้อที่ปอดเรื้อรังที่ได้รับยา Fluoroquinolones เป็นประจำ เพราะอาจเกิดเชื้อดื้อยาได้[2] ส่วนสูตรยา Rifabutin triple therapy จะใช้ในกรณีที่ล้มเหลวต่อการรักษามาอย่างน้อย 3 สูตรการรักษา[3,4]

ขนาดยามาตรฐานของ PPI[1,3] ได้แก่ Lansoprazole 30 มิลลิกรัม วันละครั้ง, Omeprazole 40 มิลลิกรัม วันละครั้ง, Pantoprazole 40 มิลลิกรัม วันละครั้ง, Rabeprazole 20 มิลลิกรัม วันละครั้ง, Esomeprazole 40 มิลลิกรัม วันละครั้ง, Dexlansoprazole 30-60 มิลลิกรัม วันละครั้ง

ขนาดยามาตรฐานของ H2RA [1] ได้แก่ Cimetidine 300 มิลลิกรัม วันละ 4 ครั้ง หรือ 400 มิลลิกรัม วันละ 2 ครั้ง หรือ 900 มิลลิกรัม ก่อนนอน, Famotidine 20 มิลลิกรัม วันละ 2 ครั้ง หรือ 40 มิลลิกรัม ก่อนนอน, Ranitidine 150 มิลลิกรัม วันละ 2 ครั้ง หรือ 300 มิลลิกรัม ก่อนนอน

นอกจากสูตรการรักษาที่กล่าวมาข้างต้น ยังมีการศึกษาที่ใช้สูตรการรักษาอื่นในการรักษาการติดเชื้อ H. pylori เช่น การศึกษาแบบ Randomized Controlled Trial ของ Hsu และคณะ[5] สุ่มผู้ป่วยที่ติดเชื้อ H. pylori ที่ล้มเหลวจากสูตรการรักษาอันดับแรก ให้ได้รับ TL quadruple therapy (esomeprazole 40 มิลลิกรัม วันละ 2 ครั้ง, tripotassium dicitrato bismuthate 120 มิลลิกรัม วันละ 4 ครั้ง, tetracycline 500 มิลลิกรัม วันละ 4 ครั้ง และ levofloxacin 500 มิลลิกรัม วันละครั้ง) หรือได้รับ AL triple therapy (esomeprazole 40 มิลลิกรัม วันละ 2 ครั้ง, amoxicillin 500 มิลลิกรัม วันละ 4 ครั้ง และ levofloxacin 500 มิลลิกรัม วันละครั้ง) นาน 10 วัน และประเมินผลที่สัปดาห์ที่ 6 หลังจบการรักษา พบว่าผู้ป่วยที่ได้รับ TL quadruple therapy มีอัตราการกำจัดเชื้อได้สูงกว่าผู้ป่วยที่ได้รับ AL triple therapy ร้อยละ 28.8 (95% CI: 15.7% - 41.9%; P<0.001) สรุปได้ว่าการใช้สูตรยา PPI-bismuth-tetracycline-levofloxacin quadruple therapy เป็นทางเลือกที่ดีในการรักษาการติดเชื้อ H. pylori infection หลังจากล้มเหลวจากการรักษามาตรฐาน triple therapy หรือ non-bismuth quadruple therapy

เนื่องจากสูตรยาที่ผู้ป่วยได้รับเป็นสูตรยาในการรักษาลำดับแรกสำหรับการติดเชื้อ H. pylori เมื่อผู้ป่วยรับประทานยาครบ 14 วันแล้ว ยังมีอาการแสบท้องหลังรับประทานอาหารและเมื่อถึงเวลามื้ออาหาร อาจเกิดจากเชื้อ H. pylori ที่ดื้อต่อยาปฏิชีวนะที่ได้รับ ทำให้การรักษาไม่ได้ผล ดังนั้นแนะนำให้ผู้ป่วยไปพบแพทย์เพื่อพิจารณาเลือกสูตรการรักษาอื่นสำหรับรักษาการติดเชื้อ H. pylori ที่เหมาะสมกับผู้ป่วยต่อไป

เอกสารอ้างอิง
[1] Love BL, Mohorn PL. Peptic Ulcer Disease and Related Disorders. In: DiPiro JT, Talbert RL, Yee GC, Matzke GR, Wells BG, Posey LM, editors. Pharmacotherapy: A pathophysiologic approach. 10th ed. New York: McGraw-Hill Education; 2017. p.453-70.
[2] กลุ่มวิจัยโรคกระเพาะอาหาร สมาคมแพทย์ระบบทางเดิน อาหารแห่งประเทศไทย. แนวทางเวชปฏิบัติในการวินิจฉัยและการรักษาผู้ป่วย ที่มีการติดเชื้อเฮลิโคแบคเตอร์ ไพโลไร (Helicobacter pylori) ในประเทศไทย พ.ศ.2558. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: คอนเซ็พท์ เมดิคัส; 2559.
[3] Crowe SE. Treatment regimens for Helicobacter pylori [Internet]. Waltham (MA): UpToDate; 2019 [cited 2020 Jan 7]. Available from: http://www.uptodate.com
[4] Fallone CA, Chiba N, Fischbach L, et al. The Toronto Consensus for the Treatment of Helicobacter pylori Infection in Adults. Gastroenterology, 2016-07-01, Volume 151, Issue 1, Pages 51-69.e14.
[5] Hsu PI, Tsai FW, Kao SS, et al. Ten-Day Quadruple Therapy Comprising Proton Pump Inhibitor, Bismuth, Tetracycline, and Levofloxacin is More Effective than Standard Levofloxacin Triple Therapy in the Second-Line Treatment of Helicobacter pylori Infection: A Randomized Controlled Trial. Am J Gastroenterol. 2017 Sep;112(9):1374-1381.


วันที่ตอบ : 31 ม.ค. 63 - 14:23:15




พัฒนาระบบโดย ภานุชญา มณีวรรณ ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา 90110