ให้บริการโดยคณาจารย์ เภสัชกรผู้เชี่ยวชาญด้านยาและสุขภาพ


คำชี้แจง "เว็บไซต์นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อการ ศึกษา การแลกเปลี่ยนความรู้ และให้ข้อมูลเรื่องยาในกรณีทั่วไป ไม่ใช่คำแนะนำทางการแพทย์หรือเพื่อการรักษาในกรณีที่จำเพาะเจาะจง และความเห็นสำหรับกรณีเฉพาะหนึ่ง จะไม่สามารถประยุกต์ใช้กับผู้อื่นได้โดยตรง หากมีปัญหาเรื่องโรคโปรดปรึกษาแพทย์ หากมีปัญหาเรื่องยา โปรดปรึกษาเภสัชกร หรือปรึกษาผู้เกี่ยวข้องโดยตรงกับกรณีนั้นด้วยตนเองเท่านั้น"

Search :
อาการของการติดเชื้อ Acinetobacter Baumannii มีอาการอย่างไร และใช้ยาใดในการรักษา

อาการของการติดเชื้อ Acinetobacter Baumannii มีอาการอย่างไร และใช้ยาใดในการรักษา

[รหัสคำถาม : 38] วันที่รับคำถาม : 22 ม.ค. 63 - 20:03:13 ถามโดย : บุคลากร วิทยาศาสตร์สุขภาพ

เข้าระบบเพื่อตอบคำถาม

No : 1

เชื้อ Acinetobacter baumannii เป็นแบคทีเรียแกรมลบ มีรูปร่างกลมท่อน (coccobacilli) เป็นแบคทีเรียก่อโรคที่เป็นเชื้อฉวยโอกาสและเป็นสาเหตุสำคัญของการติดเชื้อในโรงพยาบาล โดยเฉพาะอย่างยิ่งในผู้ที่มีความเสี่ยง คือ ผู้สูงอายุ ผู้ที่มีโรคประจำตัว ผู้ที่ได้รับยากดภูมิคุ้มกัน ผู้ที่ได้รับอุบัติเหตุรุนแรงหรือมีแผลไฟไหม้ ผู้ที่ได้รับการทำหัตการ (เช่น การใส่เครื่องช่วยหายใจ การใส่สายสวนที่บริเวณหลอดเลือดดำส่วนกลาง การใส่สายสวนปัสสาวะ และการติดเชื้อบริเวณผ่าตัด) รวมถึงผู้ที่ต้องได้รับการรักษาในโรงพยาบาลเป็นเวลานานและผู้ที่เคยได้รับการรักษาด้วยาปฏิชีวนะ เช่น cephalosporin, fluoroquinolone หรือ carbapenem นอกจากนี้ยังสามารถก่อให้เกิดการติดเชื้อในชุมชนได้เช่นกัน โดยเฉพาะเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และออสเตรเลีย ซึ่งมักจะเป็นเชื้อที่ก่อให้เกิดปอดอักเสบและการติดเชื้อในกระแสเลือด[4]

