ให้บริการโดยคณาจารย์ เภสัชกรผู้เชี่ยวชาญด้านยาและสุขภาพ


คำชี้แจง "เว็บไซต์นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อการ ศึกษา การแลกเปลี่ยนความรู้ และให้ข้อมูลเรื่องยาในกรณีทั่วไป ไม่ใช่คำแนะนำทางการแพทย์หรือเพื่อการรักษาในกรณีที่จำเพาะเจาะจง และความเห็นสำหรับกรณีเฉพาะหนึ่ง จะไม่สามารถประยุกต์ใช้กับผู้อื่นได้โดยตรง หากมีปัญหาเรื่องโรคโปรดปรึกษาแพทย์ หากมีปัญหาเรื่องยา โปรดปรึกษาเภสัชกร หรือปรึกษาผู้เกี่ยวข้องโดยตรงกับกรณีนั้นด้วยตนเองเท่านั้น"

Search :
doxazosin และ imipramine

อยากสอบถามว่ายา doxazosin และ imipramine สามารถใช้ร่วมกันในการรักษาผู้ป่วย BPH ที่มีอาการกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ร่วมด้วยได้หรือไม่ ยาทั้ง 2 จะต้านฤทธิ์กันจากการที่ doxasozin block alpha-1 receptor หรือไม่

[รหัสคำถาม : 361] วันที่รับคำถาม : 09 ก.พ. 65 - 09:10:58 ถามโดย : นักศึกษา วิทยาศาสตร์สุขภาพ

เข้าระบบเพื่อตอบคำถาม

No : 1

โรคต่อมลูกหมากโต (Benign Prostate Hyperplasia: BPH) มักพบในผู้ชายที่มีอายุ 40-45 ปีขึ้นไป และพบมากขึ้นตามอายุที่เพิ่มขึ้น[1] ต่อมลูกหมากที่โตขึ้นทำให้เกิดการกดเบียดท่อปัสสาวะ อาการของโรคต่อมลูกหมากโต เช่น ปัสสาวะบ่อย ปัสสาวะตอนกลางคืน ปัสสาวะลำบากตอนเริ่มหรือปัสสาวะออกช้า (hesitancy) กลั้นปัสสาวะไม่อยู่ (urgency) ต้องเบ่งเวลาปัสสาวะ และปัสสาวะไม่พุ่ง เป็นต้น[2]

จากแนวทางการรักษาโรคต่อมลูกหมากโต ยาที่แนะนำให้ใช้ เช่น กลุ่มยาที่ออกฤทธิ์ยับยั้งตัวรับแอดรีเนอร์จิกชนิดแอลฟา (Alpha-adrenergic receptor blockers) เช่น alfuzosin, doxazosin, silodosin, tamsulosin, terazosin ซึ่งการเลือกยาจะขึ้นกับหลายปัจจัย เช่น อายุ, โรคร่วม, และผลข้างเคียงของยา หากใช้ยากลุ่มดังกล่าวแล้วไม่ได้ผลหรือไม่สามารถทนต่อยาได้ อาจพิจารณาเปลี่ยนเป็นยากลุ่มยับยั้งเอนไซม์ฟอสโฟไดเอสเตอเรสชนิดที่ 5 (Phosphodiesterase type 5 inhibitors) เช่น ยา tadalafil หรือในบางกรณีอาจพิจารณาเพิ่มยาในกลุ่มยับยั้งการทำงานของเอนไซม์ 5-แอลฟารีดักเตส (5α-reductase inhibitor) เช่น ยา finasteride, dutasteride ทั้งนี้ขึ้นกับดุลพินิจของแพทย์ นอกจากนี้ในผู้ป่วยต่อมลูกหมากโตที่มีภาวะหย่อนสมรรถภาพทางเพศร่วมด้วย แนะนำให้เริ่มรักษาด้วยยากลุ่มยับยั้งเอนไซม์ฟอสโฟไดเอสเตอเรสชนิดที่ 5 (Phosphodiesterase type 5 inhibitors) [1,3] ซึ่งมีประสิทธิภาพทั้งในการรักษาภาวะเสื่อมสมรรถภาพทางเพศและอาการของทางเดินปัสสาวะส่วนล่าง[3]

