ให้บริการโดยคณาจารย์ เภสัชกรผู้เชี่ยวชาญด้านยาและสุขภาพ


คำชี้แจง "เว็บไซต์นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อการ ศึกษา การแลกเปลี่ยนความรู้ และให้ข้อมูลเรื่องยาในกรณีทั่วไป ไม่ใช่คำแนะนำทางการแพทย์หรือเพื่อการรักษาในกรณีที่จำเพาะเจาะจง และความเห็นสำหรับกรณีเฉพาะหนึ่ง จะไม่สามารถประยุกต์ใช้กับผู้อื่นได้โดยตรง หากมีปัญหาเรื่องโรคโปรดปรึกษาแพทย์ หากมีปัญหาเรื่องยา โปรดปรึกษาเภสัชกร หรือปรึกษาผู้เกี่ยวข้องโดยตรงกับกรณีนั้นด้วยตนเองเท่านั้น"

Search :
การใช้ยา

ทำไมยา mefenamic acid ถึงนิยมใช้ในแก้ปวดประจำเดือน ทั้งๆที่ตัวอื่นก็ลดปวดได้เหมือนกัน หรือแต่ละตัวจะจำเพาะที่ต่างกันมั้ยครับ

[รหัสคำถาม : 385] วันที่รับคำถาม : 11 พ.ค. 65 - 22:20:08 ถามโดย : นักศึกษา วิทยาศาสตร์สุขภาพ

เข้าระบบเพื่อตอบคำถาม

No : 1

ทำไมยา Mefenamic acid ถึงนิยมใช้ในแก้ปวดประจำเดือน ทั้งๆที่ตัวอื่นก็ลดปวดได้เหมือนกัน หรือแต่ละตัวจะจำเพาะที่ต่างกันมั้ยครับ
อาการปวดประจำเดือน (dysmenorrhea) หมายถึง อาการปวดบิด บีบเกร็งบริเวณท้องน้อยหรืออุ้งเชิงกราน
ในขณะที่มีประจำเดือน โดยอาการปวดประจำเดือน แบ่งออกเป็น 2 ชนิดคือ ชนิดปฐมภูมิ (primary dysmenorrhea)
และชนิดทุติยภูมิ (secondary dysmenorrhea) อาการปวดประจำเดือนชนิดปฐมภูมิจะมีอาการปวดท้องน้อยที่
สัมพันธ์กับรอบประจำเดือน และไม่พบพยาธิสภาพในอุ้งเชิงกราน สาเหตุเกิดจากไข่ที่สุกตกออกมาจากรังไข่แล้ว ไม่ได้รับ
การผสมกับอสุจิทำให้เยื่อบุโพรงมดลูกเกิดการฝ่อตัวสลายเป็นประจำเดือนพร้อมกับหลั่งสาร prostaglandins ซึ่งหาก
สาร prostaglandins นี้ถูกหลั่งออกมามากผิดปกติ จะทำให้กล้ามเนื้อมดลูกบีบรัดตัวอย่างรุนแรงและเพิ่มความไวในการ
รับรู้ของตัวรับความรู้สึกเจ็บปวดภายในอุ้งเชิงกราน สำหรับอาการปวดประจำเดือนชนิดทุติยภูมิ จะมีอาการปวด
ประจำเดือนที่เกิดจากพยาธิสภาพในอุ้งเชิงกราน ที่พบบ่อยคือ การมีภาวะเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่เข้าไปในกล้ามเนื้อมดลูก (endometriosis)[1]
...
ยากลุ่ม non-steroidal anti-inflammatory drugs (NSAIDs) เป็นยาทางเลือกแรก (first-line treatment)
สำหรับการรักษาอาการปวดประจำเดือนชนิดปฐมภูมิ การเลือกใช้ยารักษาพิจารณาตามประสิทธิภาพของยา
(effectiveness) และความสามารถในการทนต่อการใช้ยา (tolerability) ของผู้ป่วยแต่ละคน จากข้อมูลที่รวบรวม
ได้จากรายงานการศึกษา พบว่า ยาทุกตัวในกลุ่ม NSAIDs มีประสิทธิภาพเท่าเทียมกันในการรักษาอาการปวด
ประจำเดือนชนิดปฐมภูมิ[2] และมีประสิทธิภาพในการยับยั้งการสร้าง prostaglandins ได้ไม่แตกต่างกัน แต่ยากลุ่ม
fenamates หรือ mefenamic acid สามารถออกฤทธิ์ยับยั้งการออกฤทธิ์ของ prostaglandins ได้ด้วย[3] จึงทำให้
ประสิทธิภาพในการลดอาการปวดประจำเดือนของยา mefenamic acid ดีกว่ายาอื่นในกลุ่ม NSAIDs การใช้ยากลุ่ม
fenamates มีข้อควรระวังก่อให้เกิดอาการข้างเคียงที่อาจทำให้เกิดกระเพาะอาหารอักเสบได้[4] จึงควรรับประทานพร้อมอาหาร
หรือหลังอาหารทันที
...
เอกสารอ้างอิง :
[1]. พลลพัฏฐ์ ยงฤทธิปกรณ์. การวินิจฉัยและการรักษาอาการปวดประจำเดือนชนิดปฐมภูมิ. วารสารเทคนิคการแพทย์และกายภาพบำบัด [อินเทอร์เน็ต]. 2016
[เข้าถึงเมื่อ 22 พฤศจิกายน 2565]; 28:112-119. เข้าถึงได้จาก https://he01.tci-thaijo.org/index.php/ams/article/download/67945/55404/159046.
[2]. Osayande AS, Mehulic S. Diagnosis and initial management of dysmenorrhea. Am. Fam. Physician. 2014 Mar. 1;89(5):341-6. PMID: 24695505.
[3]. Smith, R., Kaunitz, A. (2022). Dysmenorrhea in adult females: Treatment. In R. Barbieri (Ed.), UpToDate. Retrived Nov. 22, 2022, from
https://www.uptodate.com/contents/dysmenorrhea-in-adult-females-treatment.
[4]. Medscape Pharmacists [Internet]. New York: WebMD; c1994-2022 [cited 2022 Nov. 29]. Available from: https://reference.medscape.com/drug/mefenamic-acid-343294#0.

วันที่ตอบ : 09 ม.ค. 66 - 10:00:10




พัฒนาระบบโดย ภานุชญา มณีวรรณ ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา 90110