อาการของการติดเชื้อ Acinetobacter baumannii ขึ้นอยู่กับโรคที่เป็น ได้แก่ 1.ติดเชื้อปอดอักเสบในโรงพยาบาล (Hospital-acquired pneumonia) มักพบในผู้ป่วยที่รักษาในหอผู้ป่วยวิกฤติ (Intensive Care Unit) โดยเฉพาะผู้ที่ใส่เครื่องช่วยหายใจ อาการและการแสดง คือ มีไข้ (fever) และอาการทางระบบทางเดินหายใจ เช่น ไอ (cough) มีเสมหะ (sputum production) หายใจลำบาก (dyspnea) เจ็บหน้าอกเมื่อหายใจเข้าลึกหรือไอ (pleuritic pain) ไอเป็นเลือด (hemoptysis) และอาการทางระบบทางเดินหายใจอื่นๆที่อาจจะพบได้ คือ เสียงหายใจผิดปกติ คือ เสียงโทนต่ำ ดัง และหยาบคล้ายเสียงกรน (rhonchi) หรือเสียงโทนสูง (Crackles) นอกจากนั้นในผู้ป่วยสูงอายุที่มีโรคร่วมอาจจะพบอาการอ่อนเพลีย ความอยากอาหารลดลง หัวใจเต้นเร็ว มีการเปลี่ยนแปลงของสติสัมปะชัญญะและไม่สามารถกลั้นปัสสาวะได้ร่วมด้วย ซึ่งพบว่าผู้ที่เป็นปอดอักเสบจากเชื้อ Acinetobacter baumannii มีอัตราการตายสูงถึง 35-70%[7],[8] 2.ติดเชื้อปอดอักเสบในชุมชน (Community-acquired pneumonia) มักพบในทวีปออสเตรเลียและเอเชีย ซึ่งพบได้ประมาณ 10% ของผู้อยู่อาศัยในชุมชน พบอัตราการเสียชีวิต 40%-60%[5] อาการและอาการแสดงเหมือนกับการติดเชื้อปอดอักเสบในโรงพยาบาล คือ มีไข้ สั่น เหงื่อออกมาก ไอ เจ็บหน้าอก และหายใจลำบาก เป็นต้น 3.ภาวะติดเชื้อในกระแสเลือด (Bloodstream infection) สาเหตุหลักมักพบในผู้ที่ใส่สายสวนที่บริเวณหลอดเลือดดำ การมีเชื้อ colonize ที่ผิวหนังจากการเกิดแผลหรือการติดเชื้อในทางเดินหายใจมาก่อน อัตราการเสียชีวิตในผู้ป่วยที่ติดเชื้อในกระแสเลือดจากเชื่อ Acinetobacter baumannii สูงถึง 30% to 52%[6] อาการและอาการแสดง คือ มีไข้ (fever) หนาวสั่น (chills) มักเป็นอาการแสดงเริ่มต้นของผู้ที่มีภาวะติดเชื้อในกระแสเลือด นอกจากนี้อาจพบ อาการเวียนศีรษะ (dizziness) ความดันโลหิตต่ำ (hypotension) ทางเดินหายใจล้มเหลว (respiratory failure) และอาจจะเกิดภาวะ sepsis, septic shock หรือ อาจมีภาวะการแข็งตัวของเลือดที่ผิดปกติ เกิดจ้ำเลือดแต่เป็นอาการที่พบได้น้อย[4] 4.ติดเชื้อเยื่อบุหัวใจ (Endocarditis) มักจะพบได้น้อยในกรณีที่ Acinetobacter baumannii เป็นเชื้อก่อโรค พบได้ 1.3-13% ซึ่งเป็นภาวะที่โครงสร้างหัวใจมีการติดเชื้อ โดยเฉพาะอย่างยิ่งลิ้นหัวใจ ซึ่งจะเกิดการติดเชื้อได้ทั้งลิ้นหัวใจแท้และลิ้นหัวใจเทียม ซึ่งการติดเชื้อที่บริเวณลิ้นหัวใจเทียมจะพบอัตราการตายที่สูงกว่าการติดเชื้อที่ลิ้นหัวใจแท้ อาการและอาการแสดง มักเป็นอาการที่ไม่จำเพาะเจาะจง คือ มีไข้ (fever) ซึ่งจะเป็นอาการที่พบได้บ่อยที่สุด หนาวสั่น (chill) เบื่ออาหาร (anorexia) น้ำหนักลด (weight loss) ปวดกล้ามเนื้อปวดข้อ (malaise) เหงื่อออกตอนกลางคืน (night sweats) หายใจลำบาก (dyspnea) เสียงหัวใจผิดปกติ (cardiac murmurs) ม้ามโต (splenomegaly) และอาการทางผิวหนังโดยเฉพาะอย่างยิ่งบริเวณแขน ขา หรือเยื่อบุเพดานปากและเยื่อบุตา พบการเกิดลิ่มเลือดอุดตันหรือมีจุดเลือดออก เช่น เลือดออกใต้เยื่อบุตา (subconjuctival hemorrhage) พบเส้นสีดำบริเวณเล็บ (splinter hemorrhage) จุดแดง กดเจ็บบริเวณฝ่ามือ ฝ่าเท้า (Osler’s node) จุดเลือดออกที่ choroids plexus บน retina (Roth’s spot) จุดแดง กดไม่เจ็บ มักพบที่ฝ่าเท้า (Janeway’s lesion) จุดเลือดออกที่ผิวหนัง ขนาดไม่เกิน 2 มิลลิเมตร (petechiae) ภาวะนิ้วปุ้ม (clubbing of the fingers)[10] 5. เยื่อหุ้มสมองอักเสบ (Meningitis) อาการและอาการแสดง คือ ไข้ คอแข็ง (stiff neck) และมีการเปลี่ยนแปลงของสติสัมปะชัญญะ (alter mental status) ซึ่งเป็นอาการที่มักพบได้บ่อย นอกจากนั้นยังสามารถเกิดอาการคลื่นไส้ อาเจียน (nausea vomiting) ปวดศีรษะ (headache) ชัก (seizure) อาการแสดงของความผิดปกติทางระบบประสาทเฉพาะที่ (Focal neurological deficit) Brudzinski's Sign Positive และ Kernig's Sign Positive เป็นต้น ซึ่งพบอัตราการเสียชีวิตในผู้ป่วยเยื่อหุ้มสมองอักเสบที่เกิดจากเชื้อ Acinetobacter baumannii สูงถึง 70%[5] 6.ติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ (Urinary tract infection;UTI) ที่เกิดจากเชื้อ Acinetobacter baumannii มักพบในผู้ใส่สายสวนปัสสาวะที่รักษาในโรงพยาบาลเป็นระยะเวลานาน อาการและอาการแสดง คือ แบ่งเป็น 2 กลุ่มอาการ -Lower UTI เช่น ปัสสาวะขัด (dysuria) กลั้นปัสสาวะไม่ได้ (urgency) ปัสสาวะบ่อยกลางคืน (nocturia) -Upper UTI เช่น ไข้ (fever) ปวดหลัง (flank pain) คลื่นไส้อาเจียน (nausea vomiting) ซึ่งส่งผลให้มีโอกาสเกิดกรวยไตอักเสบ (pyelonephritis) และติดเชื้อในกระแสเลือด (bacteremia) ซึ่งผู้ป่วยที่คาสายสวนปัสสาวะเป็นเวลานานมักจะเกิดอาการ upper UTI มากกว่า lower UTI[11] 7. ติดเชื้อที่ผิวหนังและเนื้อเยื่อ (skin and soft tissue infection) ที่เกิดจากการติดเชื้อAcinetobacter baumannii มักพบได้น้อย ซึ่งสาเหตุหลักมักเกิดจากการติดเชื้อขณะได้รับการผ่าตัด หรือขณะทำการตัดเนื้อเยื่อที่ตายออก (debridement) รวมไปถึงการเกิดอุบัติเหตุที่รุนแรง (trauma) ซึ่งอาจทำให้มีความรุนแรงที่อาจจะเกิดภาวะติดเชื้อลุกลามเข้ากระดูก (osteomyelitis) อาการและอาการแสดง คือ มีภาวะติดเชื้อบริเวณผิวหนังหรือเนื้อเยื่อใต้ผิวหนัง (cellulitis) ส่งผลให้มีอาการบวมแดง (erythema and edema) ปวด (painful) หรือร้อนบริเวณที่มีการติดเชื้อ รวมทั้งอาจมีอาการอื่น ๆ ร่วมด้วย เช่น มีไข้ (fever) หนาวสั่น (chill) ความดันโลหิตต่ำ (hypotension) มีภาวะขาดน้ำ (dehydration) และการเปลี่ยนแปลงของสติสัมปะชัญญะ (altered mental status)[9]
