ให้บริการโดยคณาจารย์ เภสัชกรผู้เชี่ยวชาญด้านยาและสุขภาพ


คำชี้แจง "เว็บไซต์นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อการ ศึกษา การแลกเปลี่ยนความรู้ และให้ข้อมูลเรื่องยาในกรณีทั่วไป ไม่ใช่คำแนะนำทางการแพทย์หรือเพื่อการรักษาในกรณีที่จำเพาะเจาะจง และความเห็นสำหรับกรณีเฉพาะหนึ่ง จะไม่สามารถประยุกต์ใช้กับผู้อื่นได้โดยตรง หากมีปัญหาเรื่องโรคโปรดปรึกษาแพทย์ หากมีปัญหาเรื่องยา โปรดปรึกษาเภสัชกร หรือปรึกษาผู้เกี่ยวข้องโดยตรงกับกรณีนั้นด้วยตนเองเท่านั้น"

Search :
แพทย์สั่ง HiDAC มาครับ 1.8 g IV infuse q 12 hrs. d1-d5 ให้ร่วมกับ MTX IT, Ara-C

แพทย์สั่ง HiDAC มาครับ 1.8 g IV infuse q 12 hrs. d1-d5 ให้ร่วมกับ MTX IT, Ara-C IT, Hydrocortisone IT, Etoposide d2-d6 ครับผม
รบกวนใครมี Protocol AML ที่ใช้ยาคล้ายๆ กันนี้ ส่งมาให้หน่อยนะครับ

[รหัสคำถาม : 41] วันที่รับคำถาม : 23 ม.ค. 63 - 12:09:25 ถามโดย : บุคลากร วิทยาศาสตร์สุขภาพ

เข้าระบบเพื่อตอบคำถาม

No : 1

Acute myeloid leukemia (AML) เป็นโรคมะเร็งระบบเลือดที่เกิดจากความผิดปกติของ myeloid cells ซึ่งตรวจพบ myeloblasts ทั้งใน bone marrow และกระแสเลือด ทำให้เกิดผลกระทบต่อการสร้างเซลล์เม็ดเลือดใน bone marrow อาการที่พบในผู้ป่วยเช่น อ่อนเพลีย ติดเชื้อ มีเลือดออก การรักษาด้วย chemotherapy จะแบ่งออกเป็น 2 phase คือ[1],[2],[3],[4] 1. treatment induction, 2. post-remission therapy

แนวทางการรักษาแบ่งผู้ป่วยออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ คือ ผู้ป่วยที่มีอายุน้อยกว่า 60 ปี และผู้ป่วยที่มีอายุมากกว่าเท่ากับ 60 ปี ซึ่งการใช้ chemotherapy จะมีความแตกต่างกัน จากคำถามที่ถามเป็นผู้ป่วยเด็ก จะขอให้รายละเอียดของการรักษาเฉพาะในกลุ่มผู้ป่วยที่อายุน้อยกว่า 60 ปี โดยย่อดังนี้

การเลือก protocol การรักษาจะแบ่งกลุ่มผู้ป่วยตามระดับความเสี่ยงของโรคโดยใช้ genetic abnormality และแบ่งผู้ป่วยออกเป็น 3 กลุ่มด้วยกันคือ 1.) favorable risk 2.) intermediate risk 3.) poor/adverse risk จาก NCCN guideline version 3.2020 แนะนำการรักษา AML ไว้หลาย protocol โดยจัดแบ่งตามระดับความเสี่ยงของโรค[3] และจะต้องพิจารณาให้ CNS prophylaxis ด้วยในรายที่มีอาการทางระบบประสาท หรือตรวจ lumbar puncture พบผล positive (โดยให้ยา IT chemotherapy เช่น methotrexate, cytarabine ร่วมกับ protocol หลักในการรักษา AML)

Protocol สำหรับรักษา AML ที่มียาคล้ายกับ HiDAC 1.8 g IV infuse q 12 hrs. d1-d5 (ให้ร่วมกับ MTX IT, Ara-C IT, Hydrocortisone IT, Etoposide d2-d6) เช่น[3]

1. Treatment induction สำหรับผู้ป่วย AML ที่มี intermediate หรือ poor-risk[3]
1.) HiDAC 2 g/m2 every 12 hours x 6 days or 3 g/m2 every 12 hours x 4 days with idarubicin 12 mg/m2 or daunorubicin 60 mg/m2 x 3 days (1 cycle)
2.) Fludarabine 30 mg/m2 IV days 2 – 6, HiDAC 2 g/m2 over 4 hours starting 4 hours after fludarabine on day 2 – 6, idarubicin 8 mg/m2 IV days 4 – 6, and G-CSF SC daily days 1 – 7
หมายเหตุ : ตาม NCCN guideline version 3.2020
- Protocol ในข้อ 1.) จัดเป็นคำแนะนำใน category 1 ในผู้ป่วยอายุน้อยกว่าหรือเท่ากับ 45 ปี และจัดเป็น category 2B ในผู้ป่วยกลุ่มอายุอื่น
- Protocol ในข้อ 2.) จัดเป็นคำแนะนำใน category 2B

