ให้บริการโดยคณาจารย์ เภสัชกรผู้เชี่ยวชาญด้านยาและสุขภาพ


คำชี้แจง "เว็บไซต์นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อการ ศึกษา การแลกเปลี่ยนความรู้ และให้ข้อมูลเรื่องยาในกรณีทั่วไป ไม่ใช่คำแนะนำทางการแพทย์หรือเพื่อการรักษาในกรณีที่จำเพาะเจาะจง และความเห็นสำหรับกรณีเฉพาะหนึ่ง จะไม่สามารถประยุกต์ใช้กับผู้อื่นได้โดยตรง หากมีปัญหาเรื่องโรคโปรดปรึกษาแพทย์ หากมีปัญหาเรื่องยา โปรดปรึกษาเภสัชกร หรือปรึกษาผู้เกี่ยวข้องโดยตรงกับกรณีนั้นด้วยตนเองเท่านั้น"

Search :
แนวทางการรักษา

แนวทางการรักษา Heparin-induced thrombocytopenia (HIT) ที่เป็นมาตรฐานดีที่สุดปัจจุบันคืออะไร

[รหัสคำถาม : 307] วันที่รับคำถาม : 24 พ.ย. 64 - 20:58:13 ถามโดย : บุคคลทั่วไป

เข้าระบบเพื่อตอบคำถาม

No : 1

Heparin-induced thrombocytopenia (HIT) เป็นภาวะหลอดเลือดอุดตันจากลิ่มเลือดร่วมกับมีภาวะเลือดออกง่าย ซึ่งเป็นอาการไม่พึงประสงค์ที่พบจากยา heparin กลไกการเกิด HIT มีทั้งหมด 2 แบบ ดังนี้ แบบที่ 1 ไม่เกี่ยวข้องกับระบบภูมิคุ้มกัน มักเกิดภายใน 2 วันหลังจากใช้ยา ซึ่งจำนวนเกล็ดเลือดมักจะอยู่ในระดับปกติและไม่จำเป็นต้องหยุดยา heparin ส่วนแบบที่ 2 จะเกี่ยวข้องกับระบบภูมิคุ้มกัน เป็นชนิดที่อันตรายและมีอัตราการเสียชีวิตคิดเป็นร้อยละ 20 โดย Platelet factor 4 หรือ PF4 (โปรตีนที่อยู่ใน granule ของเกล็ดเลือด) เป็นสำคัญในการเกิด HIT ชนิดนี้[1,2] ยาที่ทำให้เกิด HIT ได้แก่ unfractionated heparin (UFH) และ low-molecular-weight heparin (LMWH)[3,4]
การจัดการเบื้องต้นในผู้ป่วย HIT จะแบ่งตามระดับความรุนแรง ผู้ป่วยที่มีความรุนแรงน้อยสามารถใช้ยา heparin ต่อได้ ส่วนผู้ป่วยที่มีความรุนแรงระดับปานกลางถึงรุนแรง แนะนำให้หยุดยา heparin และเปลี่ยนไปใช้ยา non-heparin anticoagulant แทน[3,4] หรือฉีด intravenous immunoglobulin (IVIG) เพื่อรักษา HIT[4,5]
กลุ่มยา non-heparin anticoagulant ที่แนะนำให้ใช้แทนยา heparin ในผู้ป่วย HIT[4,5] ได้แก่
1. กลุ่ม direct thrombin inhibitors ออกฤทธิ์จับกับ thrombin โดยตรง ยาในกลุ่มนี้ที่องค์การอาหารและยาของประเทศสหรัฐอเมริกา (US FDA) อนุมัติให้ใช้ ได้แก่ argatroban และ bivalirudin
2. กลุ่ม direct oral anticoagulants (DOACs) ได้แก่ apixaban, edoxaban, rivaroxaban และ dabigatran

เอกสารอ้างอิง
[1]. Ahmed I, Majeed A, Powell R. Heparin induced thrombocytopenia: diagnosis and management update. Postgrad Med J. 2007 Sep;83(983):575-82.
[2]. จันทนา ผลประเสริฐ. Journal of Medicine and Health Sciences: ภาวะเกล็ดเลือดต่ำจากยาเฮปพาริน. 2051 ธันวาคม;15(3):115-122.
[3]. Adam Cuker, Gowthami M. Arepally, Beng H. Chong, Douglas B. Cines, Andreas Greinacher, Yves Gruel, Lori A. Linkins, Stephen B. Rodner, Sixten Selleng, Theodore E. Warkentin, Ashleigh Wex, Reem A. Mustafa, Rebecca L. Morgan, Nancy Santesso; American Society of Hematology 2018 guidelines for management of venous thromboembolism: heparin-induced thrombocytopenia. Blood Adv 2018; 2 (22): 3360–3392.
[4]. Mark Crowther. Management of heparin-induced thrombocytopenia. In: UpToDate, Post TW (Ed), UpToDate. Waltham, MA. (Accessed November 17, 2021)
[5]. repally GM, Padmanabhan A. Heparin-Induced Thrombocytopenia: A Focus on Thrombosis. Arterioscler Thromb Vasc Biol. 2021 Jan;41(1):141-152.

วันที่ตอบ : 25 พ.ย. 64 - 13:45:24




พัฒนาระบบโดย ภานุชญา มณีวรรณ ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา 90110