ให้บริการโดยคณาจารย์ เภสัชกรผู้เชี่ยวชาญด้านยาและสุขภาพ


คำชี้แจง "เว็บไซต์นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อการ ศึกษา การแลกเปลี่ยนความรู้ และให้ข้อมูลเรื่องยาในกรณีทั่วไป ไม่ใช่คำแนะนำทางการแพทย์หรือเพื่อการรักษาในกรณีที่จำเพาะเจาะจง และความเห็นสำหรับกรณีเฉพาะหนึ่ง จะไม่สามารถประยุกต์ใช้กับผู้อื่นได้โดยตรง หากมีปัญหาเรื่องโรคโปรดปรึกษาแพทย์ หากมีปัญหาเรื่องยา โปรดปรึกษาเภสัชกร หรือปรึกษาผู้เกี่ยวข้องโดยตรงกับกรณีนั้นด้วยตนเองเท่านั้น"

Search :
เป็นเนื้องอกที่มดลูกขนาดใหญ่สุดคือ 5.9 cm (เริ่มพบปี 2003 ขนาด 1 cm กว่า ปี 2004

เป็นเนื้องอกที่มดลูกขนาดใหญ่สุดคือ 5.9 cm (เริ่มพบปี 2003 ขนาด 1 cm กว่า ปี 2004 ขนาด 4.5 cm ปี 2005 ขนาด 5.7 cm) ประจำเดือนมามากกว่าปกติ 1-2 ปีแล้ว มีโลหิตจางเมื่อปีที่แล้วถึงปัจจุบัน เพิ่งเริ่มกินธาตุเหล็กจากหมอสั่ง 1x3 อายุ 50 ปี อยากทราบว่า มีวิธีการรักษาด้วยยาอะไรบ้าง เช่น ยากระตุ้นฮอร์โมนโกนาโดโทรปิน- รีลิสซิ่ง
นี้มีผลข้างเคียงอย่างไรและใช้ยานี้ได้นานแค่ไหน เนื้องอกจะกลับมาเท่าเดิมหลังหยุดยาหรือ
ลดลงบ้างอย่างไร หากเป็นเช่นนี้ต้องรักษาด้วยยาอะไรต่อ ขอคำแนะนำด้วยคะ วันอังคารจะไปพบหมอ จะได้มีแนวทางเบื้องต้น

[รหัสคำถาม : 32] วันที่รับคำถาม : 22 ม.ค. 63 - 13:16:06 ถามโดย : บุคคลทั่วไป

เข้าระบบเพื่อตอบคำถาม

No : 1

เนื้องอกมดลูก (Uterine Fibroids) เป็นเนื้องอกในบริเวณกระดูกเชิงกราน (pelvis) ที่พบมากในเพศหญิง[1] อาการที่พบได้ เช่น มีเลือดออกผิดปกติจากมดลูก อาการปวดบริเวณมดลูก มีภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็ก

แนวทางการรักษาขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายประการ[2]
1. กรณีผู้ป่วยไม่มีอาการแสดง จะรักษาโดยติดตามอาการ
2. กรณีผู้ป่วยมีอาการแสดง จะพิจารณาว่าผู้ป่วยอยู่ในช่วงหมดประจำเดือนหรือไม่ เช่น
2.1 กรณีหมดประจำเดือน (Post-menopause)
การรักษาคือการผ่าตัด โดยจะแบ่งออกเป็น 2 ประเภท
- Hysterectomy ผ่าตัดมดลูกออกทั้งหมด
- Myomectomy ผ่าตัดมดลูกเฉพาะส่วนที่เป็นเนื้องอก
2.2 กรณียังไม่หมดประจำเดือน (Pre-menopause)
2.2.1 ถ้าผู้ป่วยมีอาการเลือดออกผิดปกติจากมดลูก มีวิธีการรักษา เช่น
1) การใช้ยา ( Medical therapy ) กลุ่มยาที่ใช้ได้ เช่นProgesterone receptor modulators,
Estrogen-progestin contraceptives , Danazol , Levonorgestrel-releasing intrauterine system , Antifibrinolytic agents (Tranexamic acid),Gonadotropin-releasing hormone agonists ± add back therapy
2) การผ่าตัดมดลูกเฉพาะส่วนที่เป็นเนื้องอก (Myomectomy) เช่น ผ่าตัดผ่านกล้องส่องในโพรงมดลูก (Hysteroscopic) ผ่าตัดผ่านกล้องส่องทางหน้าท้อง (Laparoscopic) ผ่าตัดแบบเปิดหน้าท้องหรือช่องท้อง (Laparotomic)
3) การรักษาวิธีอื่นๆ เช่น การใส่สายสวนเข้าไปในเส้นเลือด uterinearteries และปล่อย
อนุภาคเล็กๆเข้าไปเพื่ออุดกั้นเส้นเลือดที่ไปเลี้ยงมดลูก (Uterine artery embolization : UAE) การใช้คลื่นเสียงความถี่สูง (Magnetic Resonance-guided Focused Ultrasound : MRgFU) การใช้กระแสไฟฟ้า ความร้อน หรือความถี่สูงในการทำลายเนื้องอก (Myolysis)


