ให้บริการโดยคณาจารย์ เภสัชกรผู้เชี่ยวชาญด้านยาและสุขภาพ


คำชี้แจง "เว็บไซต์นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อการ ศึกษา การแลกเปลี่ยนความรู้ และให้ข้อมูลเรื่องยาในกรณีทั่วไป ไม่ใช่คำแนะนำทางการแพทย์หรือเพื่อการรักษาในกรณีที่จำเพาะเจาะจง และความเห็นสำหรับกรณีเฉพาะหนึ่ง จะไม่สามารถประยุกต์ใช้กับผู้อื่นได้โดยตรง หากมีปัญหาเรื่องโรคโปรดปรึกษาแพทย์ หากมีปัญหาเรื่องยา โปรดปรึกษาเภสัชกร หรือปรึกษาผู้เกี่ยวข้องโดยตรงกับกรณีนั้นด้วยตนเองเท่านั้น"

Search :
Glycirine borax รักษาเชื้อราในช่องปากได้ดีไหมครับ

Glycirine borax รักษาเชื้อราในช่องปากได้ดีไหมครับ
แล้วมียาตัวไหนที่ใช้ทดแทนได้บ้างครับ โรคนี้ต่างกับโรคซางอย่างไรครับ

[รหัสคำถาม : 332] วันที่รับคำถาม : 28 ธ.ค. 64 - 22:07:33 ถามโดย : นักศึกษา วิทยาศาสตร์สุขภาพ

เข้าระบบเพื่อตอบคำถาม

No : 1

โรคเชื้อราในช่องปาก (oral candidiasis/ Thrush) มักมีสาเหตุมาจากการติดเชื้อรากลุ่ม Candidas ซึ่งปัจจัยเสี่ยง มักเกิดจากการใช้ยาปฏิชีวนะ (antibiotics) และยาสเตียรอยด์ ชนิดสูด (inhaled corticosteriods) ได้รับการฉายแสงบริเวณ ศีรษะและลำคอ ภาวะปากแห้ง (xerostomia) การใส่ฟันปลอม และมีภูมิคุ้มกันบกพร่อง เป็นต้น อาการแสดงคือ เป็นฝ้าแผ่นสีเทา-ขาวที่เยื่อบุภายในช่องปาก ซึ่งหากขูดออกจะเห็นเป็นรอยแดงและ อาจทำให้ผู้ป่วยเกิดเลือดออกตามมา มักมีภาวะปากแห้งร่วมซึ่ง ส่งผลให้รู้สึกระคายเคืองและกลืนลำบากได้ จากแนวทางการรักษา ตามคู่มือการใช้ยาอย่างสมเหตุสมผลและบัญชียาหลักแห่งชาติ พ.ศ. 2559 ได้แนะนำการรักษา ดังนี้
กรณีมีการติดเชื้อไม่รุนแรงแนะนำให้ใช้ผลิตภัณฑ์เฉพาะที่ในช่องปาก ซึ่งผลิตภัณฑ์ที่แนะนำให้ใช้เป็นอันดับแรก คือ น้ำยาบ้วนปาก nystatin กลั้วปาก ครั้งละ 4-6 มิลลิลิตร นาน 2 นาทีแล้วกลืน วันละ 4 ครั้ง หลังอาหารและก่อนนอน เป็นระยะ เวลา 14 วัน ผลิตภัณฑ์ที่แนะนำให้ใช้เป็นอันดับรองลงมา คือ clotrimazole troches 10 มิลลิกรัม อมครั้งละ 1 เม็ด วันละ 4 ครั้ง หลังอาหารและก่อนนอน เป็นเวลา 14 วัน และ miconazole oral gel 10 มิลลิกรัม ทาในช่องปากบริเวณที่ติดเชื้อรา วันละ 4 ครั้ง หลังอาหารและก่อนนอน เป็นเวลา 14 วัน โดยแนะนำให้งดการดื่ม น้ำและรับประทานอาหารหลังการใช้ยาทั้งสองชนิดเป็นเวลา 30 นาที [1]
หากผู้ป่วยไม่ตอบสนองต่อการรักษาด้วยผลิตภัณฑ์เฉพาะที่
ในช่องปาก หรือมีการติดเชื้อราในระดับปานกลางถึงรุนแรง ควรรักษาด้วยยาต้านเชื้อราชนิดรับประทาน รับประทานนาน 7-14 วัน ซึ่งการใช้ยาควรใช้ภายใต้คำแนะนำจากแพทย์หรือเภสัชกร
สาร boric acid ในสารละลาย glycerin borax มีคุณสมบัติใน การยับยั้งเชื้อแบคทีเรีย (bacteriostatic) และเชื้อรา (fungistatic) โดยกลไกยับยั้งกระบวนการ oxidative metabolism ทำให้ลดการสร้าง cellular ergosterol ของเชื้อรา และยับยั้ง cytoskeleton ของเชื้อรา [2] มีรายงานการศึกษาเปรียบเทียบ ฤทธิ์ต้านเชื้อราของ boric acid กับยาต้านเชื้อรามาตรฐาน amphotericin B พบว่าในระดับความเข้มข้น 5% ของสาร boric acid มีฤทธิ์ยับยั้งเชื้อราดีกว่ายามาตรฐาน แม้ว่าตำรับ glycerin borax ยังคงบรรจุอยู่ในบัญชียาหลักแห่งชาติ [3] แต่ในปัจจุบัน มีการใช้ในทางคลินิกสำหรับต้านเชื้อราน้อยลง เนื่องจากมีสาร ต้านเชื้อรา (disinfectants) กลุ่มอื่นที่มีประสิทธิภาพมากกว่า และเกิดพิษน้อยกว่า ดังที่ได้กล่าวไว้ในข้างต้น อาการไม่พึงประสงค์หรืออาการพิษที่พบได้จากการใช้สาร boric acid ได้แก่ อาเจียน ท้องเสีย ปวดท้อง มีผื่นแดงบริเวณผิวหนังและเยื่ออ่อน และอาจมีผลกระตุ้น หรือกดการทำงานของระบบประสาท ส่วนกลาง [4]
โรคซางหรือแผลร้อนใน (aphthous ulcer) ปัจจุบัน ยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัด แต่พบว่ามีความสัมพันธ์กับการ ถ่ายทอดทางพันธุกรรม การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนเพศ ความผิดปกติของระบบภูมิคุ้มกัน ภาวะภูมิไวเกิน (hypersensitivity) ได้รับสารก่อภูมิแพ้ (เช่น ยา อาหาร สารเคมีในอาหาร สารในยาสีฟันหรือน้ำยาบ้วนปาก เป็นต้น) ขาดสารอาหารกลุ่มวิตามินและแร่ธาตุบางชนิด (เช่น วิตามิน บี สังกะสี เป็นต้น) ความเครียด บุหรี่ และการติดเชื้อแบคทีเรีย หรือเชื้อไวรัสบางชนิด แผลจะมีขนาดเล็กลักษณะกลมหรือรี มีเยื่อเทียมสีเหลืองเทาปกคลุม ตรงรอยแผลจะเป็นสีเหลือง ล้อมด้วยเนื้อเยื่อสีแดง แผลอาจเกิดเป็นแผลเดี่ยว หรือหลายแผล ก็ได้ มักมีอาการเจ็บปวดร่วมด้วย ทำให้รับประทานอาหารและกลืน ลำบากได้ มักมีการกลับเป็นซ้ำของโรคโดยเฉพาะเมื่อมีสุขภาพ ร่างกายอ่อนแอ พักผ่อนไม่เพียงพอ แนวทางการรักษาตาม คู่มือการใช้ยาอย่างสมเหตุสมผล และบัญชียาหลักแห่งชาติ [4] แนะนำให้ใช้ผลิตภัณฑ์เฉพาะที่กลุ่ม steroids เป็นหลักใน การรักษา [5] การเลือกชนิดของยา steroids ขึ้นกับขนาดแผล ดังนี้
: แผลร้อนในขนาดเล็ก (ไม่เกิน 5 มิลลิเมตร) แนะนำให้ใช้ 0.1% triamcinolone acetonide oral paste ป้ายบริเวณแผล วันละ 4 ครั้ง หลังอาหารและก่อนนอน เป็นระยะเวลา 10-14 วัน
: แผลร้อนในขนาดใหญ่ (ประมาณ 10 มิลลิเมตร) แนะนำให้ใช้ 0.1% fluocinolone acetonide oral paste หรือ oral gel ป้ายบริเวณแผล วันละ 4 ครั้ง หลังอาหารและก่อน
ยาที่ควรเลือกใช้เป็นอันดับรอง คือ 0.05% dexamethasone oral paste ป้ายบริเวณแผล วันละ 4 ครั้ง หลังอาหารและก่อนนอน เป็นเวลา 10-14 วัน
: กรณีมีแผลกระจายหลายตำแหน่ง ควรเลือกใช้ในรูปน้ำยาบ้วนปาก 0.05% dexamethasone elixir อมกลั้วในช่องปาก เป็นเวลาประมาณ 2 นาที แล้วบ้วนทิ้ง วันละ 4 ครั้ง หลังอาหารและก่อนนอน เป็นเวลา 10-14 วัน [1]

