ให้บริการโดยคณาจารย์ เภสัชกรผู้เชี่ยวชาญด้านยาและสุขภาพ


คำชี้แจง "เว็บไซต์นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อการ ศึกษา การแลกเปลี่ยนความรู้ และให้ข้อมูลเรื่องยาในกรณีทั่วไป ไม่ใช่คำแนะนำทางการแพทย์หรือเพื่อการรักษาในกรณีที่จำเพาะเจาะจง และความเห็นสำหรับกรณีเฉพาะหนึ่ง จะไม่สามารถประยุกต์ใช้กับผู้อื่นได้โดยตรง หากมีปัญหาเรื่องโรคโปรดปรึกษาแพทย์ หากมีปัญหาเรื่องยา โปรดปรึกษาเภสัชกร หรือปรึกษาผู้เกี่ยวข้องโดยตรงกับกรณีนั้นด้วยตนเองเท่านั้น"

Search :
Xylocaine2%with Adrenaline 1:80000 สำหรับศัลยกรรมทั่วไป

ทำไมจึงไม่ใช้ 2Xylocaine with Adrenaline 1:80000 ในงานศัลยกรรมทั่วไป แต่มีใช้เฉพาะทางทันตกรรม (ปัจจุบันXylocaine with Adrenaline ที่มีในท้องตลาด เป็นสูตร 1:200000) มีปัญหาเรื่องAdverse drug reactionหรือไม่

[รหัสคำถาม : 416] วันที่รับคำถาม : 18 ต.ค. 65 - 15:32:23 ถามโดย : บุคลากร วิทยาศาสตร์สุขภาพ

เข้าระบบเพื่อตอบคำถาม

No : 1

ยาชาในชื่อการค้า Xylocaine® คือ lidocaine HCl เป็นยาที่ใช้สำหรับระงับความรู้สึกเฉพาะส่วน โดยออกฤทธิ์ขัดขวางการสื่อนำกระแสประสาทในบริเวณที่ยาชาสัมผัส ทำให้สูญเสียการนำความรู้สึก เมื่อหมดฤทธิ์ยาชา การทำงานของระบบประสาทต่างๆ จะกลับมาเป็นปกติ[1] การบริหารยาชา สามารถบริหารได้หลายแบบ เช่น infiltration anesthesia (การฉีดเฉพาะที่) nerve block anesthesia (การฉีดรอบเส้นประสาท) intravenous regional anesthesia หรือ Bier Block (การฉีดยาชาเข้าหลอดเลือดดำให้กระจายอยู่ในบริเวณแขนและขาเท่านั้น) เป็นต้น[1,2]
...
ในปัจจุบันได้มีการนำยาตีบหลอดเลือด (vasoconstrictor) ผสมในยาชาเฉพาะที่ lidocaine เพื่อลดอัตราการดูดซึมของยาชาทำให้ยาชาออกฤทธิ์เฉพาะที่ได้นานขึ้น เพิ่มความแรงของการออกฤทธิ์ รวมทั้งช่วยห้ามเลือดป้องกันภาวะตกเลือดหรือภาวะเลือดไหลไม่หยุดในระหว่างการผ่าตัด[1,3] นิยมใช้ในทางทันตกรรมในรูป 2% lidocaine ผสมยาตีบหลอดเลือด adrenaline (epinephrine) ในความเข้มข้น 1:200,000 1:100,000 1:80,000 และ 1:50,000[4,5] จากข้อมูลการศึกษาเปรียบเทียบประสิทธิภาพและผลข้างเคียงต่อระบบหัวใจและหลอดเลือด ระหว่างการใช้ยา 2% lidocaine ที่มีความเข้มข้นของ adrenaline ที่แตกต่างกัน 1:80,000 และ 1:200,000 ในทางทันตกรรมในผู้ป่วย 40 คน พบว่า ทั้งส่วนผสมทั้ง 2 ความเข้มข้นมีประสิทธิภาพในการออกฤทธิ์ชาเฉพาะที่ได้เท่าเทียมกัน แต่ในความเข้มข้นที่สูงกว่า (1:80,000) มีผลข้างเคียงเพิ่ม pulse rate และระดับความดัน systolic และ diastolic blood pressure ได้[6] โดยทั่วไปความเข้มข้นที่เหมาะสมของ adrenaline ที่ผสมในยาชาเฉพาะที่ lidocaine ในการใช้งานทางทันตกรรมคือ 1:100,000(5) ยาสูตรผสมที่มี adrenaline ในปริมาณสูง 1:50,000 และ 1: 80,000 มีข้อบ่งใช้สำหรับการช่วยห้ามเลือดในระหว่างการผ่าตัดช่องปาก[5,7] และยาสูตรผสมที่มี adrenaline ในปริมาณต่ำ 1:200,000 เหมาะสำหรับการใช้ในผู้ที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดความเป็นพิษจากยาชาต่อระบบไหลเวียนเลือดและเส้นประสาทโดยเฉพาะในผู้สูงอายุหรือในผู้ที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดพิษจากยาชา ได้แก่ ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง ผู้ป่วยโรคระบบหัวใจและหลอดเลือด และผู้ป่วยโรคไทรอยด์เป็นพิษ[1,3]
...
ในทางเภสัชกรรม ยาชาเฉพาะที่ lidocaine ผสม adrenaline มีข้อห้ามใช้คือ ห้ามใช้ในการทำ Intravenous regional anesthesia (Bier block) ห้ามใช้ฉีดในบริเวณอวัยวะส่วนปลาย เช่น ปลายนิ้วมือและปลายนิ้วเท้า (digital nerve block) ใบหูจมูก องคชาต เป็นต้น เพราะผลจากฤทธิ์ vasoconstriction ของยา adrenaline อาจทำให้เกิดการหดรัดตัวของหลอดเลือดแดงที่ปลายอวัยวะเหล่านี้และส่งผลทำให้เนื้อเยื่อบริเวณดังกล่าวขาดเลือดและเกิดเนื้อเยื่อตาย (gangrene)[1] ใน บางโรงพยาบาลได้จัดสูตรยาผสมระหว่างยา lidocaine และ adrenaline เป็น high alert drug หรือยาที่มีความเสี่ยงสูง
...
ดังนั้นจึงไม่มีการใช้ 2% lidocaine หรือ Xylocaine® ที่ผสม adrenaline ในปริมาณสูง เช่น 1:80000 ในงานศัลยกรรมทั่วไปโดยเฉพาะบริเวณอวัยวะส่วนปลายตามเหตุผลที่กล่าวไว้ข้างต้น ได้มีรายงานข้อมูลการศึกษาทางคลินิกถึงประโยชน์และความปลอดภัยในการใช้ยาชาเฉพาะที่ lidocaine ร่วมกับยาตีบหลอดเลือดในปริมาณต่ำ เช่น 1% lidocaine ผสม adrenaline ในความเข้มข้น 1:100,000 เป็นต้น ในการทำ digital nerve block การผ่าตัดบริเวณมือ (hand surgery) และการผ่าตัดบริเวณองคชาต[8,9] อย่างไรก็ตาม รายงานการศึกษาวิจัยที่มีอยู่ค่อนข้างเป็นหลักฐานที่มีคุณภาพต่ำและยังไม่เพียงพอที่จะแนะนำให้ใช้ยาชาเฉพาะที่ร่วมกับยาตีบหลอดเลือดในการทำศัลยกรรมบริเวณอวัยวะส่วนปลาย จำเป็นต้องมีการศึกษาวิจัยเพิ่มเติมเพื่อพิสูจน์ประโยชน์ของการใช้ยาชาเฉพาะที่ร่วมกับยาตีบหลอดเลือดในศัลยกรรมทั่วไป

