ให้บริการโดยคณาจารย์ เภสัชกรผู้เชี่ยวชาญด้านยาและสุขภาพ


คำชี้แจง "เว็บไซต์นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อการ ศึกษา การแลกเปลี่ยนความรู้ และให้ข้อมูลเรื่องยาในกรณีทั่วไป ไม่ใช่คำแนะนำทางการแพทย์หรือเพื่อการรักษาในกรณีที่จำเพาะเจาะจง และความเห็นสำหรับกรณีเฉพาะหนึ่ง จะไม่สามารถประยุกต์ใช้กับผู้อื่นได้โดยตรง หากมีปัญหาเรื่องโรคโปรดปรึกษาแพทย์ หากมีปัญหาเรื่องยา โปรดปรึกษาเภสัชกร หรือปรึกษาผู้เกี่ยวข้องโดยตรงกับกรณีนั้นด้วยตนเองเท่านั้น"

Search :
ผลข้างเคียงยา raloxifene และ toremifene

เป็นมะเร็งเต้านมระยะ 1 ตัดเต้านมและทาน Tamoxifen 20 mg/วัน มีผลข้างเคียงจากยาคือ น้ำหนักลด และเป็นกรดไหลย้อน

อยากทราบว่ายาในกลุ่มเดียวกัน raloxifene และ toremifene มีผลข้างเคียงทำให้ น้ำหนักลดและเป็นกรดไหลย้อนเหมือนกันไหมคะ และผลข้างเคียงอื่นๆ มีอะไรบ้างคะ ขอบคุณค่ะ