เอกสารอ้างอิง
[1]. คณะอนุกรรมการพัฒนาบัญชียาหลักแห่งชาติและคณะทำงานผู้เชี่ยวชาญแห่งชาติด้านการคัดเลือกยา สาขาทันตกรรม คู่มือการใช้ยาอย่างสมเหตุสมผลตามบัญชียาหลักแห่งชาติ ยาที่ใช้ทางทันตกรรม. 2559;[116]. สืบค้นเมื่อ 15 พฤศจิกายน 2564. เข้าถึงได้จาก:
http://www.dent.chula.ac.th/oraldiseases/medications/ NationalListofEssentialMedicines.pdf.
[2]. Caceres DH, Coral-Garzon A, Gavilanes-Martinez MA. Antifungal activity of boric acid, triclozan and zinc oxide against different clinically relevant Candida species. Mycoses [journal on the Internet]. 2021. May;64: 1045-52. doi: 10.1111/myc.13302.
[3]. คณะกรรมการพัฒนาระบบยาแห่งชาติ. บัญชียาหลักแห่งชาติ พ.ศ. 2563. 2563;[103]. สืบค้นเมื่อ 15 พฤศจิกายน 2564.
เข้าถึงได้จาก:
https://pubmiddleware.mims.com/resource/document/B3E5D074-DFF7-4D38-8DF7A52200A5680E/pdf/A15_A120_MIMS_4_2020_NLEM_WEB.pdf?client=MIMS%20PublicationTopic&email=&country=Thailand&referenceId=Thailand%20National%20List%20of%20Essential%20Medicines%20(NLEM).
[4]. MIMs Online [Internet]. Thailand: MIMs Thailand; Borax [cited 2021, Nov 16]. Available from: https://www.mimsonline.com.thailand.
[5]. Alaizari N, Al-Maweri SA, Azzeghaiby SN, Gazal G, Tarakji B. Guideline for the Diagnosis and Treatment of Recurrent Aphthous Stomatitis for Dental Practitioners. Journal of International Oral Health 2015. 2015: 74-80. Pubmed PMID: 26028911.

วันที่ตอบ : 29 ธ.ค. 64 - 14:11:36




พัฒนาระบบโดย ภานุชญา มณีวรรณ ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา 90110