เอกสารอ้างอิง
[1]. คณะอนุกรรมการพัฒนาบัญชียาหลักแห่งชาติ และ คณะทำงานผู้เชี่ยวชาญแห่งชาติด้านการคัดเลือกยาสาขาวิสัญญีวิทยา และการระงับการปวด. คู่มือการใช้ยาอย่างสมเหตุผลตามบัญชียาหลักแห่งชาติ ยาที่ใช้ทางวิสัญญีวิทยาและการระงับปวด. [ออนไลน์]. 2015. สืบค้นเมื่อ: 19 พฤศจิกายน 2565. สืบค้นจาก: http://202.28.95.4/pharmacy/myfile/1_anesthetics_and_pain_medication_0.pdf.
[2]. Catterall, et al. "Local Anesthetics." Goodman & Gilman's: The Pharmacological Basis of Therapeutics, 13e Eds. Laurence L. Brunton, et al. McGraw Hill, 2017, https://hemonc.mhmedical.com/content.aspx?bookid=2189§ionid=170106799.
[3]. Clinical key. Lidocaine; Epinephrine. 2022. Cited 22 December 2022. Available from:
https://www.clinicalkey.com/#!/content/drug_monograph/6-s2.0-2481?scrollTo=%23Indications.
[4]. MIMS. Lidocaine + Epinephrine. [online]. 2022. Cited 19 November 2022. Available from: https://www.mims.com/thailand/drug/info/lidocaine%20+%20epinephrine.
[5]. Lidocaine and Adrenaline [Epinephrine]. In: Specific Lexicomp Online Database [database on the internet]. Hudson (OH): Lexicomp lnc. [updated 17 November 2022; cited 19 November 2022]. Available from: https://online.lexi.com/lco/action/doc/retrieve/docid/multinat_f/4668491?cesid=4VDRxlFVBPl&searchUrl=%2Flco%2Faction%2Fsearch%3Fq%3DLidocaine%2Band%2BAdrenaline%2B%255BEpinephrine%255D%26t%3Dname%26acs%3Dfalse%26acq%3DLidocaine%2Band%2BAdrenaline%2B%255BEpinephrine%255D#.
[6]. Managutti A, et al. (2015). Comparative analysis of local anesthesia with 2 different concentrations of adrenaline: a randomized and single blind study. JIOH. 7(3), 24–27.
[7]. Dentsply Sirona (N.Z.) Limited. 2% Xylocaine Dental with Adrenaline (Epinephrine) 1:80,000 Injection data sheet. [online]. Cited 19 November 2022. Available from: https://www.medsafe.govt.nz/profs/datasheet/x/XylocaineDentalandAdrenaline.
[8]. Chowdhry S, et al. Do not use epinephrine in digital blocks: myth or truth? Part II. A retrospective review of 1111 cases. Plast Reconstr Surg. 2010 Dec.126(6):2031-2034. DOI: 10.1097/PRS.0b013e3181f44486.
[9]. Prabhakar H, et al. (2015). Adrenaline with lidocaine for digital nerve blocks. Cochrane Database of Syst Rev. Issue 3.Art.No.: CD010645. DOI: 10.1002/14651858.CD010645.pub2.
วันที่ตอบ : 26 ม.ค. 66 - 22:59:46




พัฒนาระบบโดย ภานุชญา มณีวรรณ ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา 90110