สำหรับยา doxazosin เป็นยาในกลุ่มยับยั้งตัวรับแอดรีเนอร์จิกชนิดแอลฟา-1 มีข้อบ่งใช้ที่ในการรักษาโรคต่อมลูกหมากโต ขนาดยาเริ่มต้นคือ 1 มิลลิกรัม รับประทานวันละครั้ง อาจเพิ่มขนาดยาทุก 1-2 สัปดาห์ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการตอบสนองต่อการรักษาของผู้ป่วย ขนาดยาโดยทั่วไปคือ 2-4 มิลลิกรัมต่อว้น (ขนาดยาสูงสุด 8 มิลลิกรัมต่อวัน) อาการไม่พึงประสงค์ที่อาจพบ เช่น วิงเวียนศีรษะ อาการเวียนศีรษะบ้านหมุน (vertigo) และสามารถเกิดความดันโลหิตต่ำขณะเปลี่ยนท่าทางได้[4]

ส่วนยา imipramine เป็นยาในกลุ่ม tricyclic antidepressants (TCAs) มีข้อบ่งใช้ในการรักษาโรคซึมเศร้า อาการไม่พึงประสงค์ที่อาจพบได้ เช่น กระสับกระส่าย ใจสั่น ความดันโลหิตต่ำขณะเปลี่ยนท่าทาง เป็นต้น[5] ยา imipramine ยังมีฤทธิ์ลดการหดตัวของกระเพาะปัสสาวะ จึงสามารถทำให้อาการเกี่ยวกับปัสสาวะบ่อยหรือกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ดีขึ้นได้ รวมทั้งทำให้ความจุของกระเพาะปัสสาวะดีขึ้นได้ อย่างไรก็ตาม การใช้ยานี้ควรมีการประเมินอาการของโรคที่เป็นอยู่และควรอยู่ในความดูแลของแพทย์เท่านั้น และยานี้จะใช้ในบางกรณีเท่านั้นขึ้นกับดุลพินิจของแพทย์ ส่วนอาการไม่พึงประสงค์ที่พบจากยานี้ เช่น ง่วงนอน ปากแห้ง และท้องผูก ยานี้อาจทำให้อาการของโรคต่อมลูกหมากโตแย่ลงหรือปัสสาวะคั่งมากขึ้นได้[6]

การใช้ยา doxazosin และ imipramine ร่วมกัน อาจเพิ่มฤทธิ์การลดความดันโลหิตของยา doxazosin และทำให้เกิดอาการข้างเคียงเกี่ยวกับความดันโลหิตต่ำขณะเปลี่ยนท่าทางเพิ่มมากขึ้นได้[7,8] นอกจากนี้ ยา imipramine ควรใช้อย่างระมัดระวังในผู้ป่วยที่เป็นโรคต่อมลูกหมากโตหรือมีประวัติปัสสาวะไม่ออก เพราะอาจทำให้มีความเสี่ยงของการเกิดปัสสาวะคั่งมากขึ้นได้ (Acute Urinary Retention) ได้[9] ดังนั้น การใช้ยาสองชนิดนี้ร่วมกัน จึงควรอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์อย่างใกล้ชิด

[1]. Lerner LB, McVary KT, Barry MJ, Bixler BR, Dahm P, Das AK, Gandhi MC, et al. Management of Lower Urinary Tract Symptoms Attributed to Benign Prostatic Hyperplasia: AUA GUIDELINE PART I-Initial Work-up and Medical Management. J. Urol. 2021 Oct.;206(4):806-817.
[2]. McVary KT. Medical treatment of benign prostatic hyperplasia. In: UpToDate, Post TW (Ed), UpToDate, Waltham, MA. (Accessed on Oct. 22, 2022.).
[3]. Elterman D, Aubé-Peterkin M, Evans H, Elmansy H, Meskawi M, Zorn KC, Bhojani N. UPDATE - Canadian Urological Association guideline: Male lower urinary tract symptoms/benign prostatic hyperplasia. Can Urol Assoc J. 2022 Aug;16(8):245-256.
[4]. Doxazosin. In: Lexi-Drugs Online [database on the Internet]. Hudson (OH): Lexicomp Inc.: publication year [updated 13 Oct. 2022; cited 18 Oct. 2022]. Available from: https://online.lexi.com/lco/action/doc/retrieve/docid/multinat_f/4669456?cesid=2v4h3ZtKBsx&searchUrl=%2Flco%2Faction%2Fsearch%3Fq%3Ddoxazosin%26t%3Dname%26acs%3Dfalse%26acq%3Ddoxazosin.
[5]. Imipramine. In: Lexi-Drugs Online [database on the Internet]. Hudson (OH): Lexicomp Inc.: publication year [updated 21 Sep. 2022; cited 18 Oct. 2022]. Available from: https://online.lexi.com/lco/action/doc/retrieve/docid/multinat_f/4669718?cesid=0hmou7yjUUn&searchUrl=%2Flco%2Faction%2Fsearch%3Fq%3DImipramine%26t%3Dname%26acs%3Dfalse%26acq%3DImipramine#.
[6]. Cameron AP. Medical management of neurogenic bladder with oral therapy. Transl Androl Urol. 2016 Feb;5(1):51-62.
[7]. Wishart DS, Knox C, Guo AC, Shrivastava S, Hassanali M, Stothard P, et al. drug interaction of doxazosin and imipramine. Drugbank online (Database issue); cited 3 Dec. 2022]. Available from: https://go.drugbank.com/drug-interaction-checker#results.
[8]. Drug interaction of doxazosin and imipramine. In: Lexi-Drugs Online [database on the Internet]. Hudson (OH): Lexicomp Inc.: publication year [updated 21 Oct. 2022; cited 21 Oct. 2022].
[9]. Wiley Online Library. Amitriptyline in BPH: increased risk of PVR and urinary retention[Internet]. [Updated 2021 Sep. 9]; cited 4 Dec. 2022. Available from: https://wchh.onlinelibrary.wiley.com/doi/pdf/10.1002/psb.187.

