ให้บริการโดยคณาจารย์ เภสัชกรผู้เชี่ยวชาญด้านยาและสุขภาพ


คำชี้แจง "เว็บไซต์นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อการ ศึกษา การแลกเปลี่ยนความรู้ และให้ข้อมูลเรื่องยาในกรณีทั่วไป ไม่ใช่คำแนะนำทางการแพทย์หรือเพื่อการรักษาในกรณีที่จำเพาะเจาะจง และความเห็นสำหรับกรณีเฉพาะหนึ่ง จะไม่สามารถประยุกต์ใช้กับผู้อื่นได้โดยตรง หากมีปัญหาเรื่องโรคโปรดปรึกษาแพทย์ หากมีปัญหาเรื่องยา โปรดปรึกษาเภสัชกร หรือปรึกษาผู้เกี่ยวข้องโดยตรงกับกรณีนั้นด้วยตนเองเท่านั้น"

Search :
ยาฝังคุมกำเนิด

กรณีฝังยาคุมกำเนิด แล้วผู้รับบริการมีความประสงค์จะเลื่อนประจำเดือน สามารถทำได้หรือไม่ ถ้าสามารถเลื่อนได้manageอย่สงไรคะ

[รหัสคำถาม : 424] วันที่รับคำถาม : 28 พ.ย. 65 - 12:59:21 ถามโดย : บุคลากร วิทยาศาสตร์สุขภาพ

เข้าระบบเพื่อตอบคำถาม

No : 1

เนื่องจากการใช้ยาคุมแบบฝังโดยทั่วไปผู้ใช้ยาจะไม่มีประจำเดือนเกิดขึ้น แต่หากมีอาการเลือดออกผิดปกติ หรือเลือดออกกะปริดกะปรอย นั่นคืออาการข้างเคียงที่พบได้ โดยไม่ส่งผลอันตรายร้ายแรงใดๆแก่ผู้ใช้ยา ซึ่งสิ่งเหล่านี้คือสิ่งที่ต้องทำความเข้าใจกับผู้ใช้ยาตั้งแต่ก่อนเริ่มใช้[1],[2] แต่หากผู้ใช้ยาไม่สามารถยอมรับอาการข้างเคียงดังกล่าวได้ สามารถแนะนำการใช้ยาทางเลือกในการรักษาอาการเหล่านี้ได้ตามแนวทางการรักษาจาก WHO เช่น การรับประทานยาเม็ดคุมกำเนิดชนิดฮอร์โมนรวมขนาดต่ำ ระยะประมาณ 10-20 วัน[1] หรือ การใช้ยาในกลุ่มยาบรรเทาอาการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ (NSAIDs) สำหรับผู้ที่ไม่สามารถใช้ฮอร์โมนเอสโตรเจนได้ เช่น Mefenamic acid ขนาด 500 mg วันละ 3 ครั้ง นาน 5 วัน โดยเมื่ออ้างอิงจากการศึกษาพบว่าการใช้ Mefenamic acid สามารถลดระยะการเกิดเลือดออกผิดปกติขณะใช้ยาฝัง Norplant ภายใน 7 วัน หลังใช้ยาเท่ากับ 76% เมื่อเทียบกับผู้ที่ได้ยาหลอกเป็น 27%[3] และอีกการศึกษาที่ทำการเปรียบเทียบความสามารถที่ทำให้หยุดการเกิดเลือดออกกะปริดกะปรอยในผู้ที่ใช้ Implanon ภายใน 7 วันหลังได้รับยาระหว่าง ยาเม็ดคุมกำเนิดชนิดฮอร์โมนรวมขนาดต่ำ (20 mcg ethinyl estradiol/150 mg desogestrel) ได้ 76.2 % เทียบกับ ยา Mefenamic acid ได้ 35.7% ซึ่งเห็นผลต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ[4]
.
หากรับประทานยาดังกล่าวที่แนะนำแล้ว ยังคงมีอาการเลือดออกผิดปกติเช่นเดิมนานกว่า 3-6 เดือน แนะนำให้เปลี่ยนวิธีการคุมกำเนิดเป็นรูปแบบอื่นหรือทำการปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเพื่อหาสาเหตุอื่นร่วมและดำเนินการรักษาต่อไป[1] และอาจพิจารณาป้องกันการเกิดโลหิตจางจากอาการเลือดออกกะปริดกะปรอย โดยการให้ธาตุเหล็กเสริม หรือให้รับประทานอาหารที่มีธาตุเหล็ก เช่น เนื้อแดง ตับ ถั่วแดง เป็นต้น[2],[4],[5]

เอกสารอ้างอิง :
[1]. urtis KM. U.S. Selected Practice Recommendations for Contraceptive Use, 2016. MMWR Recomm Rep [Internet]. 2016 [cited 2023 Nov 17];65. Available from: https://www.cdc.gov/mmwr/volumes/65/rr/rr6504a1.htm
[2]. Selected practice recommendations for contraceptive use. World Health Organization Department of Reproductive Health and Research. 2016 [cited 2023 Nov 17];65. Available from: https://iris.who.int/bitstream/handle/10665/252267/9789241565400-eng.pdf?sequence=1
[3]. Kaewrudee S, Taneepanichskul S, Jaisamraun U, Reinprayoon D. The effect of mefenamic acid on controlling irregular uterine bleeding secondary to Norplant® use11Norplant® is a registered trademark of the Population Council, New York, NY. Contraception. 1999 Jul 1;60(1):25–30.
[4]. Upawi SN, Ahmad MF, Abu MA, Ahmad S. Management of bleeding irregularities among etonogestrel implant users: Is combined oral contraceptives pills or nonsteroidal anti-inflammatory drugs the better option? J Obstet Gynaecol Res. 2020;46(3):479–84.
[5]. nhs.uk [Internet]. 2017 [cited 2023 Nov 28]. Vitamins and minerals - Iron. Available from: https://www.nhs.uk/conditions/vitamins-and-minerals/iron/

วันที่ตอบ : 12 ม.ค. 67 - 14:57:47




พัฒนาระบบโดย ภานุชญา มณีวรรณ ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา 90110