ให้บริการโดยคณาจารย์ เภสัชกรผู้เชี่ยวชาญด้านยาและสุขภาพ


คำชี้แจง "เว็บไซต์นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อการ ศึกษา การแลกเปลี่ยนความรู้ และให้ข้อมูลเรื่องยาในกรณีทั่วไป ไม่ใช่คำแนะนำทางการแพทย์หรือเพื่อการรักษาในกรณีที่จำเพาะเจาะจง และความเห็นสำหรับกรณีเฉพาะหนึ่ง จะไม่สามารถประยุกต์ใช้กับผู้อื่นได้โดยตรง หากมีปัญหาเรื่องโรคโปรดปรึกษาแพทย์ หากมีปัญหาเรื่องยา โปรดปรึกษาเภสัชกร หรือปรึกษาผู้เกี่ยวข้องโดยตรงกับกรณีนั้นด้วยตนเองเท่านั้น"

Search :
ยาลดความดัน

Ptกิน Manidipine 10 mg 1/2 เม็ด เช้า และ Lazatan 50mg 1/2 เม็ด เช้า.....1เดือนต่อมา ม่อาการ ปวดหัวบ่อยๆ และมีอาการ แสบยอดอก(แสบกระเพราะ..ควร ปรับ หรือ เปลี่ยนยาให้ Pt อย่างไรคีครับ (Pt ชาย 56 ปี

[รหัสคำถาม : 384] วันที่รับคำถาม : 11 พ.ค. 65 - 21:18:47 ถามโดย : บุคลากร วิทยาศาสตร์สุขภาพ

เข้าระบบเพื่อตอบคำถาม

No : 1

ยาลดระดับความดันโลหิตในกลุ่ม Calcium channel blockers (CCBs) ซึ่งยา manidipine เป็นยาในกลุ่มดังกล่าว มีความสัมพันธ์กับการทำให้เกิดอาการแสบยอดอกในผู้ใช้ยาเนื่องจากยาในกลุ่มนี้สามารถลด Lower esophageal sphincter pressure มีรายงานการเกิดอาการแสบร้อนกลางหน้าอก น้อยกว่าร้อยละ 1 และพบรายงานการเกิดอาการปวดหัว เวียนศีรษะ ประมาณร้อยละ 4 และ ร้อยละ 2 ตามลำดับ[1-4] ส่วนการใช้ยาลดระดับความดันโลหิตในกลุ่ม angiotensin receptor blockers (ARBs) ซึ่งยา losartan เป็นยาในกลุ่มดังกล่าว ไม่พบว่าความสัมพันธ์กับอาการแสบยอดอกในผู้ใช้ยา[4] และพบรายงานการเกิดอาการเวียนศีรษะ จากการใช้ยา Losartan น้อยกว่าร้อยละ 2[5] ในผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาโรคความดันโลหิตสูงด้วยยาลดระดับความดันโลหิต ยาลดระดับความดันโลหิตในกลุ่มอื่นๆ ได้แก่ ACEIs, Beta-blocker, Alpha-blocker, Diuretics มีรายงานการเกิดอาการไม่พึงประสงค์ในเรื่องอาการปวดหัวเช่นกัน[4]
จากแนวทางการรักษาโรคความดันโลหิตสูง ยา 5 กลุ่มหลัก ได้แก่ ACEIs, ARBs, CCBs , Diuretics, Beta-blocker ควรเริ่มยา 2 ชนิดขึ้นไปในผู้ป่วยส่วนมาก โดยอาจเลือกยาในกลุ่ม renin angiotensin system blockers (ACEIs หรือ ARBs) ใช้ร่วมกับยาขับปัสสาวะ หรือ CCBs แต่อาจใช้ยากลุ่มใดมารวมกันก็ได้ตามความเหมาะสม[6-7] ซึ่งผู้ป่วยรายนี้ใช้ยาร่วมกันคือ Manidipine (ยาในกลุ่มCCBs) ร่วมกับ Losartan (ยาในกลุ่ม ARBs) ดังนั้นอาจพิจารณาปรับเปลี่ยนการใช้ยาเป็นยาในกลุ่ม ARBs ร่วมกับยาในกลุ่มขับปัสสาวะ(Diuretics) โดยพิจารณาหยุดการใช้ยา CCBs เนื่องจากผู้ป่วยอาจมีอาการแสบยอดอกจากยาในกลุ่ม CCBs ดังที่อธิบายไว้ข้างต้นซึ่งอาจแก้ปัญหาในเรื่องของอาการแสบยอดอกได้
อาการปวดศีรษะของผู้ถามอาจจะต้องหาสาเหตุของอาการปวดศีรษะเนื่องจากอาจมีสาเหตุอื่นที่ไม่ได้เกี่ยวข้องกับการใช้ยา หากยังสงสัยว่าเกิดจากการใช้ยาอาจต้องปรึกษาแพทย์เพื่อพิจารณายาลดระดับความดันโลหิตที่เหมาะสมต่อไป เนื่องจากยาลดระดับความดันโลหิตหลายกลุ่มก็สามารถทำให้เกิดอาการปวดศีรษะได้
File
: 257-1675659466.pdf
วันที่ตอบ : 10 ก.พ. 66 - 15:11:59