2. Post-remission therapy[3]
1.) HiDAC 3 g/m2 over 3 hours every 12 hours on days 1, 3, 5 or days 1, 2, 3 x 3 – 4 cycles ± gemtuzumab ozogamicin 3 mg/m2 (up to one 4.5 mg vial) on day 1 x 2 cycles
2.) HiDAC 1.5 – 3 g/m2 over 3 hours every 12 hours on days 1, 3, 5 or days 1, 2, 3 x 3 – 4 cycles
3.) HiDAC 1.5 – 3 g/m2 over 3 hours every 12 hours on days 1, 3, 5 or days 1, 2, 3 with oral midostaurin 50 mg every 12 hours on days 8 – 21 x 4 cycles
4.) HiDAC 1.5 – 3 g/m2 over 3 hours every 12 hours on days 1, 3, 5 or days 1, 2, 3 x 3 – 4 cycles
5.) HiDAC 1.5 – 3 g/m2 over 3 hours every 12 hours on days 1, 3, 5 or days 1, 2, 3 with oral midostaurin 50 mg every 12 hours on days 8 – 21 x 4 cycles
หมายเหตุ : ตาม NCCN guideline version 3.2020
- Protocol ในข้อ 1.) ใช้สำหรับผู้ป่วยที่มี CBF cytogenetics translocations without KIT mutation และจัดเป็นคำแนะนำใน category 1
- Protocol ในข้อ 2.), 3.) ใช้สำหรับผู้ป่วยที่มี intermediate-risk cytogenetics and/or molecular abnormalities
- Protocol ในข้อ 4.), 5.) ใช้สำหรับผู้ป่วยที่มี treatment-related disease other than CBF and/or unfavorable cytogenetics and/or molecular abnormalities
- Protocol ในข้อ 3.), 5.) ใช้สำหรับสำผู้ป่วยที่มี FLT3-mutated

3. Relapsed/refractory disease AML
1.) HiDAC (ถ้าผู้ป่วยยังไม่เคยได้รับมาก่อน) ± idarubicin or daunorubicin or mitoxantrone

เอกสารอ้างอิง
1. Jonathan EK. Overview of acute myeloid leukemia in adults. In: Richard AL, Alan GR, editors. UpToDate [Internet]. Waltham (MA): UpToDate Inc; 2020. Accessed on January 23, 2020. Available from: https://www.uptodate.com/contents/overview-of-acute-myeloid-leukemia-in-adults
2. Katherine T. Acute myeloid leukemia in children and adolescents. In: Julie RP, Alan GR, editors. UpToDate [Internet]. Waltham (MA): UpToDate Inc; 2020. Accessed on January 23, 2020. Available from: https://www.uptodate.com/contents/acute-myeloid-leukemia-in-children-and-adolescents
3. National Comprehensive Cancer Network. Acute myeloid leukemia. NCCN clinical practice guidelines in oncology. December 23,2019. Accessed on 23 January 2020. Available at: https://www.nccn.org/professionals/physician_gls/pdf/aml.pdf
4. Amy HS, Alix D. Acute leukemias. In: Joseph TD, Robert LT, Gary CY, Gary RM, Barbara GW, ed. Pharmacotherapy a pathophysiologic approach. 10thed. New York: McGraw-Hill company; 2017:2237-38
5. สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ. คู่มือแนวทางการรักษาโรคมะเร็งโลหิตวิทยาในผู้ใหญ่ พ.ศ.2561 [อินเทอร์เน็ต]. พิมพ์ครั้งที่ 1. นนทบุรี: บริษัท สหมิตรพริ้นติ้งแอนด์พับลิสชิ่ง จํากัด; 2561 [เข้าถึงเมื่อ 23 มกราคม 2563]. เข้าถึงได้จาก https://www.nhso.go.th/files/userfiles/file/2018/CA/แนวทางการรักษาโรคมะเร็งโลหิตวิทยาในผู้ใหญ่.pdf
6. Burnett AK, Russell NH, Hills RK, Hunter AE, Kjeldsen L, Yin J, Gibson BE, Wheatley K, Milligan D. Optimization of chemotherapy for younger patients with acute myeloid leukemia: results of the medical research council AML15 trial. J Clin Oncol. 2013 Sep 20;31(27):3360-8.
7. Farag SS, Ruppert AS, Mrózek K, Mayer RJ, Stone RM, Carroll AJ, Powell BL, Moore JO, Pettenati MJ, Koduru PR, Stamberg J, Baer MR, Block AW, Vardiman JW, Kolitz JE, Schiffer CA, Larson RA, Bloomfield CD. Outcome of induction and postremission therapy in younger adults with acute myeloid leukemia with normal karyotype: a cancer and leukemia group B study. J Clin Oncol. 2005 Jan 20;23(3):482-93. Epub 2004 Nov 8. PubMed PMID: 15534356.
8. Berger T, Rozovski U, Moshe Y, Yaari S, Frisch A, Hellmann I, Apel A, Aviram A, Koren-Michowitz M, Yeshurun M, Ram R, Raanani P, Ofran Y, Wolach O. Midostaurin in combination with intensive chemotherapy is safe and associated with improved remission rates and higher transplantation rates in first emission-a multi-center historical control study. Ann Hematol. 2019 Dec;98(12):2711-2717.
วันที่ตอบ : 23 ม.ค. 63 - 12:16:34




พัฒนาระบบโดย ภานุชญา มณีวรรณ ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา 90110