ให้บริการโดยคณาจารย์ เภสัชกรผู้เชี่ยวชาญด้านยาและสุขภาพ


คำชี้แจง "เว็บไซต์นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อการ ศึกษา การแลกเปลี่ยนความรู้ และให้ข้อมูลเรื่องยาในกรณีทั่วไป ไม่ใช่คำแนะนำทางการแพทย์หรือเพื่อการรักษาในกรณีที่จำเพาะเจาะจง และความเห็นสำหรับกรณีเฉพาะหนึ่ง จะไม่สามารถประยุกต์ใช้กับผู้อื่นได้โดยตรง หากมีปัญหาเรื่องโรคโปรดปรึกษาแพทย์ หากมีปัญหาเรื่องยา โปรดปรึกษาเภสัชกร หรือปรึกษาผู้เกี่ยวข้องโดยตรงกับกรณีนั้นด้วยตนเองเท่านั้น"

Search :
ผู้ป่วยโรคตับสามารถกิน whey ได้หรือไม่ และกินอย่างไรถึงจะปลอดภัย

ผู้ป่วยโรคตับสามารถกิน whey ได้หรือไม่ และกินอย่างไรถึงจะปลอดภัย

[รหัสคำถาม : 28] วันที่รับคำถาม : 18 ม.ค. 63 - 16:15:01 ถามโดย : บุคคลทั่วไป

เข้าระบบเพื่อตอบคำถาม

No : 1

Whey protein จัดเป็น ผงโปรตีนคุณภาพสูงที่ได้มาจากนมวัว ซึ่งในนมวัว มี whey protein เพียงร้อยละ 20 โดย whey protein ที่มีจำหน่ายท้องตลาดเป็นผลิตภัณฑ์เสริมอาหารมีหลายประเภท ได้แก่ รูปแบบ whey protein isolate, whey protein concentrate และ hydrolyzed whey protein โดยแต่ละชนิดจะมีส่วนประกอบของ Protein, Lactose และ Fat ที่แตกต่างกัน จึงนำไปใช้ประโยชน์แตกต่างกัน whey protein มีส่วนประกอบหลักเป็น branched-chain amino acids (BCAAs) สูง ร้อยละ 23-25 โดย BCAA มีส่วนสำคัญที่ใช้ในการเมตาบอลิซึมของกล้ามเนื้อ ช่วยเพิ่มการสร้างเอนไซม์กลูตาไทโอน มีฤทธิ์ antioxidant ที่มีบทบาทเสริมสร้างภูมิคุ้มกัน ช่วยลด cholesterol โดยยับยั้งการสร้าง low-density lipoprotein (LDL) จึงมีการนำมาใช้ด้านโภชนาการและการแพทย์ ในผู้ป่วยที่มีกลุ่มอาการอ่อนแรงเรื้อรัง(chronic fatigue syndrome) ในผู้ที่ติดเชื้อ HIV [1] แต่เดิม

ผู้ป่วยโรคตับมีความต้องการปริมาณโปรตีนที่สูงกว่าคนสุขภาพดี [2] ผู้ป่วยโรคตับที่ไม่มีภาวะทุพโภชนาการ ควรได้รับปริมาณโปรตีน 1.2 กรัมโปรตีน/น้ำหนักตัว(kg)/day แต่ในรายที่มีภาวะทุพโภชนาการ (หรือมีภาวะ Sarcopenic cirrhosis) ควรได้รับปริมาณโปรตีน 1.5 g กรัมโปรตีน/น้ำหนักตัว(kg)/day [4] ซึ่งสูงกว่าในผู้ใหญ่ทั่วไปที่ต้องการโปรตีน 0.8-1 กรัมโปรตีน/น้ำหนักตัว(kg)/วัน [3] ด้วยเหตุผลว่าผู้ป่วยโรคตับมีการเมตาบอลิซึมของโปรตีนที่เปลี่ยนแปลงไป มีภาวะ Protein calorie malnutrition (PCM) ที่มีความสัมพันธ์กับความเสี่ยงต่อทุพพลภาพและอัตราการตาย [2] อย่างไรก็ตามพบว่าในผู้ป่วยโรคตับ โปรตีนทำให้เกิดการสร้างแอมโมเนียและพัฒนาไปสู่ Hepatic encephalopathy แต่ความสัมพันธ์ระหว่างการรับประทานโปรตีนและการเกิด Hepatic encephalopathy ยังไม่ชัดเจน