No : 2

ยาลดระดับความดันโลหิตในกลุ่ม Calcium channel blockers (CCBs) ซึ่งยา manidipine เป็นยาในกลุ่มดังกล่าว มีความสัมพันธ์กับการทำให้เกิดอาการแสบยอดอกในผู้ใช้ยาเนื่องจากยาในกลุ่มนี้สามารถลด Lower esophageal sphincter pressure มีรายงานการเกิดอาการแสบร้อนกลางหน้าอก น้อยกว่าร้อยละ 1 และพบรายงานการเกิดอาการปวดหัว เวียนศีรษะ ประมาณร้อยละ 4 และ ร้อยละ 2 ตามลำดับ[1-4] ส่วนการใช้ยาลดระดับความดันโลหิตในกลุ่ม angiotensin receptor blockers (ARBs) ซึ่งยา losartan เป็นยาในกลุ่มดังกล่าว ไม่พบว่าความสัมพันธ์กับอาการแสบยอดอกในผู้ใช้ยา[4] และพบรายงานการเกิดอาการเวียนศีรษะ จากการใช้ยา Losartan น้อยกว่าร้อยละ 2[5] ในผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาโรคความดันโลหิตสูงด้วยยาลดระดับความดันโลหิต ยาลดระดับความดันโลหิตในกลุ่มอื่นๆ ได้แก่ ACEIs, Beta-blocker, Alpha-blocker, Diuretics มีรายงานการเกิดอาการไม่พึงประสงค์ในเรื่องอาการปวดหัวเช่นกัน[4]
จากแนวทางการรักษาโรคความดันโลหิตสูง ยา 5 กลุ่มหลัก ได้แก่ ACEIs, ARBs, CCBs , Diuretics, Beta-blocker ควรเริ่มยา 2 ชนิดขึ้นไปในผู้ป่วยส่วนมาก โดยอาจเลือกยาในกลุ่ม renin angiotensin system blockers (ACEIs หรือ ARBs) ใช้ร่วมกับยาขับปัสสาวะ หรือ CCBs แต่อาจใช้ยากลุ่มใดมารวมกันก็ได้ตามความเหมาะสม[6-7] ซึ่งผู้ป่วยรายนี้ใช้ยาร่วมกันคือ Manidipine (ยาในกลุ่มCCBs) ร่วมกับ Losartan (ยาในกลุ่ม ARBs) ดังนั้นอาจพิจารณาปรับเปลี่ยนการใช้ยาเป็นยาในกลุ่ม ARBs ร่วมกับยาในกลุ่มขับปัสสาวะ(Diuretics) โดยพิจารณาหยุดการใช้ยา CCBs เนื่องจากผู้ป่วยอาจมีอาการแสบยอดอกจากยาในกลุ่ม CCBs ดังที่อธิบายไว้ข้างต้นซึ่งอาจแก้ปัญหาในเรื่องของอาการแสบยอดอกได้
อาการปวดศีรษะของผู้ถามอาจจะต้องหาสาเหตุของอาการปวดศีรษะเนื่องจากอาจมีสาเหตุอื่นที่ไม่ได้เกี่ยวข้องกับการใช้ยา หากยังสงสัยว่าเกิดจากการใช้ยาอาจต้องปรึกษาแพทย์เพื่อพิจารณายาลดระดับความดันโลหิตที่เหมาะสมต่อไป เนื่องจากยาลดระดับความดันโลหิตหลายกลุ่มก็สามารถทำให้เกิดอาการปวดศีรษะได้
1. Manidipine. In: Specific Lexicomp Online Database [database on the internet]. Hudson (OH): Lexicomp Inc.: [update 16 November 2022; cite 22 November 2022]. Available from: https://online.lexi.com/lco/action/doc/retrieve/docid/multinat_f/6487270?cesid=3dKCKhTFdKB&searchUrl=%2Flco%2Faction%2Fsearch%3Fq%3Dmanidipine%26t%3Dname%26acs%3Dfalse%26acq%3Dmanidipine
2. Hamada, A., Akiyoshi, R., Ishii, J., Hamada, N., Miyazaki, C., Hamada, T., Ohwaki, Y., Ikeda, R., Wada, M., & Nakashima, K. (2012). Influence of calcium channel blockers in patients with gastrointestinal disease in Japanese community pharmacies. Journal of clinical pharmacy and therapeutics, 37(1), 74–77. https://doi.org/10.1111/j.1365-2710.2011.01253.x