[รหัสคำถาม : 399] วันที่รับคำถาม : 18 ส.ค. 65 - 21:24:49 ถามโดย : บุคคลทั่วไป

เข้าระบบเพื่อตอบคำถาม

No : 1

Tamoxifen เป็นยาที่อยู่ในกลุ่ม Selective Estrogen Receptor Modulator (SERM) จะใช้ในผู้ป่วยมะเร็งเต้านมที่มีตัวรับฮอร์โมน (Hormone Receptor Positive) ออกฤทธิ์แย่งจับกับตัวรับ estrogen บนก้อนมะเร็งและเนื้อเยื่อเป้าหมายอื่นๆ แบบแข่งขัน ทำให้เกิด nuclear complex ที่ลดการสังเคราะห์ DNA และยับยั้งผลของ estrogen บนเซลล์มะเร็ง ทำให้เซลล์มะเร็งไม่สามารถเติบโตได้ ขนาดยาที่ใช้ในข้อบ่งชี้รักษามะเร็งเต้านม คือ Tamoxifen 20 mg วันละ 1 ครั้ง นาน 5-10 ปี อาการข้างเคียงที่พบบ่อย คือ
1. อาการข้างเคียงทางระบบหัวใจและหลอดเลือด ได้แก่ ผิวหนังแดง (33%) ความดันโลหิตสูง (11%) อาการบวมน้ำบริเวณรยางค์ (11%) หลอดเลือดขยายตัว (41%) เจ็บหน้าอก (5%) อาการบวมน้ำ (4%) โรคหัวใจขาดเลือด (3%) ภาวะลิ่มเลือดอุดตันในหลอดเลือดดำ (5%)
2. อาการข้างเคียงทางผิวหนัง ได้แก่ ลักษณะผิวหนังเปลี่ยนแปลงไป (6-19%) ผื่นที่ผิวหนัง (13%) ผมร่วง (5%) เหงื่อออกมาก (6%)
3. อาการข้างเคียงทางระบบต่อมไร้ท่อและการเผาผลาญ ได้แก่ ประจำเดือนไม่มา (16%) การสะสมของของเหลวในเนื้อเยื่อของร่างกาย (32%) ร้อนวูบวาบ (19-80%) น้ำหนักลด (23%) ไขมันในเลือดสูง (3%) ระยะห่างของรอบระดูมากผิดปกติ (9%) น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น (9%) เกิดถุงน้ำรังไข่ (3%)
4. อาการข้างเคียงทางระบบทางเดินอาหาร ได้แก่ คลื่นไส้ (5-26%) คลื่นไส้และอาเจียน (12%) ปวดท้อง (9%) ท้องผูก (4-8%) ท้องร่วง (7%) อาการปวดท้องหรือไม่สบายท้องหรืออาหารไม่ย่อย (6%) เบื่ออาหาร (1%)
5. อาการข้างเคียงทางระบบทางเดินปัสสาวะและระบบสืบพันธุ์ ได้แก่ ประจำเดือนมาไม่ปกติ (13-25%) ตกขาว (12-55%) เลือดออกทางช่องคลอด (6-23%) ปวดเต้านม (6%) ติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ (10%) ช่องคลอดอักเสบ (5%)
6. อาการข้างเคียงทางระบบเลือดและมะเร็ง ได้แก่ ต่อมน้ำเหลืองบวมโต (11%) โลหิตจาง (5%) เนื้องอก (5%) เกล็ดเลือดต่ำ (2-10%)
7. อาการข้างเคียงทางระบบประสาท ได้แก่ ซึมเศร้า (2-12%) เหนื่อยล้า อารมณ์เปลี่ยนแปลง (12-18%) อาการปวด (3-16%) วิตกกังวล (6%) เวียนศีรษะ (8%) ปวดศีรษะ (8%) นอนไม่หลับ (9%) รู้สึกเหมือนโดนของแหลมทิ่ม (5%)
8. อาการข้างเคียงทางระบบกล้ามเนื้อและโครงกระดูก ได้แก่ ปวดข้อ (11%) ข้ออักเสบ (14%) อ่อนแรง ปวดหลัง (10%) กระดูกหัก (7%) โรคกระดูกพรุน (7%) ปวดกล้ามเนื้อ (5%) ข้ออักเสบ (5%)
9. อาการข้างเคียงทางระบบทางเดินหายใจ ได้แก่ คอหอยอักเสบ (14%) หายใจลำบาก (8%) อาการคล้ายไข้หวัดใหญ่ (6%) หลอดลมอักเสบ (5%) ไซนัสอักเสบ (5%) ไอ (4-9%)
10. อาการข้างเคียงเกี่ยวกับตับ ได้แก่ เอนไซม์ตับชนิด AST เพิ่มสูงขึ้น (5%) บิลิรูบินในเลือดเพิ่มขึ้น (2%)
11. อาการข้างเคียงเกี่ยวกับภาวะภูมิไวเกิน ได้แก่ ปฏิกิริยาภูมิไวเกิน (3%)
12. อาการข้างเคียงเกี่ยวกับตา ได้แก่ ต้อกระจก (8%)
13. อาการข้างเคียงเกี่ยวกับไต ได้แก่ serum creatinine เพิ่มขึ้น (2%)
14. อาการข้างเคียงเกี่ยวกับการติดเชื้อ ได้แก่ ติดเชื้อ sepsis
15. อื่นๆ ได้แก่ เกิดถุงน้ำ (5%)[1]
Raloxifene เป็นยาที่อยู่ในกลุ่ม Selective Estrogen Receptor Modulator (SERM) ออกฤทธิ์ทั้งกระตุ้นและยับยั้งผลของ estrogen กล่าวคือ ออกฤทธิ์กระตุ้นผลของ estrogen เพื่อป้องกันการสูญเสียมวลกระดูกและมียับยั้งผลของ estrogen เพื่อป้องกันผลของ estrogen ต่อเต้านมและมดลูก ไม่ได้มีข้อบ่งชี้ในการใช้รักษามะเร็งเต้านม แต่มีข้อบ่งชี้ในการลดความเสี่ยงของการลุกลามของมะเร็งเต้านมไปยังส่วนอื่นๆของร่างกายในผู้หญิงวัยหมดประจำเดือน ขนาดยาที่แนะนำให้ใช้ คือ Raloxifene 60 mg วันละ 1 ครั้ง นาน 5 ปี อาจใช้นานกว่า 5 ปีได้ หากผู้ป่วยมีโรคกระดูกพรุนร่วมด้วย อาการข้างเคียงที่พบบ่อย คือ
1. อาการข้างเคียงทางระบบหัวใจและหลอดเลือด ได้แก่ อาการบวมน้ำบริเวณรยางค์ (3-14%) เจ็บหน้าอก (3%) หมดสติ (<2%) ลิ่มเลือดอุดตันหลอดเลือดดำ (1-2%)
2. อาการข้างเคียงทางผิวหนัง ได้แก่ ผื่นผิวหนัง (6%) เหงื่อออกมาก (3%)
