ให้บริการโดยคณาจารย์ เภสัชกรผู้เชี่ยวชาญด้านยาและสุขภาพ


คำชี้แจง "เว็บไซต์นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อการ ศึกษา การแลกเปลี่ยนความรู้ และให้ข้อมูลเรื่องยาในกรณีทั่วไป ไม่ใช่คำแนะนำทางการแพทย์หรือเพื่อการรักษาในกรณีที่จำเพาะเจาะจง และความเห็นสำหรับกรณีเฉพาะหนึ่ง จะไม่สามารถประยุกต์ใช้กับผู้อื่นได้โดยตรง หากมีปัญหาเรื่องโรคโปรดปรึกษาแพทย์ หากมีปัญหาเรื่องยา โปรดปรึกษาเภสัชกร หรือปรึกษาผู้เกี่ยวข้องโดยตรงกับกรณีนั้นด้วยตนเองเท่านั้น"

Search :
น้ำตาลทำให้แก่เร็ว จริงหรือไม่คะ?

พอดีทร่บข่าวมาว่า น้ำตาลทำให้แก่เร็ว อยากทราบว่าข้อมูลนี้จริงหรือไม่คะ? แล้วถ้าจริง ในแต่ละวันคนเราควรรับประทานไม่เกินวันละเท่าไรคะ

[รหัสคำถาม : 352] วันที่รับคำถาม : 21 ม.ค. 65 - 16:55:52 ถามโดย : บุคคลทั่วไป

เข้าระบบเพื่อตอบคำถาม

No : 1

น้ำตาลเป็นสารอาหารในกลุ่มคาร์โบไฮเดรต สำหรับการบริโภคน้ำตาลที่กรมอนามัยโลกแนะนำคือ ไม่ควรบริโภคน้ำตาลเกินร้อยละ 10 ของพลังงานที่ได้รับในแต่ละวัน โดยในผู้ใหญ่สุขภาพดีที่ต้องการพลังงาน 2000 กิโลแคลลอรี่ต่อ 1 วัน จึงไม่ควรบริโภคน้ำตาลเกิน 200 กิโลแคลลอรี่ (ไม่ควรบริโภคน้ำตาลเกิน 12 ช้อนชา หรือ 50 กรัม) [1]
...
ร่างกายของคนเรามีกระบวนการที่เรียกว่ากระบวนการไกลเคชั่น ซึ่งเป็นกระบวนการที่น้ำตาลไปจับกับโปรตีนต่างๆในร่างกาย รวมถึงไปจับกับโปรตีนที่แสดงถึงความอ่อนเยาว์ ได้แก่ คอลลาเจน เกิดสารที่ชื่อว่า Advanced glycation end products (AGEs) เมื่อบริโภคน้ำตาลสูงขึ้นจะทำให้ เกิดการสะสมของ AGE สูงขึ้นตามไปด้วย ตัว AGE จะเกิดการจับตัวกับโครงสร้างของเซลล์และเนื้อเยื่อ ทำให้เห็นเป็นรอยสีน้ำตาล เกิดการแข็งและขาดความยืดหยุ่นของเนื้อเยื่อ[2,3]
...
มีการศึกษาหาความสัมพันธ์ระหว่างระดับน้ำตาลในเลือดที่สูงขึ้นกับความชราพบอีว่าคนที่มีน้ำตาลในเลือดสูงที่ไม่ได้เป็นโรคเบาหวานจะสัมพันธ์กับอายุที่มากขึ้น[4] นอกจากนี้ ร่างกายของคนเรายังมีตัวบ่งชี้ที่สำคัญของความชรา คือ ความยาวของเทโลเมียร์ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของโครโมโซม โดยมีหน้าที่ป้องกันสารพันธุกรรมหรือดีเอ็นเอ (DNA) ที่อยู่ในโครโมโซมจากการถูกทำลาย ความยาวของเทโลเมียร์จะแปรผกผันกับอายุ กล่าวคือยิ่งอายุมากขึ้นเทโลเมียร์ยิ่งสั้นหดสั้นลง[5] โดยมีการศึกษาความสัมพันธ์ของการบริโภคอาหารหรือเครื่องดื่มที่มีน้ำตาลสูงกับความแก่โดยการวัดความยาวของเทโลเมียร์ โดยผลการศึกษาพบว่า ในกลุ่มที่บริโภคน้ำตาลสูงจะสัมพันธ์กับความยาวเทโลเมียร์ที่สั้นลง ซึ่งจะแสดงถึงความชราภาพที่เพิ่มมากขึ้น[6,7]
...
ดังนั้น ควรบริโภคน้ำตาลในปริมาณที่พอเหมาะต่อความต้องการของร่างกาย การบริโภคน้ำตาลในปริมาณที่มากเกินไปอาจสัมพันธ์กับการชราภาพที่มากขึ้น เนื่องจากการบริโภคน้ำตาลในปริมาณสูงจะก่อให้เกิดกระบวนการไกลเคชั่นและการหดสั้นลงของเทโลเมียร์ ส่งผลต่อการแก่ตัวลงของผิวหนังและการชราภาพของเซลล์