วันที่ตอบ : 04 ธ.ค. 65 - 22:39:30


No : 2

ต่อมลูกหมากโต (BPH) เกิดจากการที่เซลล์กล้ามเนื้อเรียบและเนื้อเยื่อเกี่ยวพันธ์บริเวณต่อมลูกหมากมีการแบ่งตัวมากขึ้น
พยาธิสภาพในการเกิด BPH นั้นยังไม่ทราบแน่ชัด แต่มี testosterone มาเกี่ยวข้อง โดยเอนไซม์ 5alpha-reductase (5AR)
จะเปลี่ยน testosterone ให้เป็น dihydrotestosterone (DHT) ซึ่งจะจับกับ androgenic receptor แล้วกระตุ้นให้
เซลล์แบ่งตัว ผู้ป่วยจะมี Lower Urinary Tract Symptoms (LUTS) เป็นอาการที่เกี่ยวกับการกักเก็บปัสสาวะ และ/หรือ
การถ่ายปัสสาวะ โดยอาการกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ (urgency incontinence) จัดเป็นหนึ่งใน LUTS เกิดจากการที่เนื้อเยื่อต่อม
ลูกหมากที่โตขึ้นไปอุดตัน หรือจากการที่ไปเพิ่ม smooth muscle tone และเพิ่ม resistance ภายในต่อมลูกหมากที่โตขึ้น [1]
...
การรักษาภาวะ LUTS ในโรคต่อมลูกหมากโตนิยมให้ยากลุ่ม alpha blockers เนื่องจากกล้ามเนื้อเรียบบริเวณคอกระเพาะปัสสาวะ
internal sphincter และกล้ามเนื้อเรียบในส่วน stromal ของต่อมลูกหมาก มี alpha-1 adrenoceptor อยู่เป็นจำนวนมาก
การใช้ยาในกลุ่มนี้จึงได้ผลดีมากในการลดอาการ LUTS และเพิ่มความแรงในการปัสสาวะ doxazosin เป็นหนึ่งในยากลุ่ม
alpha blockers ที่ได้รับการพัฒนาขึ้นเพื่อผู้ป่วย BPH โดยเฉพาะ เนื่องจากได้ปรับเปลี่ยนรูปแบบเป็น slow release
เพื่อลดผลข้างเคียง และออกฤทธิ์ได้ยาวขึ้น นอกจากยากลุ่ม alpha blockers แล้ว ยากลุ่มอื่นที่ใช้เพื่อรักษา LUTS ได้แก่
กลุ่ม 5-Alpha-Reductase Inhibitors (5-ARI) และกลุ่ม Phosphodiesterase-5 Inhibitor (PDE-5) [2] ส่วนยา
Imipramine นั้นยังไม่พบข้อมูลการใช้เพื่อลดอาการ LUTS ในโรคต่อมลูกหมากโต
...
Imipramine เป็นยากลุ่ม tricyclic antidepressants ที่มีฤทธิ์ยับยั้ง alpha-1 adrenergic receptor [3] ได้เหมือนยา
กลุ่ม alpha blockers [4] สามารถลด bladder contractility และเพิ่ม urethral resistance โดยจะไปยับยั้งการ
reuptake ของ noradrenaline บริเวณ adrenergic nerve ending ที่ท่อปัสสาวะ ซึ่งเป็นกลไกที่ส่งผลให้เกิด
contractile effects ของ noradrenaline ที่กล้ามเนื้อเรียบของท่อปัสสาวะ องค์กรอาหารและยาประเทศสหรัฐอเมริกา
อนุมัติให้ใช้เพื่อรักษา nocturnal enuresis ในเด็ก [5] ในปี 2019 ได้มีการศึกษาแบบ placebo-controlled เพื่อศึกษา
การใช้ยา Imipramine ในการเพิ่ม opening urethral pressure เพื่อรักษา stress urinary incontinence ในผู้หญิง
พบว่าให้ค่า opening urethral pressure เพิ่มขึ้นแต่ไม่แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติเมื่อเทียบกับกลุ่มควบคุม
จึงไม่แนะนำให้ใช้ Imipramine รักษา stress urinary incontinence [6]
...
