ให้บริการโดยคณาจารย์ เภสัชกรผู้เชี่ยวชาญด้านยาและสุขภาพ


คำชี้แจง "เว็บไซต์นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อการ ศึกษา การแลกเปลี่ยนความรู้ และให้ข้อมูลเรื่องยาในกรณีทั่วไป ไม่ใช่คำแนะนำทางการแพทย์หรือเพื่อการรักษาในกรณีที่จำเพาะเจาะจง และความเห็นสำหรับกรณีเฉพาะหนึ่ง จะไม่สามารถประยุกต์ใช้กับผู้อื่นได้โดยตรง หากมีปัญหาเรื่องโรคโปรดปรึกษาแพทย์ หากมีปัญหาเรื่องยา โปรดปรึกษาเภสัชกร หรือปรึกษาผู้เกี่ยวข้องโดยตรงกับกรณีนั้นด้วยตนเองเท่านั้น"

Search :
การใช้ยาพ่น Berodual NB ผสมกับ 3%sodium chloride

มีเคสผู้ป่วยหอบ wheezing หรือใน asthma/copd มีการสั่งใช้ berodual NB ผสม 3% sodium chloride ว่าใช้ได้หรือไม่ และมีประสิทธิภาพดีกว่าการใช้ผสมด้วย NSS หรือไม่
(เพราะปกติ จะเจอ order แพทย์สั่ง berodual + nss up to 3 ml NB ) ครับ ขอบคุณครับ


[รหัสคำถาม : 360] วันที่รับคำถาม : 07 ก.พ. 65 - 14:01:16 ถามโดย : บุคลากร วิทยาศาสตร์สุขภาพ

เข้าระบบเพื่อตอบคำถาม

No : 1

อาการ wheezing เป็นอาการที่มีความสัมพันธ์กับโรคติดเชื้อไวรัสที่เกี่ยวข้องกับทางเดินทางหายใจ โดยเฉพาะในเด็กที่มีอายุน้อยกว่า 5 ปี ซึ่งสามารถส่งผลต่อการลดปริมาณน้ำของเยื่อบุทางเดินหายใจ เพิ่มการหลั่ง mucous และบางครั้งอาจทำให้เกิดการสร้าง mucus plug ได้ นำมาสู่สาเหตุที่ทำให้ต้องรับการรักษาที่โรงพยาบาล โดยอาการ acute wheezing ในเด็กอายุน้อย เป็นอาการที่นำไปสู่การวินิจฉัย ได้หลากหลายโรค เช่น bronchiolitis, viral pneumonia, viral induced wheeze, และ asthma[1]
มีข้อมูลกล่าวถึงประสิทธิภาพ การใช้ 3% NaCl ต่อการทำงานของ airway ผ่านหลายกลไก โดยสามารถเพิ่ม mucociliary clearance[2][3], เพิ่ม osmotic flow ของน้ำไปยัง mucus layer, re-hydrated สารคัดหลั่ง, ลดการบวมของทางเดินหายใจ[5] จึงมีการนำ 3% NaCl มาผสมกับยามาใช้ในทางคลินิก
Berodual® เป็นยาสูตรผสมระหว่าง ipratropium (ยาในกลุ่ม anticholinergics) และ fenoterol (ยาในกลุ่ม short acting bronchodilators) เป็นยาที่มีข้อบ่งใช้คือรักษาอาการ Bronchospasm สำหรับ acute severe exacerbation ในผู้ป่วย bronchial asthma หรือ chronic obstructive pulmonary disease [4][5]
การเตรียมยา Berodual® ในรูปแบบ nebulizer ในผู้ป่วยที่มีอายุมากกว่า 5 ปี แนะนำให้ผสมยา ร่วมกับ normal saline (berodual + nss up to 3-4 mI) เนื่องจาก มีข้อมูลทางคลินิกสนับสนุนการใช้ normal saline ว่ามีประสิทธิภาพดีและปลอดภัย[5] สำหรับผู้ป่วยเด็กที่อายุน้อยกว่า 5 ปี พบว่าในการผสมยากลุ่ม bronchodilators กับ 3% NaCl ในเด็กอายุ 6 เดือนถึง 5 ปี มีผลดีในด้าน time of oxygen therapy, ค่าคะแนน asthma clinical severity, respiratory rates และ oxygen saturation ที่ชั่วโมงที่ 12 หลังเริ่มรักษาตัวที่โรงพยาบาล มากกว่ากลุ่มที่ผสมยากับ normal saline อย่างมีนัยสำคัญ (P = 0.042, 0.032, และ 0.043 ตามลำดับ) ส่วนประสิทธิภาพในด้านของ median length of stay (LOS) สำหรับผู้ป่วย acute wheezing ในเด็กอายุ 6-15 เดือนพบว่า การใช้ 3% NaCl มีค่า mean LOS น้อยกว่าการใช้ normal saline อย่างมีนัยสำคัญ (48 vs 72 h, P = 0.04) แต่ไม่พบความแตกต่างของการใช้ 3% NaCl หรือ normal saline ในเด็กที่อายุ 15-60 เดือน (48 vs 48 h p = 0.43)[1] ส่วนในการใช้ 3% NaCl สำหรับผู้ป่วย acute bronchiolitis ในเด็กอายุน้อยกว่า 12 เดือน มีทั้งการศึกษาที่สนับสนุนการใช้ 3% NaCl มากกว่าการใช้ normal saline[6][7][8] และมีบางการศึกษาไม่มีข้อมูลสนับสนุนประโยชน์จากการผสมยากับ 3% NaCl[9][10] โดยการผสมยากับ 3% NaCl มีการศึกษาในกลุ่มผู้ป่วย acute bronchiolitis พบว่า ในกลุ่มเด็กที่อายุน้อยกว่า 12 เดือน พบอาการไอและน้ำมูกไหลในกลุ่มที่ใช้ 3% NaCl มากกว่ากลุ่มที่ได้รับ normal saline อย่างมีนัยสำคัญ (46% vs. 20%, P = 0.025, 58% vs. 31%, P=0.030 ตามลำดับ) แต่อย่างไรก็ตาม ไม่มีการรายงานอาการข้างเคียงที่อันตรายรุนแรง [9]