สำหรับแนวทางการรักษาการติดเชื้อAcinetobacter baumannii การรักษาการติดเชื้อปอดอักเสบในโรงพยาบาล (Hospital acquire pneumonia) และ การติดเชื้อปอดอักเสบที่สัมพันธ์กับการใส่เครื่องช่วยหายใจ (Ventilator-associated pneumonia) อ้างอิงตามแนวทางการรักษาตาม 2016 Clinical Practice Guidelines by the Infectious Disease Society of America and American Thoracic Society[13] แนะนำการรักษาดังนี้
1.กรณีเชื้อไวต่อยากลุ่ม carbapenem หรือ ampicillin/sulbactam แนะนำยากลุ่ม carbapenem คือ meropenem 500 mg ถึง 1 g ทุก 8 ชั่วโมง หรือ imipenam 500 mg ถึง 1 g ทุก 6–8 ชั่วโมง หรือ ampicillin/sulbactam 3 g IV ทุก 6 ชั่วโมง[12] 2.กรณีเชื้อไวต่อยากลุ่ม polymyxin เท่านั้น แนะนำ polymyxin B 50,000 units daily หรือ colistin 5 mg/kg/day แบ่งให้ 2–4 ครั้ง หรือ 1–3 million IU ทุก 8 ชั่วโมง[14] 3.กรณีที่ติดเชื้อ multidrug resistance acinetobacter (MDR- Acinetobacter) แนะนำ polymyxin B 50,000 units daily หรือ colistin 5 mg/kg/day แบ่งให้ 2–4 ครั้ง หรือ 1–3 million IU ทุก 8 ชั่วโมง[14] สำหรับระยะเวลาในการรักษาติดเชื้อปอดอักเสบในโรงพยาบาล รวมถึงการติดเชื้อปอดอักเสบที่สัมพันธ์กับการใส่เครื่องช่วยหายใจและการติดเชื้อปอดอักเสบที่เป็น multidrug resistance acinetobacter (MDR- Acinetobacter) จะรักษาเป็นเวลา 7 วัน นอกจากนั้นการรักษาอาการอื่นๆที่เกิดจากการติดเชื้อ Acinetobacter baumannii ซึ่งมีอุบัติการณ์การเกิดน้อย คือ ติดเชื้อปอดอักเสบในชุมชน (community-acquired pneumonia) ภาวะติดเชื้อในกระแสเลือด (bloodstream infection) ติดเชื้อเยื่อบุหัวใจ (endocarditis) เยื่อหุ้มสมองอักเสบ (meningitis) ติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ (Urinary tract infection) ติดเชื้อที่ผิวหนังและเนื้อเยื่อ (skin and soft tissue infection) ไม่พบข้อมูลการรักษาที่เป็นมาตรฐานแต่จากข้อมูลผลความไวของเชื้อต่อยาอ้างอิงจาก National Antimicrobial Resistant Surveillance, Thailand (NARST) ในเดือนมกราคมถึงเดือนกันยายน พ.ศ.2562 พบว่า เชื้อ Acinetobacter baumannii มีความไวต่อยา colistin มากที่สุด คือ 97%, และมีความไวต่อยา amikacin รองลงมา คือ 50.7% ส่วนยาอื่นๆให้ผลไวต่อเชื้อน้อย คือ ampicillin/sulbactam 30.9%, Imipenam 29%, meropenam 31.6% ดังนั้นยาที่อาจนำมารักษาได้ คือ colistin, amikacin, ampicillin/sulbactam, imipenem และ meropenam

