ให้บริการโดยคณาจารย์ เภสัชกรผู้เชี่ยวชาญด้านยาและสุขภาพ


คำชี้แจง "เว็บไซต์นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อการ ศึกษา การแลกเปลี่ยนความรู้ และให้ข้อมูลเรื่องยาในกรณีทั่วไป ไม่ใช่คำแนะนำทางการแพทย์หรือเพื่อการรักษาในกรณีที่จำเพาะเจาะจง และความเห็นสำหรับกรณีเฉพาะหนึ่ง จะไม่สามารถประยุกต์ใช้กับผู้อื่นได้โดยตรง หากมีปัญหาเรื่องโรคโปรดปรึกษาแพทย์ หากมีปัญหาเรื่องยา โปรดปรึกษาเภสัชกร หรือปรึกษาผู้เกี่ยวข้องโดยตรงกับกรณีนั้นด้วยตนเองเท่านั้น"

Search :
วัคซีนโควิดเด็กอายุ6ขวบ

เด็กอายุ6ขวบเป็นg6pdและเป็นภูมิแพ้ควรฉีดวัคซีนโควิดยี่ห้ออะไรควรฉีดเชื้อเป็นหรือเชื้อตาย

[รหัสคำถาม : 377] วันที่รับคำถาม : 23 มี.ค. 65 - 16:11:51 ถามโดย : บุคคลทั่วไป

เข้าระบบเพื่อตอบคำถาม

No : 1

ราชวิทยาลัยกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย ประกาศคำแนะนำการฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 สำหรับเด็กและวัยรุ่น (ฉบับที่ 5) เมื่อวันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2565 แนะนำให้ฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 ชนิดเอ็มอาร์เอ็นเอ (mRNA) ของบริษัทไฟเซอร์ ไบโอเอ็นเทค (Pfizer BioNTech) เป็นลำดับแรก ในเด็กอายุตั้งแต่ 5 ปีขึ้นไป โดยฉีด 2 เข็มห่างกัน 8 สัปดาห์ ในเด็กที่ยังไม่เคยได้รับวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 มาก่อนเนื่องจากมีข้อมูลประสิทธิภาพและความปลอดภัยในเด็กอย่างเพียงพอ และพิจารณาให้ใช้วัคซีนชนิดเชื้อตายซิโนแวค (Sinovac) หรือซิโนฟาร์ม (Sinopharm) เป็นวัคซีนทางเลือก สำหรับเด็กอายุตั้งแต่ 6 ปีขึ้นไป โดยเเนะนำให้ฉีดซิโนแวคหรือซิโนฟาร์มเป็นเข็มที่ 1 และฉีดไฟเซอร์เป็นเข็มที่ 2 ห่างจากเข็มแรกอย่างน้อย 4 สัปดาห์ [1]
...
การฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 ไม่เป็นข้อห้ามในผู้ป่วยที่มีภาวะพร่องเอนไซม์ G6PD [2] เช่นเดียวกันกับกรณีโรคหอบหืด หรือภูมิแพ้ อากาศ สามารถรับวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 ได้ตามปกติ เนื่องจากไม่เพิ่มความเสี่ยงในการแพ้วัคซีนมากกว่าคนทั่วไป ยกเว้นในกรณีที่เด็กมีประวัติแพ้วัคซีนหรือสารประกอบในวัคซีนชนิดอื่นมาก่อน ควรปรึกษากุมารแพทย์ก่อนรับวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 [3]
...
*หมายเหตุ* อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับวัคซีนของบริษัท Pfizer และภาวะพร่องเอนไซม์ G6PD ได้จากกระทู้นี้ครับ : http://drug.pharmacy.psu.ac.th/webboard/wball.php?idqa=284
...
เอกสารอ้างอิง
[1] ราชวิทยาลัยกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย. คำแนะนำการฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 สำหรับเด็กและวัยรุ่น (ฉบับที่ 5). 10 กุมภาพันธ์ 2565 (เข้าถึงเมื่อ 27 มีนาคม 2565). เข้าถึงจาก https://www.pidst.or.th/A1144.html
[2] Lewis G. G6PD deficiency and vaccines (webpage). 2022 Feb. 7 (cited 2022 Mar. 27). Available from: https://mvec.mcri.edu.au/references/g6pd-deficiency-and-vaccines/
[3] Australasian Society of Clinical Immunology and Allergy. Allergy, Immunodeficiency, Autoimmunity and COVID-19 Vaccination Frequently Asked Questions (FAQ). 2022 Feb. 24 (cited 2022 Mar. 27). Available from: https://www.allergy.org.au/patients/ascia-covid-19-vaccination-faq
วันที่ตอบ : 27 มี.ค. 65 - 13:51:56




พัฒนาระบบโดย ภานุชญา มณีวรรณ ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา 90110