3. อาการข้างเคียงทางระบบต่อมไร้ท่อและการเผาผลาญ ได้แก่ ร้อนวูบวาบ (8-29%) น้ำหนักเพิ่ม (9%)
4. อาการข้างเคียงทางระบบทางเดินอาหาร ได้แก่ ปวดท้อง (7%) อาเจียน (5%) กระเพาะและลำไส้อักเสบ (≤3%)
ท้องอืด (2-3%) โรคเกี่ยวกับระบบทางเดินอาหาร (3%)
5. อาการข้างเคียงทางระบบทางเดินปัสสาวะและระบบสืบพันธุ์ ได้แก่ ปวดเต้านม (4%) เลือดออกทางช่องคลอด (3-6%) ตกขาว (3%) ระบบทางเดินปัสสาวะผิดปกติ (3%) โรคเกี่ยวกับมดลูก (3%) โรคเกี่ยวกับเยื่อบุโพรงมดลูก (≤3%)
6. อาการข้างเคียงทางระบบกล้ามเนื้อและโครงกระดูก ได้แก่ ปวดข้อ (11-16%) ตะคริวที่ขา (≤12%) กล้ามเนื้อหดเกร็ง (≤12%) ปวดกล้ามเนื้อ (8%) เอ็นอักเสบ (4%)
7. อาการข้างเคียงทางระบบทางเดินหายใจ ได้แก่ มีอาการคล้ายไข้หวัด (14-15%) หลอดลมอักเสบ (10%) ไซนัสอักเสบ (10%) คอหอยอักเสบ (8%) กล่องเสียงอักเสบ (≤2%) ปอดบวม (3%)
8. อาการข้างเคียงเกี่ยวกับการติดเชื้อ ได้แก่ ติดเชื้อ (11%)
9. อาการข้างเคียงทางระบบประสาทส่วนกลาง ได้แก่ นอนไม่หลับ (6%) ไวต่อการสัมผัสน้อยลง (<2%) โรคปวดเส้นประสาท (<2%)[2]
Toremifene เป็นยาที่อยู่ในกลุ่ม Selective Estrogen Receptor Modulator (SERM) ออกฤทธิ์แย่งจับกับตัวรับ estrogen แบบแข่งขัน เพื่อยับยั้งผลของ estrogen บนเซลล์มะเร็ง ทำให้เซลล์มะเร็งไม่สามารถเติบโตได้ จะใช้ในผู้ป่วยมะเร็งเต้านมระยะแพร่กระจาย (metastatic) โดยใช้ในหญิงวัยหมดประจำเดือน Toremifene 60 mg วันละ 1 ครั้ง ต่อเนื่องจนกว่าโรคจะรุกรามไปยังอวัยวะอื่นๆ ของร่างกาย อาการข้างเคียงที่พบบ่อย คือ
1. อาการข้างเคียงทางระบบหัวใจและหลอดเลือด ได้แก่ บวมน้ำ (5%) หัวใจเต้นผิดจังหวะ (≤2%) โรคหลอดเลือดสมอง (≤2%) หลอดเลือดอักเสบบริเวณที่ฉีดยา (≤2%) ลิ่มเลือดอุดตันในปอด (≤2%) ลิ่มเลือดอุดตัน (≤2%) สมองขาดเลือดชั่วขณะ (≤2%) ภาวะหัวใจล้มเหลว (≤1%) กล้ามเนื้อหัวใจตาย (≤1%)
2. อาการข้างเคียงทางผิวหนัง ได้แก่ เหงื่อออกมาก (20%)
3. อาการข้างเคียงทางระบบต่อมไร้ท่อและการเผาผลาญ ได้แก่ ร้อนวูบวาบ (35%) แคลเซียมในเลือดสูง (≤3%)
4. อาการข้างเคียงทางระบบทางเดินอาหาร ได้แก่ คลื่นไส้ (14%) อาเจียน (4%)
5. อาการข้างเคียงทางระบบทางเดินปัสสาวะและระบบสืบพันธุ์ ได้แก่ ตกขาว (13%) เลือดออกทางช่องคลอด (2%)
6. อาการข้างเคียงทางระบบประสาทส่วนกลาง ได้แก่ เวียนศีรษะ (9%)
7. อาการข้างเคียงเกี่ยวกับตับ ได้แก่ เอนไซม์ชนิด alkaline phosphatase เพิ่มสูงขึ้น (8-19%) เอนไซม์ตับชนิด AST เพิ่มสูงขึ้น (5-19%) บิลิรูบินในเลือดเพิ่มขึ้น (1-2%)
8. อาการข้างเคียงเกี่ยวกับตา ได้แก่ ต้อกระจก (≤10%) ตาแห้ง (≤9%) การมองเห็นผิดปกติ (≤4%) โรคกระจกตา (≤2%) ต้อหิน (≤2%) สายตาสั้น (≤2%)[3]
โดยสรุป คือ Tamoxifen มีอาการข้างเคียงที่ทำให้น้ำหนักลด 23% แต่ไม่พบอาการข้างเคียงที่ทำให้เกิดกรดไหลย้อน พบเพียงอาการปวดท้องหรือไม่สบายท้องหรืออาหารไม่ย่อย 6% รวมถึงไม่พบอาการข้างเคียง น้ำหนักลด และกรดไหลย้อนในการใช้ยา Raloxifene และ Toremifene ทั้งนี้อาการข้างเคียงอื่นๆที่พบในยาทั้ง 3 ตัว (Tamoxifen Raloxifene และ Toremifene) จะมีทั้งอาการข้างเคียงบางอาการที่สามารถเกิดได้เหมือนกันในความถี่ที่แตกต่างกัน และอาการข้างเคียงแตกต่างกัน

เอกสารอ้างอิง
[1]. Tamoxifen. In: Lexi-Drugs Multinational [database on the Internet]. Hudson (OH): Lexicomp, Inc.; 2016 [updated 31 August 2022; cited 6 September 2022]. Available from: http://online.lexi.com. Subscription required to view.
[2]. Raloxifene. In: Lexi-Drugs Multinational [database on the Internet]. Hudson (OH): Lexicomp, Inc.; 2016 [updated 12 August 2022; cited 6 September 2022]. Available from: http://online.lexi.com. Subscription required to view.
[3]. Toremifene. In: Lexi-Drugs Multinational [database on the Internet]. Hudson (OH): Lexicomp, Inc.; 2016 [updated 31 August 2022; cited 6 September 2022]. Available from: http://online.lexi.com. Subscription required to view.
วันที่ตอบ : 09 ก.ย. 65 - 13:51:03




พัฒนาระบบโดย ภานุชญา มณีวรรณ ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา 90110