ให้บริการโดยคณาจารย์ เภสัชกรผู้เชี่ยวชาญด้านยาและสุขภาพ


คำชี้แจง "เว็บไซต์นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อการ ศึกษา การแลกเปลี่ยนความรู้ และให้ข้อมูลเรื่องยาในกรณีทั่วไป ไม่ใช่คำแนะนำทางการแพทย์หรือเพื่อการรักษาในกรณีที่จำเพาะเจาะจง และความเห็นสำหรับกรณีเฉพาะหนึ่ง จะไม่สามารถประยุกต์ใช้กับผู้อื่นได้โดยตรง หากมีปัญหาเรื่องโรคโปรดปรึกษาแพทย์ หากมีปัญหาเรื่องยา โปรดปรึกษาเภสัชกร หรือปรึกษาผู้เกี่ยวข้องโดยตรงกับกรณีนั้นด้วยตนเองเท่านั้น"

Search :
ฟ้าทะลายโจรในสตรีให้นมบุตร

เนื่องจากมีประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 63 วันที่ 19 เมษายน 2563 เรื่องคำเตือนยาที่มีส่วนประกอบของฟ้าทะลายโจร ระบุว่า "ห้ามใช้ในสตรีมีครรภ์ และสตรีให้นมบุตร" จึงอยากทราบข้อมูลในสตรีให้นมบุตรว่า มีการขับออกทางน้ำนมหรือไม่ และจะมีผลอย่างไรต่อเด็กที่ทานนมแม่

[รหัสคำถาม : 363] วันที่รับคำถาม : 09 ก.พ. 65 - 09:35:33 ถามโดย : บุคคลทั่วไป

เข้าระบบเพื่อตอบคำถาม

No : 1

ฟ้าทะลายโจร (Andrographis paniculata (Burm. f.) Wall. ex Nees) เป็นสมุนไพรชนิดหนึ่ง ยาฟ้าทะลายโจร จัดเป็นยาพัฒนาจากสมุนไพร ที่มีสารสำคัญคือ andrographolide สรรพคุณทางการแพทย์คือ บรรเทาอาการท้องเสียชนิดที่ไม่เกิดจากการติดเชื้อ เช่น อุจจาระไม่เป็นมูกหรือมีเลือดปน บรรเทาอาการเจ็บคอ และบรรเทาอาการของโรคหวัด (common cold) เช่น เจ็บคอ ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ[1] ในปัจจุบันเพิ่มข้อบ่งใช้ใหม่คือ ใช้กับผู้ป่วยโรคโควิด 19 ที่มีความรุนแรงน้อย เพื่อลดการเกิดโรคที่รุนแรง[2]
ฟ้าทะลายโจรมีข้อห้ามใช้ คือ ห้ามใช้ในผู้ที่มีอาการแพ้ฟ้าทะลายโจร และห้ามใช้ในหญิงตั้งครรภ์และให้นมบุตร เนื่องจากอาจทำให้ทารกวิรูปได้[1] เนื่องจากมีการศึกษาในหนู และกระต่ายที่ได้รับฟ้าทะลายโจรแล้วอาจทำให้แท้งได้[3] ] แต่มีข้อมลจากการศึกษาของ Panossian A. และคณะ ศึกษาผลของสารสกัดจากใบฟ้าทะลายโจร ต่อระดับ progesterone ในเลือดหนู พบว่าไม่ได้เพิ่มระดับ progesterone ในเลือดหนู ซึ่งสรุปไว้ว่า ฟ้าทะลายโจรไม่ได้เพิ่มระดับ progesterone จนทำให้เกิดการแท้ง[4] เนื่องจากข้อมูลที่ไม่ชัดเจนและข้อมูลที่น้อย จึงมีการห้ามใช้ในหญังตั้งครรภ์ ส่วนข้อมูลในการใช้ในหญิงให้นมบุตร ไม่มีข้อมูลการการขับออกทางน้ำนมของฟ้าทะลายโจรและไม่มีข้อมูลความปลอดภัยของเด็กที่ดื่มน้ำนมแม่ที่รับประทานฟ้าทะลายโจรยังคง ดังนั้นจึงเป็นข้อห้ามใช้ในสตรีที่ให้บุตรด้วย
หญิงให้นมบุตรอาจเลือกใช้เป็นสมุนไพรทางเลือกที่ไม่มีข้อห้ามใช้ในหญิงให้นมบุตรแทนได้ดังนี้
1. กลุ่มยาสมุนไพรที่ใช้บรรเทาอาการหวัด ได้แก่
- ยาแก้ไอผสมมะนาวดอง เพื่อบรรเทาอาการไอ ขับเสมหะ
- ยาปราบชมพูทวีป เพื่อบรรเทาอาการหวัดในระยะแรก และอาการที่เกิดจากการแพ้อากาศ
2. กลุ่มยาสมุนไพรที่ใช้บรรเทาอาการท้องเสีย ได้แก่
- ยาเหลืองปิดสมุทร เพื่อบรรเทาอาการท้องเสียชนิดที่ไม่เกิดจากการติดเชื้อ เช่น อุจจาระไม่เป็นมูกหรือมีเลือดปน ท้องเสียชนิดที่ไม่มีไข้ เป็นต้น
- ยากล้วย เพื่อรักษาแผลในกระเพาะอาหาร บรรเทาอาการท้องเสียชนิดที่ไม่เกิดจากการติดเชื้อ เช่น อุจจาระไม่เป็นมูก หรือมีเลือดปน[1]


เอกสารอ้างอิง
[1] บัญชียาจากสมุนไพรในบัญชียาหลักแห่งชาติ (พ.ศ. 2556). [Internet]. [cited 2021 June 15]. Available from: http://pharmacy.su.ac.th/herbmed/drug/text/drug_type.php?dtID=1
[2] ประกาศคณะกรรมการพัฒนาระบบยาแห่งชาติ เรื่อง บัญชียาหลักแห่งชาติด้านสมุนไพร (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2564. [Internet]. [cited 2021 June 15]. Available from: http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2564/E/120/T_0046.PDF
[3] Herba Andrographidis. WHO monograph on selection medicinal plant Volume 2. Geneva; 2002. 12-24.
[4] Panossian A, Kochikian A, Gabrielian, et al. Effect of Andrographis paniculata extract on progesterone in blood plasma of pregnant rats. Phytomedicine. Volume 6, Issue 3, July 1999, Pages 157-161.
วันที่ตอบ : 09 ก.พ. 65 - 09:39:22




พัฒนาระบบโดย ภานุชญา มณีวรรณ ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา 90110