3. Hamada, A., Ishii, J., Doi, K., Hamada, N., Miyazaki, C., Hamada, T., Ohwaki, Y., Wada, M., & Nakashima, K. (2008). Increased risk of exacerbating gastrointestinal disease among elderly patients following treatment with calcium channel blockers. Journal of clinical pharmacy and therapeutics, 33(6), 619–624. https://doi.org/10.1111/j.1365-2710.2008.00958.x
4. Yoshida, K., Furuta, K., Adachi, K., Ohara, S., Morita, T., Tanimura, T., Nakata, S., Miki, M., Koshino, K., & Kinoshita, Y. (2010). Effects of anti-hypertensive drugs on esophageal body contraction. World journal of gastroenterology, 16(8), 987–991. https://doi.org/10.3748/wjg.v16.i8.987.
5. Losartan. In: Specific Lexicomp Online Database [database on the internet]. Hudson (OH): Lexicomp Inc.: publication year [cited 16 November 2022]. Available from: https://online.lexi.com/lco/action/doc/retrieve/docid/multinat_f/4669787?cesid=23Cc9xLJXzs&hitReason=international-brand-name&searchUrl=%2Flco%2Faction%2Fsearch%3Fq%3Dlorsatan%26t%3Dname%26acs% 3Dfalse%26acq%3Dlorsatan
6. Williams, B., Mancia, G., Spiering, W., Rosei, E. A., Azizi, M., Burnier, M., Clement, D. L., Coca, A., de Simone, G., Dominiczak, A., Kahan, T., Mahfoud, F., Redon, J., Ruilope, L., Zanchetti, A., Kerins, M., Kjeldsen, S. E., Kreutz, R., Laurent, S., Lip, G. Y. H., … Desormais, I. (2018). Linee guida ESC/ESH 2018 per la diagnosi e il trattamento dell’ipertensione arteriosa. Task Force per la Diagnosi e il Trattamento dell’Ipertensione Arteriosa della Società Europea di Cardiologia (ESC) e della Società Europea dell’Ipertensione Arteriosa (ESH) [2018 ESC/ESH Guidelines for the management of arterial hypertension. The Task Force for the management of arterial hypertension of the European Society of Cardiology (ESC) and the European Society of Hypertension (ESH)]. Giornale italiano di cardiologia (2006), 19(11 Suppl 1), 3S–73S. https://doi.org/10.1714/3026.30245
7. สมาคมความดันโลหิตสูงแห่งประเทศไทย (Thai Hypertension Society). แนวทางการรักษาโรคความดันโลหิตสูง ในเวชปฏิบัติทั่วไป พ.ศ. 2562 (2019 Thai Guidelines on The Treatment of Hypertension). [2022 Nov 21]; Access on http://www.thaiheart.org/images/column_1563846428/Thai%20HT%20Guideline%202019.pdf

วันที่ตอบ : 13 ก.พ. 66 - 13:47:13




พัฒนาระบบโดย ภานุชญา มณีวรรณ ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา 90110