เอกสารอ้างอิง
[1]. World Health Organization. Sugars intake for adults and children. 2015. Cite: sugar guildline.pdf
[2]. ปรัญรัชต์ ธนวิยุทธ์ภัคดี. ไกลเคชั่นกับการเกดิโรคในมนุษย์. วารสารพิษวิทยาไทย 2559; 31(2): 84-96. Cite: thaijtox, +{$userGroup},+84-96-edited.pdf
[3]. Fournet M, Bonté F, Desmoulière A. Glycation Damage: A Possible Hub for Major Pathophysiological Disorders and Aging. Aging Dis. 2018 Oct. 1;9(5):880-900. doi: 10.14336/AD.2017.1121. PMID: 30271665; PMCID: PMC6147582.
[4]. Noordam R, Gunn DA, Tomlin CC, Maier AB, Mooijaart SP, Slagboom PE, Westendorp RG, de Craen AJ, van Heemst D; Leiden Longevity Study Group. High serum glucose levels are associated with a higher perceived age. Age (Dordr). 2013 Feb;35(1):189-95. doi: 10.1007/s11357-011-9339-9. Epub 2011 Nov. 20. PMID: 22102339; PMCID: PMC3543736.
[5]. Valera-Gran D, Prieto-Botella D, Hurtado-Pomares M, Baladia E, Petermann-Rocha F, Sánchez- Pérez A, Navarrete-Muñoz EM. The Impact of Foods, Nutrients, or Dietary Patterns On Telomere Length in Childhood and Adolescence: A Systematic Review. Nutrients. 2022 Sep. 20;14(19):3885. doi: 10.3390/nu14193885. PMID: 36235538; PMCID: PMC9570627.
[6]. Leung CW, Laraia BA, Needham BL, Rehkopf DH, Adler NE, Lin J, Blackburn EH, Epel ES. Soda and cell aging: associations between sugar-sweetened beverage consumption and leukocyte telomere length in healthy adults from the National Health and Nutrition Examination Surveys. Am J Public Health. 2014 Dec ;104(12):2425-31. doi: 10.2105/AJPH.2014.302151. Epub 2014 Oct. 16. PMID: 25322305; PMCID: PMC4229419.
[7]. Meshkani SE, Kooshki A, Alahabadi A, Lari Najafi M, Rad A, Riahimanesh F, Miri M. Dietary pattern and telomere length in preschool children in a middle-income country. Matern Child Nutr. 2021 Jul.;17(3):e13146. doi: 10.1111/mcn.13146. Epub 2021 Feb. 4. PMID: 33543592; PMCID: PMC8189250.

วันที่ตอบ : 16 ม.ค. 66 - 16:01:45




พัฒนาระบบโดย ภานุชญา มณีวรรณ ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา 90110