ไม่พบการศึกษาใดเกี่ยวกับการใช้ Doxazosin ร่วมกับ Imipramine เพื่อลดอาการกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ในผู้ป่วย BPH
การใช้ยาที่มีฤทธิ์ alpha blockers มากกว่าหนึ่งตัวอาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิด orthostatic hypotension หรือ
syncope ได้ อีกทั้ง Imipramine นั้นยังมีฤทธิ์ antimuscarinic ด้วย อาจทำให้เกิด anticholinergic effects ได้ [1]
ได้แก่ postural hypotension ปากแห้ง ท้องผูก คลื่นไส้ tachycardia [7]
...
ดังนั้นจากข้อสนับสนุนที่กล่าวมาข้างต้น ผู้ป่วย BPH รายนี้ จึงควรได้รับ Doxazosin อย่างเดียวในการรักษาอาการ
กลั้นปัสสาวะไม่อยู่ ซึ่งเป็นหนึ่งในอาการของ LUTS
...
เอกสารอ้างอิง
[1]. Lerner LB, McVary KT, Barry MJ, et al. Management of Lower Urinary Tract Symptoms Attributed
to Benign Prostatic Hyperplasia: AUA. GUIDELINE PART I-Initial Work-up and Medical Management
[published correction appears in J. Urol. 2021 Nov;206(5):1339]. J. Urol. 2021;206(4):806-817.
doi:10.1097/JU.0000000000002183.
[2]. สมาคมแพทย์ระบบปัสสาวะแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูถัมภ์. โรคต่อมลูกหมากโต. ใน: วรพจน์ ชุณหคล้าย,
อภิรักษ์ สันติงามกุล. Common Urological Problems for Medical Student. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: บียอนด์
เอ็นเทอร์ไพรซ์; 2558. หน้า 62-3.
[3]. Imipramine. In: Lexi-drugs online [database on the Internet]. Hudson (OH): Lexicomp, Inc.; 2022
[cited 20 Nov. 2022]. Available from: http://online.lexi.com. Subscription required to view.
[4]. Proudman RGW, Pupo AS, Baker JG. The affinity and selectivity of α-adrenoceptor antagonists,
antidepressants, and antipsychotics for the human α1A, α1B, and α1D-adrenoceptors. Pharmacol.
Res. Perspect. 2020;8(4):e00602. doi:10.1002/prp2.602.
[5]. Malallah MA, Al-Shaiji TF. Pharmacological treatment of pure stress urinary incontinence: a narrative
review. Int. Urogynecol. J. 2015;26(4):477-485. doi:10.1007/s00192-014-2512-9.
[6]. Kornholt J, Sonne DP, Riis T, Sonne J, Klarskov N. Effect of imipramine on urethral opening pressure:
A randomized, double-blind, placebo-controlled crossover study in healthy women. Neurourol. Urodyn.
2019;38(4):1076-1080. doi:10.1002/nau.23955.
[7]. Sinha R, Raut S. Management of nocturnal enuresis - myths and facts. World J. Nephrol. 2016;5(4):
328-338. doi:10.5527/wjn.v5.i4.328.

วันที่ตอบ : 18 ม.ค. 66 - 11:45:56




พัฒนาระบบโดย ภานุชญา มณีวรรณ ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา 90110