เอกสารอ้างอิง
[1]. Kanjanapradap T, Deerojanawong J, Sritippayawan S, et al. Does nebulized hypertonic saline shorten hospitalization in young children with acute viral wheezing?. Pediatr. Pulmonol. 2018 Feb;53(2):138-144
[2]. Randell, S.H., Boucher, R.C.& University of North Carolina Virtual Lung Group. Effective mucus clearance is essential for respiratory health. Am. J. Respir. Cell Mol. 2006 Jul;35(1):20-8.
[3]. Daviskas E, Anderson SD, Gonda I, et al. Inhalation of hypertonic saline aerosol enhances mucociliary clearance in asthmatic and healthy subjects. Eur. Respir. J. 1996 Apr;9(4):725-32.
[4]. Global Initiative for Asthma. (2021). GINA Report, Global Strategy for Asthma Management and Prevention. https://ginasthma.org/gina-reports/.
[5]. Berodual. Lexi-drug international. Lexicomp, Wolters Kluwer Health, Inc. Riverwoods, IL. Available at: https://online.lexi.com/.
[6]. Wu S, Baker C, Lang ME, et al. Nebulized hypertonic saline for bronchiolitis: a randomized clinical trial. JAMA Pediatr. 2014 Jul;168(7):657-63.
[7]. Khanal A, Sharma A, Basnet S, et al. Nebulised hypertonic saline (3%) among children with mild to moderately severe bronchiolitis-a double blind randomized controlled trial. BMC Pediatr. 2015 Sep 10;15:115.
[8]. Luo Z, Liu E, Luo J, et al. Nebulized hypertonic saline/salbutamol solution treatment in hospitalized children with mild to moderate bronchiolitis. Int. J. Pediatr. 2010 Apr;52(2):199-202.
[9]. Flores P, Mendes AL, Neto AS. A randomized trial of nebulized 3% hypertonic saline with salbutamol in the treatment of acute bronchiolitis in hospitalized infants. Pediatr. Pulmonol. 2016 April;51(4):418-25.
[10]. Everard ML, Hind D, Ugonna K, et al. SABRE: a multicentre randomised control trial of nebulised hypertonic saline in infants hospitalised with acute bronchiolitis. Thorax. 2014 Dec;69(12):1105-12.

วันที่ตอบ : 14 ก.พ. 65 - 15:14:33




พัฒนาระบบโดย ภานุชญา มณีวรรณ ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา 90110