รูปแบบของโปรตีนที่ได้รับจากอาหารเป็นโปรตีนที่ได้จากพืชและโปรตีนที่ได้จากสัตว์ โปรตีนจากพืชมีข้อดีคือ มีปริมาณเมไทโอนีนน้อยกว่าโปรตีนจากเนื้อสัตว์ ซึ่งการเมตาบอลิซึมเมไทโอนีนส่งผลให้เกิดภาวะ Hepatic encephalopathy ในผู้ป่วยโรคตับ โปรตีนจากพืชมีอาจีนีนและซิทรูลีนสูงซึ่งมีส่วนช่วยในการกำจัดแอมโมเนียออกจากร่างกาย โปรตีนจากพืชมาจาก branched-chain amino acids (BCAA) ที่สูง มีผลลดการดูดซึมไนโตรเจน อันเป็นสาเหตุของภาวะ Hepatic encephalopathy แต่การรับประทานพืชมากมีข้อเสียคือ มีกากใยอาหารที่สูงอาจส่งผลให้ผู้ป่วยเกิดอาการปวดท้อง ท้องอืดได้ ซึ่งเป็นข้อจำกัดของการใช้ ขณะที่ในส่วนของผลิตภัณฑ์เสริมโปรตีน

การได้รับผลิตภัณฑ์โปรตีนเสริม จึงเป็นประโยชน์ต่อผู้ป่วยที่มีภาวะทุพโภชนาการ พบว่ากลุ่มที่ได้รับผลิตภัณฑ์เสริมโปรตีนมีการเผาผลาญที่ดีขึ้นกว่ากลุ่มที่ได้รับโปรตีนที่ต่ำกว่าจากอาหาร [5] แต่อย่างไรก็ตามการรับประทานผลิตภัณฑ์เสริมโปรตีน ควรได้รับการประเมิน ภาวะโภชนาการในแต่ละรายบุคคล เพื่อกำหนดการจัดการที่เหมาะสมกับผู้ป่วยเฉพาะราย มีการศึกษาในสัตว์ทดลองประเภทหนู พบว่ากลุ่มที่ได้รับ whey protein ระยะยาว มีผลทำให้ serum AST และ ALT เพิ่มขึ้นได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ บ่งบอกถึง hepatocellular injury ไม่ว่าจะได้รับ whey ระยะสั้นและยาว [6]

โดยสรุป ผู้ป่วยตับควรได้รับโปรตีนต่อวัน 1.2 กรัมโปรตีน/น้ำหนักตัว(kg)/day ในรายที่มีภาวะทุพโภชนาการ (หรือมีภาวะ Sarcopenic cirrhosis) ควรได้รับ 1.5 g กรัมโปรตีน/น้ำหนักตัว(kg)/day อาหารเสริม whey protein มีส่วนประกอบที่สำคัญ คือ branched-chain amino acids (BCAAs) ซึ่งมีข้อดีในผู้ป่วยโรคตับคือ มีผลลดการดูดซึมไนโตรเจนอันเป็นสาเหตุของภาวะ Hepatic encephalopathy แต่อย่างไรก็ตามไม่พบการศึกษาที่นำ whey protein มาศึกษาในลักษณะเป็นอาหารเสริมในผู้ป่วยโรคตับ จึงไม่มีข้อมูลที่ชัดเจนในเรื่องของประโยชน์หรือโทษ แต่มีการศึกษาในสัตว์ทดลองพบว่าการรับประทาน whey protein 60 mg ต่อวัน ก่อให้เกิด hepatic injury ได้ ดังนั้นการใช้ควรมีการประเมินภาวะโภชนาการของผู้ป่วยก่อนและใช้เสริมในปริมาณพอเหมาะ ขนาด whey protein ปกติที่แนะนำทั่วไปคือ ประมาณ 25-50 กรัม ต่อวัน

Reference
[1] Gangurde HH, Chordiya MA, Patil PS, Baste NS. Whey protein. Scholars' Research Journal. 2011; 69(1): 69-77.
[2] Eghtesad S, Poustchi H, Malekzadeh R. Malnutrition in liver cirrhosis:the influence of protein and sodium. Middle East J Dig Dis. 2013 Apr; 5(2): 65-75.
[3] Krinsky DL, Ferreri SP, Hemstreet B, Hume AL, Newton GD, Rollins CJ. et al. Handbook of Nonprescription drugs.18th edition. Washington DC: American Pharmacists Association; 2015. p429.
[4] Plauth M, Bernal W, Dasarathy S, Merli M, Plank LD, Schütz T, Bischoff SC.ESPEN guideline on clinical nutrition in liver disease. Clin Nutr. 2019 Apr;38(2):485-521.
[5] Iiames J, Logomarsino JV. Protein Recommendations for Older Adults with Cirrhosis: A Review. Journal of Gastroenterology and Hepatology Research. 2015; 4(4): 1546-56.
[6] Gürgen SG, Yücel AT, Karakuş AÇ, Çeçen D, Özen G, Koçtürk S. Usage of whey
protein may cause liver damage via inflammatory and apoptotic responses. Hum Exp
Toxicol. 2015 Jul; 34(7): 769-79.

[7] Bortolotti M, Maiolo E., Corazza M, Van DE, Schneiter P, Boss A. et al. Effects of a whey protein supplementation on intrahepatocellular lipids in obese female patients. Clinical Nutrition. 2011; 30(4): 494–498.


วันที่ตอบ : 11 ก.พ. 63 - 13:14:42




พัฒนาระบบโดย ภานุชญา มณีวรรณ ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา 90110