ให้บริการโดยคณาจารย์ เภสัชกรผู้เชี่ยวชาญด้านยาและสุขภาพ


คำชี้แจง "เว็บไซต์นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อการ ศึกษา การแลกเปลี่ยนความรู้ และให้ข้อมูลเรื่องยาในกรณีทั่วไป ไม่ใช่คำแนะนำทางการแพทย์หรือเพื่อการรักษาในกรณีที่จำเพาะเจาะจง และความเห็นสำหรับกรณีเฉพาะหนึ่ง จะไม่สามารถประยุกต์ใช้กับผู้อื่นได้โดยตรง หากมีปัญหาเรื่องโรคโปรดปรึกษาแพทย์ หากมีปัญหาเรื่องยา โปรดปรึกษาเภสัชกร หรือปรึกษาผู้เกี่ยวข้องโดยตรงกับกรณีนั้นด้วยตนเองเท่านั้น"

Search :
bioflor

bioflor สามารถใช้รักษาอาการท้องผูกได้หรือไม่

[รหัสคำถาม : 419] วันที่รับคำถาม : 24 ต.ค. 65 - 00:04:30 ถามโดย : บุคลากร วิทยาศาสตร์สุขภาพ

เข้าระบบเพื่อตอบคำถาม

No : 1

การจัดการของอาการท้องผูก ทางเลือกในปัจจุบัน ได้แก่ การเลือกรับประทานอาหาร โดยเพิ่มการรับประทานอาหารที่มีกากใยสูง เช่น ผัก ผลไม้ และปรับเปลี่ยนวิถีชีวิต เช่น การดื่มน้ำ ออกกำลังกาย ให้เพิ่มขึ้น รวมทั้งการใช้ bulking agents, ยาที่ทำให้อุจจาระนิ่ม ยาระบาย ระยะหลังนี้มีการใช้ยาโปรไบโอติกเป็นยาเสริม เพื่อให้การขับถ่ายเป็นปกติและบรรเทาอาการท้องผูก[1] โปรไบโอติกสามารถพบได้ในอาหารเช่น นมเปรี้ยว โยเกิร์ต กิมจิ เป็นต้น มีการศึกษาวิจัยและหลักฐานมากขึ้นที่สนับสนุนประโยชน์ของโปรไบโอติกในการรักษาภาวะท้องผูกเรื้อรัง การปรับสมดุลของลำไส้ด้วยจุลินทรีย์บางชนิดพบว่าสามารถเพิ่มการบีบตัวและการเคลื่อนไหวของลำไส้ได้ สายพันธ์ที่เฉพาะเจาะจง มีการศึกษาโปรไบโอติก 4 สายพันธุ์ คือ L. Acidophilus,B. animalis subsp. lactis UABla-12, B. Iongum UABI-14 และ B. bifidumUABb-10 รับการรับรองว่าเป็นประโยชน์หากใช้ในการบรรเทาอาการท้องผูก[2]
.
ผลของโปรไบโอติกต่อการเคลื่อนไหวของทางเดินอาหาร และการลดอาการท้องผูก มีการศึกษาแสดงให้เห็นถึงการปรับความถี่ในการถ่ายอุจจาระให้เพิ่มขึ้นในผู้ที่มีอาการท้องผูกด้วยโปรไบโอติกบางตัว ด้วยคาดว่ากลไกสามารถเปลี่ยนแปลงจุลชีพในทางเดินอาหาร ได้แก่ โปรไบโอติก B. lactis และ L. casei Shirota การทำงานเชิงกลของโปรไบโอติกในอาการท้องผูกคือ เพิ่มความเข้มข้นของ SCFA (short chain fatty acid) ทำให้ลำไส้เป็นปกติ มีการเปลี่ยนแปลงของ acetate, propionate และ butyrate งานศึกษาเหล่านี้ได้วัดความเข้มข้นของ SCFA ในตัวอย่างอุจจาระ จุลินทรีย์ทางเดินอาหารและ SCFAs มีอิทธิพลต่อการเคลื่อนไหวของลำไส้ สัมพันธ์กับ ENS (enteric nervous system) ได้แสดงให้เห็นว่ามีความไม่สมดุลในผู้ป่วยที่มีอาการท้องผูก ผลเบื้องต้นแสดงให้เห็นว่าการให้ยาโปรไบโอติกบางอย่างมีผลต่อ microbiota และ SCFA แต่กลไกที่มีผลต่อความเคลื่อนไหวและท้องผูกยังไม่เป็นที่เข้าใจอย่างเต็มที่[3]
.
Bioflor® มีชื่อว่า Saccharomyces boulardii เป็น Probiotic ที่ส่งเสริมการมีแบคทีเรียประจำถิ่นในลำไส้ กลไกการทำงานของ S. boulardii ซึ่งเป็นยีสต์ที่ไม่ก่อให้เกิดโรค จะช่วยฟื้นฟูจุลินทรีย์ในระบบทางเดินอาหารให้เป็นปกติ มีข้อบ่งใช้คือ รักษาโรคท้องร่วง[4] ข้อบ่งใช้ของ Bioflor® ที่รับรองในประเทศไทยคือ ช่วยปรับสมดุลเชื้อในทางเดินอาหารทำให้การขับถ่ายเป็นไปอย่างปกติ ถูกนำมาใช้ในการรักษาโรคท้องเสีย[2] ซึ่งไม่มีข้อบ่งใช้เพื่อรักษาอาการท้องผูก จึงแนะนำให้ผู้ที่มีอาการท้องผูกรับโปรไบโอติกกลุ่ม Lactobacillus sp เป็นต้น ซึ่งปัจจุบันมีผลิตภัณฑ์โปรไบโอติกจากเชื้อนี้หลากหลายเช่น นมเปรี้ยว โยเกิร์ต เพื่อรักษาอาการท้องผูกควบคู่กับการใช้ยาประเภทอื่น การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการขับถ่าย ปรับเปลี่ยนประเภทของอาหารที่รับประทาน หากมีท้องผูกเรื้อรังจนกระทบการใช้ชีวิตประจำวันแนะนำให้ไปพบแพทย์