Gonadotropin-releasing hormone agonists เป็นยารักษาเนื้องอกมดลูกที่มีประสิทธิภาพ[1,4]
การใช้ยาเป็นระยะเวลานาน 3-6 เดือน จะลดขนาดเนื้องอกมดลูกได้ 35-60 %[1-4] ยากลุ่มนี้มีกลไกการออกฤทธิ์คือ เพิ่มการหลั่ง gonadotropins ในช่วงแรก เรียกว่า “Flare-up effect” และจะกดการหลั่ง (downregulation) ในเวลาต่อมาทำให้ระดับของฮอร์โมนเพศต่ำ (hypogonadotropic) ส่งผลทำให้ผู้ป่วยเกิดภาวะ menopause ได้ [1-4]

ยากลุ่มนี้จึงมีผลข้างเคียงเหมือนอาการหมดประจำเดือน (menopause) เช่น hot flashes,
sleep disturbance, vaginal dryness, myalgias และ การเปลี่ยนแปลงของอารมณ์ ผลข้างเคียงดังกล่าวสามารถลดลงได้เมื่อใช้วิธีการรักษาแบบ add-back therapy เป็นการใช้ GnRH agonist ร่วมกันกับ low-dose estrogen-progestin หรือ tibolone หรือ estrogen เดี่ยว หรือ progestin เดี่ยว หรือ raloxifene ในช่วงที่มีภาวะ downregulation[1-4]

ยากลุ่มGnRH agonist ที่มีในประเทศไทย เช่น Leuprolide,Buserelin,Goserelin
และTriptorelin[5-8] ยากลุ่มนี้สามารถให้ร่วมกับธาตุเหล็กในผู้ป่วยที่มีภาวะโลหิตจางร่วมด้วย[4]
ระยะเวลาการรักษาควรใช้ยาอย่างต่อเนื่องนาน 3-6 เดือน แต่เมื่อหยุดยาเนื้องอกจะมีโอกาส
กลับมาโตใหม่ภายใน 2-3 เดือนหลังหยุดการรักษา[4,9] และการใช้ยานี้ควรอยู่ในความดูแลของแพทย์อย่างใกล้ชิดเพื่อติดตามประสิทธิภาพและอาการข้างเคียงของยา

เอกสารอ้างอิง
1. Stewart EA. Overview of treatment of uterine leiomuomas (fibroids) [Internet].
Waltham (MA): UpToDate; 2020 [cited 2020 Jan 8]. Available from: https://www.uptodate.com
2. Vilos GA, Allaire C, Laberge PY, Leyland N. The management of uterine
leiomyomas. J Obstet Gynaecol Can. 2015 Feb;37(2):157-178.
3. Sabry M, Al-Hendy A. Medical treatment of uterine leiomyoma. Reprod Sci. 2012
Apr;19(4):339-53.
4. Palomba S, Falbo A, Russo T et al. GnRH analogs for the treatment of
symptomatic uterine leiomyomas. Gynecol Surg. 2005;2:7-13.
5. MIMS Online Thailand. Leuprolide [Internet]. 2020 [cited 2020 Jan 8]. Available
from: http://www.mims.com/thailand/drug/info/Leuprolide
6. MIMS Online Thailand. Buserelin [Internet]. 2020 [cited 2020 Jan 8]. Available
from: http://www.mims.com/thailand/drug/info/Buserelin
7. MIMS Online Thailand. Goserelin [Internet]. 2020 [cited 2020 Jan 8].
Available from: http://www.mims.com/thailand/drug/info/Goserelin
8. MIMS Online Thailand. Triptorelin [Internet]. 2020 [cited 2020 Jan 8].
Available from: http://www.mims.com/thailand/drug/info/Triptorelin
9. Letterie GS, Coddington CC, Winkel CA, Shawker TH, Loriaux DL, Collins RL.
Efficacy of a gonadotropin-releasing hormone agonist in the treatment of
uterine leiomyomata: long-term follow-up. Fertil Steril. 1989 Jun;51(6):951-6.
วันที่ตอบ : 23 ม.ค. 63 - 11:00:41




พัฒนาระบบโดย ภานุชญา มณีวรรณ ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา 90110