ให้บริการโดยคณาจารย์ เภสัชกรผู้เชี่ยวชาญด้านยาและสุขภาพ


คำชี้แจง "เว็บไซต์นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อการ ศึกษา การแลกเปลี่ยนความรู้ และให้ข้อมูลเรื่องยาในกรณีทั่วไป ไม่ใช่คำแนะนำทางการแพทย์หรือเพื่อการรักษาในกรณีที่จำเพาะเจาะจง และความเห็นสำหรับกรณีเฉพาะหนึ่ง จะไม่สามารถประยุกต์ใช้กับผู้อื่นได้โดยตรง หากมีปัญหาเรื่องโรคโปรดปรึกษาแพทย์ หากมีปัญหาเรื่องยา โปรดปรึกษาเภสัชกร หรือปรึกษาผู้เกี่ยวข้องโดยตรงกับกรณีนั้นด้วยตนเองเท่านั้น"

Search :
แพ้ยา chlorpheniramine จะมีโอกาสแพ้ยาbetahistineไหมคะ

แพ้ยา chlorpheniramine จะมีโอกาสแพ้ยาbetahistineไหมคะ

[รหัสคำถาม : 421] วันที่รับคำถาม : 04 พ.ย. 65 - 10:26:44 ถามโดย : บุคลากร วิทยาศาสตร์สุขภาพ

เข้าระบบเพื่อตอบคำถาม

No : 1

ข้อมูลการแพ้ยากลุ่ม Antihistamines หรือการแพ้ยาข้ามกลุ่ม antihistamines เป็นข้อมูลจากรายงานกรณีศึกษา การศึกษาที่รายงานส่วนใหญ่เป็นการแพ้ยาในกลุ่ม piperazine derivative ได้แก่ cetirizine, levocetirizine, hydroxyzine และ mizolastine โดยมีผล skin test[1,2,3] และ provocation test เป็นบวก[2,3,4] นอกจากนี้เป็นการแพ้ยาในกลุ่ม piperidine derivatives ได้แก่ bepotastine ,fexofenadine และ loratadine จากการทำ provocation test ผลเป็นบวก[4,5] และมีรายงานการแพ้ยาข้ามกลุ่มระหว่างกลุ่ม piperazine derivatives กับกลุ่ม piperidine derivatives เช่น (bepotastine กับ levocetirizine[5] ,fexofenadine ,loratadine กับ cetirizine, hydroxyzine[4] ) แต่อย่างไรก็ตามมีการทดสอบการแพ้โครงสร้าง piperazine ด้วยยา prochlorperazine ที่เป็นยาต้านอาเจียนที่โครงสร้างมีวง piperazine แต่ผลทั้ง Skin prick test และ provocation test เป็นลบ[3] และมีการใช้ยา bilastine ซึ่งเป็น second generation antihistamine ในผู้ป่วยที่ไม่ทนต่อยา antihistamines ตัวอื่น พบว่า ไม่มีการแพ้เกิดขึ้น ทำให้คาดว่ากลไกการแพ้ที่กล่าวมาเกิดจาก side chain ที่เป็น allergenic epitope มากกว่าเกิดจาก piperazines และ piperidine moiety และอีกหนึ่งกลไกการแพ้ที่อาจจะเป็นไปได้ คือ antihistamines มีการเปลี่ยนสมดุลจาก inactive form เป็น active form ทำให้ผู้ป่วยบางรายอาจเกิด chronic spontaneous urticaria ในผู้ที่รักษาด้วยยากลุ่ม antihistamines[6,7] สำหรับการแพ้ยา chlorpheniramine มีรายงานว่ามีกลไกการแพ้แบบ IgE-mediated type I hypersensitivity จึงแนะนำให้หลีกเลี่ยงการใช้ยาในกลุ่ม alkylamine derivatives ที่มีโครงสร้างคล้ายกัน เช่น brompheniramine, triprolidine เป็นต้น ให้ใช้ยากลุ่ม piperazine, piperidine หรือ ethanolamine derivatives แทน[8]
...
สำหรับยา betahistine มีข้อบ่งใช้ในการรักษา Meniere disease โดยตัวยามีโครงสร้างคล้ายกับ Histamine ในร่างกาย กลไกในการออกฤทธิ์ คือ เป็น partial histamine H1-receptor agonist และ histamine H3-receptor antagonist และมี negligible H2-receptor activity ตัวยาสามารถขยายหลอดเลือดภายในหูชั้นใน ลดอาการเวียนศีรษะ/บ้านหมุน[9]
...
ในส่วนของการศึกษาการแพ้ยา betahistine มีความหลากหลายของการแพ้ยา betahistine แต่ไม่ระบุถึงสาเหตุไว้อย่างชัดเจน ยา betahistine มีข้อมูลความปลอดภัยที่ดี Cutaneous hypersensitivity reactions ที่เกิดขึ้นสามารถหายไปได้หลังจากการหยุดยา[10] ข้อมูลการแพ้ยาข้ามกลุ่มของยา betahistine และส่วนประกอบอื่นๆมีอยู่อย่างจำกัด และไม่พบการศึกษาที่เกี่ยวข้อง แต่หากมีสารที่มีโครงสร้างคล้ายคลึงกันในผู้ป่วยที่มีรายงานแพ้ยาตัวนี้ ควรพิจารณาถึงความเป็นไปได้ของการเกิดการแพ้ยาข้ามกลุ่มด้วย[9]
...
ดังนั้นในกรณีของผู้ป่วยรายนี้ที่มี้ข้อมูลแพ้ยา chlorpheniramine ซึ่งเป็นยาในกลุ่ม alkylamine derivatives ที่มีโครงสร้างไม่เหมือนกับ Betahistine ที่มีโครงสร้างคล้าย histamine ในร่างกาย น่าจะมีโอกาสแพ้ยาได้น้อย จึงสามารถใช้ยา betahistine ได้