เอกสารอ้างอิง
[1]. Christopher J. Martoni. Malkanthi Evan. Cheryl-Emiliane T. Chow. Luisa S. Chan. Gregory Leyer: Impact of a probiotic product on bowel habits and microbial profile in participants with functional constipation: A randomized controlled trial. Journal of Digestive Disease. 1 Jul. 2019.
[2]. สมาคมทางประสาททางเดินอาหารและการเคลื่อนไหว(ไทย). Thailand chronic constipation guideline 2021 แนวทางเวชปฏิบัติการดูแลรักษาผู้ป่วยท้องผูกเรื้อรังในประเทศไทย 2564. Available at: https://w1.med.cmu.ac.th/family/knowledge/for-doctor/guideline/4983. [Accessed 22 Nov. 2022].
[3]. Eirini Dimidi, Stephanos Christodoulides, S. Mark Scott," and Kevin Whelan'*.Mechanisms of Action of Probiotics and the Gastrointestinal Microbiota on Gut Motility and Constipation. 2017.
[4]. Saccharomyces bouradii. In: lexi-Drugs online[database on the internet]. lexicomp [update11/22/22 ; cited 22 Nov. 2022]. Available from https://online.lexi.com/lco/action/doc/retrieve/docid/multinat_f/4668043?highlight=Probiotic&searchUrl=%2Flco%2Faction%2Fsearch%3Ft%3Dpharmacatm%26q%3DProbiotic%26db%3Dmultinat_f.