วันที่ตอบ : 24 ม.ค. 63 - 11:53:21


No : 2

[1.] ChaiwarithR, Mahatthanaphak S,Boonchoo M,et al.Pandrug-resistant Acinetobacter baumannii at Maharaj Nakorn Chiang Mai Hospital. J Infect Dis Antimicrob Agents 2005;22:p.1-8.
[2.] Kanafani ZA, Kanj SS. Acinetobacter infection: Epidemiology, microbiology, pathogenesis, clinical features, and diagnosis.In:UpToDate, Calderwood SB, Bloom A (Ed),UpToDate, Waltham, MA, 2009.
[3.] Lee CR, Lee JH, Park M, Park KS, Bae IK, Kim YB, et al.Biology of Acinetobacter baumannii: Pathogenesis, Antibiotic Resistance Mechanisms, and Prospective Treatment Options. Front Cell Infect Microbiol.2017 ;7:55
[4] Song JH; Asian Hospital Acquired Pneumonia Working Group. Treatment
recommendations of hospital-acquired pneumonia in Asian countries: first
consensus report by the Asian HAP Working Group.Am J Infect Control.2008;36:S83-92.
[5] Howard A, O'Donoghue M, Feeney A, Sleator RD. Acinetobacter baumannii: an
emerging opportunistic pathogen. Virulence. 2012;1;3(3):243-50.
[6] Wisplinghoff H,Paulus T,Lugenheim M,Stefanik D,Higgins PG,Edmond MB,et al. Nosocomial bloodstream infections due to Acinetobacter baumannii , Acinetobacter pittii and Acinetobacter nosocomialis in the United States.Journal of infection (2012) 64,282-290. [7] Torres A, Menendez R, Wunderink RG.Murray and Nadel's Textbook of Respiratory Medicine, 6th Edition;Bacterial Pneumonia and Lung abcess.p.557-582.e22
[8] Shrader SP, Ragucci KR. Contraception. In: DiPiro JT, Talbert RL, Yee GC, Matzke GR, Wells BG, Posey LM, editors. Pharmacotherapy: A pathophysiologic approach. 10th ed. New York: McGraw-Hill Education; 2017. p.1703-4.
[9] Shrader SP, Ragucci KR. Contraception. In: DiPiro JT, Talbert RL, Yee GC, Matzke GR, Wells BG, Posey LM, editors. Pharmacotherapy: A pathophysiologic approach. 10th ed. New York: McGraw-Hill Education; 2017.p.1752
[10] Shrader SP, Ragucci KR. Contraception. In: DiPiro JT, Talbert RL, Yee GC, Matzke GR, Wells BG, Posey LM, editors. Pharmacotherapy: A pathophysiologic approach. 10th ed. New York: McGraw-Hill Education; 2017.p.1771
[11] Shrader SP, Ragucci KR. Contraception. In: DiPiro JT, Talbert RL, Yee GC, Matzke GR, Wells BG, Posey LM, editors. Pharmacotherapy: A pathophysiologic approach. 10th ed. New York: McGraw-Hill Education; 2017. p.1852
[12] Fishbain J,Peleg AY.Treatment of Acinetobacter Infections, Clinical Infectious Diseases 2010;51:p.79–84
[13] Kalil AC, Metersky ML, Klompas M, Muscedere J, Sweeney DA, Palmer LB,et al.
Management of Adults With Hospital-acquired and Ventilator-associated Pneumonia:
2016 Clinical Practice Guidelines by the Infectious Diseases Society of America
and the American Thoracic Society.2016;63(5):61-111.
[14] Polymyxin. In: DRUGDEX® System [database on the internet]. Greenwood Village, CO:Thomson Micromedex. [cited 2019 January 10]. Available from: http://www.micromedexsolutions.com/micromedex2/librarian.

วันที่ตอบ : 24 ม.ค. 63 - 12:46:35




พัฒนาระบบโดย ภานุชญา มณีวรรณ ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา 90110