เอกสารอ้างอิง
[1]. Tella R, et al. Urticaria to cetirizine. J. Investig Allergol Clin Immunol. 2002;12(2):136-137.
[2]. Vythoulka, Antonia et al. “Allergic reactions due to mizolastine.” Annals of allergy, asthma & immunology : official publication of the American College of Allergy, Asthma, & Immunology. vol. 97,2 (2006): 262-3. doi:10.1016/S1081-1206(10)60024-5.
[3]. Rutkowski, et al. “Cetirizine anaphylaxis.” Annals of allergy, asthma & immunology : ficial publication of the American College of Allergy, Asthma, & Immunology. 113 3 (2014): 247-9.
[4]. Inomata, Naoko et al. “Multiple H1-antihistamine-induced urticaria.” The Journal of dermatology. vol. 36,4 (2009): 224-7. doi:10.1111/j.1346-8138.2009.00627.x.
[5]. Kang, Ju Wan, and Jaechun Lee. “Bepotastine-induced urticaria, cross-reactive with other antihistamines.” Asia Pacific allergy. vol. 6,4 (2016): 253-256. doi:10.5415/apallergy.2016.6.4.253.
[6]. Rutkowski, Krzysztof et al. “The Paradox of Antihistamine Hypersensitivity.” The journal of allergy and clinical immunology. In practice vol. 6,1 (2018): 258-259. doi:10.1016/j.jaip.2017.10.035.
[7]. Coattrenec, Yann et al. “Anaphylactic shock to H1 antihistamine drug bilastine: A case report.” The journal of allergy and clinical immunology. In practice. vol. 6,1 (2018): 256-257.
[8]. Kim, Min-Hye et al. “A case of chlorpheniramine maleate-induced hypersensitivity with aspirin intolerance.” Allergy, asthma & immunology research. vol. 3,1 (2011): 62-4. doi:10.4168/aair.2011.3.1.62.
[9]. Betahistine. In: Lexi-Drugs online [database on the internet]. Hudson (OH): Lexicomp, Inc; [update 13 September 2022; cite 18 November 2022]. Available from: https://online.lexi.com/lco/action/doc/retrieve/docid/multinat_f/4668026?cesid=16p12oXOAbl&searchUrl=%2Flco%2Faction%2Fsearch%3Fq%3Dbetahistine%26t%3Dname%26acs%3Dtrue%26acq%3Dbetahisti#doa.
[10]. Jeck-Thole, et al. “Betahistine: a retrospective synopsis of safety data.” Drug safety vol. 29,11 (2006): 1049-59. doi:10.2165/00002018-200629110-00004.

วันที่ตอบ : 16 ม.ค. 66 - 23:22:56




พัฒนาระบบโดย ภานุชญา มณีวรรณ ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา 90110