วันที่ตอบ : 06 ก.พ. 66 - 22:01:22


No : 2

การจัดการของอาการท้องผูก ทางเลือกในปัจจุบัน ได้แก่ การเลือกรับประทานอาหาร โดยเพิ่มการรับประทานอาหารที่มีกากใยสูง เช่น ผัก ผลไม้ และปรับเปลี่ยนวิถีชีวิต เช่น การดื่มน้ำ ออกกำลังกาย ให้เพิ่มขึ้น รวมทั้งการใช้ bulking agents, ยาที่ทำให้อุจจาระนิ่ม ยาระบาย ระยะหลังนี้มีการใช้ยาโปรไบโอติกเป็นยาเสริม เพื่อให้การขับถ่ายเป็นปกติและบรรเทาอาการท้องผูก[1] โปรไบโอติกสามารถพบได้ในอาหารเช่น นมเปรี้ยว โยเกิร์ต กิมจิ เป็นต้น มีการศึกษาวิจัยและหลักฐานมากขึ้นที่สนับสนุนประโยชน์ของโปรไบโอติกในการรักษาภาวะท้องผูกเรื้อรัง การปรับสมดุลของลำไส้ด้วยจุลินทรีย์บางชนิดพบว่าสามารถเพิ่มการบีบตัวและการเคลื่อนไหวของลำไส้ได้ สายพันธ์ที่เฉพาะเจาะจง มีการศึกษาโปรไบโอติก 4 สายพันธุ์ คือ L. Acidophilus,B. animalis subsp. lactis UABla-12, B. Iongum UABI-14 และ B. bifidumUABb-10 รับการรับรองว่าเป็นประโยชน์หากใช้ในการบรรเทาอาการท้องผูก[2]
.
ผลของโปรไบโอติกต่อการเคลื่อนไหวของทางเดินอาหาร และการลดอาการท้องผูก มีการศึกษาแสดงให้เห็นถึงการปรับความถี่ในการถ่ายอุจจาระให้เพิ่มขึ้นในผู้ที่มีอาการท้องผูกด้วยโปรไบโอติกบางตัว ด้วยคาดว่ากลไกสามารถเปลี่ยนแปลงจุลชีพในทางเดินอาหาร ได้แก่ โปรไบโอติก B. lactis และ L. casei Shirota การทำงานเชิงกลของโปรไบโอติกในอาการท้องผูกคือ เพิ่มความเข้มข้นของ SCFA (short chain fatty acid) ทำให้ลำไส้เป็นปกติ มีการเปลี่ยนแปลงของ acetate, propionate และ butyrate งานศึกษาเหล่านี้ได้วัดความเข้มข้นของ SCFA ในตัวอย่างอุจจาระ จุลินทรีย์ทางเดินอาหารและ SCFAs มีอิทธิพลต่อการเคลื่อนไหวของลำไส้ สัมพันธ์กับ ENS (enteric nervous system) ได้แสดงให้เห็นว่ามีความไม่สมดุลในผู้ป่วยที่มีอาการท้องผูก ผลเบื้องต้นแสดงให้เห็นว่าการให้ยาโปรไบโอติกบางอย่างมีผลต่อ microbiota และ SCFA แต่กลไกที่มีผลต่อความเคลื่อนไหวและท้องผูกยังไม่เป็นที่เข้าใจอย่างเต็มที่[3]
.
Bioflor® มีชื่อว่า Saccharomyces boulardii เป็น Probiotic ที่ส่งเสริมการมีแบคทีเรียประจำถิ่นในลำไส้ กลไกการทำงานของ S. boulardii ซึ่งเป็นยีสต์ที่ไม่ก่อให้เกิดโรค จะช่วยฟื้นฟูจุลินทรีย์ในระบบทางเดินอาหารให้เป็นปกติ มีข้อบ่งใช้คือ รักษาโรคท้องร่วง[4] ข้อบ่งใช้ของ Bioflor® ที่รับรองในประเทศไทยคือ ช่วยปรับสมดุลเชื้อในทางเดินอาหารทำให้การขับถ่ายเป็นไปอย่างปกติ ถูกนำมาใช้ในการรักษาโรคท้องเสีย[2] ซึ่งไม่มีข้อบ่งใช้เพื่อรักษาอาการท้องผูก จึงแนะนำให้ผู้ที่มีอาการท้องผูกรับโปรไบโอติกกลุ่ม Lactobacillus sp เป็นต้น ซึ่งปัจจุบันมีผลิตภัณฑ์โปรไบโอติกจากเชื้อนี้หลากหลายเช่น นมเปรี้ยว โยเกิร์ต เพื่อรักษาอาการท้องผูกควบคู่กับการใช้ยาประเภทอื่น การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการขับถ่าย ปรับเปลี่ยนประเภทของอาหารที่รับประทาน หากมีท้องผูกเรื้อรังจนกระทบการใช้ชีวิตประจำวันแนะนำให้ไปพบแพทย์

เอกสารอ้างอิง
[1]. Christopher J. Martoni. Malkanthi Evan. Cheryl-Emiliane T. Chow. Luisa S. Chan. Gregory Leyer: Impact of a probiotic product on bowel habits and microbial profile in participants with functional constipation: A randomized controlled trial. Journal of Digestive Disease. 1 Jul. 2019.
[2]. สมาคมทางประสาททางเดินอาหารและการเคลื่อนไหว(ไทย). Thailand chronic constipation guideline 2021 แนวทางเวชปฏิบัติการดูแลรักษาผู้ป่วยท้องผูกเรื้อรังในประเทศไทย 2564. Available at: https://w1.med.cmu.ac.th/family/knowledge/for-doctor/guideline/4983. [Accessed 22 Nov. 2022].
[3]. Eirini Dimidi, Stephanos Christodoulides, S. Mark Scott," and Kevin Whelan'*.Mechanisms of Action of Probiotics and the Gastrointestinal Microbiota on Gut Motility and Constipation. 2017.
[4]. Saccharomyces bouradii. In: lexi-Drugs online[database on the internet]. lexicomp [update11/22/22 ; cited 22 Nov. 2022]. Available from https://online.lexi.com/lco/action/doc/retrieve/docid/multinat_f/4668043?highlight=Probiotic&searchUrl=%2Flco%2Faction%2Fsearch%3Ft%3Dpharmacatm%26q%3DProbiotic%26db%3Dmultinat_f.

วันที่ตอบ : 06 ก.พ. 66 - 22:04:47




พัฒนาระบบโดย ภานุชญา มณีวรรณ ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา 90110